วันอังคาร, ตุลาคม 04, 2565

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า สนามหลวงนี้เป็นของราษฎร ในที่สุด วันวานในอดีตกับกิจกรรมบนท้องสนามหลวง จะกลับมาหวนอดีตอีกครั้ง


Sa-nguan Khumrungroj
1d

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
#สนามหลวงนี้เป็นของราษฎร
ในที่สุด
วันวานในอดีตกับกิจกรรมบนท้องสนามหลวง จะกลับมาหวนอดีตอีกครั้ง
โดยวันที่ 8--9 ตุลาคมนี้ ระหว่างเวลา 16:30 ถึง 22:00
"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์"ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเปิดท้องสนามหลวงสำหรับประชาชน(อีกครั้ง)
ภายในงาน จะมีกิจกรรมเล่นว่าวไทย ประกวดว่าวสวย 50 เขต อีกทั้งแข่งขันชักกะเย่อ การแสดงดนตรี ฉายหนังกลางแปลง ณ ท้องสนามหลวง
สนามหลวงถูกล้อมรั้วรอบขอบชิด และถูกประกาศห้ามจัดกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ ตั้งแต่ปี 2010 หลังพฤษภาอำมหิตเป็นต้นมา
ทว่า ช่วงเดือนกันยายน 2020 หรือสองปีที่แล้ว มีการชุมนุมใหญ่ต่อต้านเผด็จการทหาร"ประยุทธ์ จันทร์โอชา" และแนวร่วมชุมนุมได้"ปักหมุดคณะราษฎรหมุดที่สอง"บนท้องสนามหลวง ประกาศก้อง ‘นี่คือการปักหมุดหมายทางประชาธิปไตยของประชาชน’
ในอดีต สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมมากมายหลายสิ่ง โดยที่ทุกสิ่งนั้นล้วนเป็นกิจกรรมของประชาชนทั้งสิ้น อีกทั้งเป็น"ตลาดนัดขวัญใจคนยาก" แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวนานาชาติ กระทั่งเป็น"ศูนย์คนไร้บ้าน"...
เดิมที ท้องสนามหลวง เป็นที่รู้จักกันในฐานะ 'ทุ่งพระเมรุ' เพราะถูกใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1855 รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” เพื่อไม่ให้เป็น ‘อวมงคล’ และได้เริ่มมีการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์นั่นเอง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 สนามหลวงก็เคยกลายเป็นสนามแข่งม้าและสนามกอล์ฟอีกด้วย
ในปี 1948
จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น มีนโยบายให้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่จัดตลาดนัดของกรุงเทพฯ (ซึ่งถูกย้ายไปเป็นตลาดนัดจตุจักรในภายหลัง) เป็นแหล่งขายหนังสือเก่าที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ รวมทั้งยังเป็นตลาดต้นไม้ ตลอดงานศิลปะหัตถรรม เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง เรียกได้ว่าเป็นตลาดศูนย์รวมใจกลางกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง
นักเขียนอาวุโสชื่อดังอย่าง"สุชาติ สวัสดิ์ศรี"
เจ้าของนามปากกา"#สิงห์สนามหลวง" มีที่มาเพราะเป็นหนอนหนังสือตัวยง มักแวะเวียนสนามหลวงมาหาหนังสือเก่า อันเป็นมรดกวรรณกรรมหาค่ามิได้
ส่วนในฤดูว่าวระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ก็มีประเพณีแข่งว่าวที่จะได้เห็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันมาเล่นว่าวอย่างสนุกสนาน กลายเป็นภาพจำของความสุข ณ สนามหลวงไปโดยปริยาย
นอกจากนี้ ท้องสนามหลวงยังเป็นพื้นที่พบปะและชุมนุมของประชาชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสมัยจอมพล ป.
สนามหลวงก็คือไฮด์ปาร์คแห่งแรกของเมืองไทย ตามแบบสวนสาธารณะ Hyde Park ในกรุงลอนดอนที่ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นจุดพูดคุยปราศรัยทางการเมืองของประชาชน
สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกชนชั้นใช้ประโยชน์ร่วมกัน ยังเป็น"เวทีทิ้งทวน"ก่อนคืนหมาหอนสำหรับศึกเลือกตั้งครั้งใหญ่ของพรรคการเมืองต่างต่าง
และนักการเมืองหน้าใหม่หลายคน ได้แจ้งเกิดบนเวทีปราศรัยใหญ่ที่นั่น
สมัยที่สนามหลวงยังเป็น"ตลาดนัดคนจน"
ชาวบ้านล้อมวง นั่งกินเมี่ยงคำใต้ต้นมะขาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติในยุคนั้น
LIFE Magazine โดยช่างภาพที่ชื่อLarry Burrows
ได้แพร่ภาพเมื่อปี 1963 หรือ 59 ปีที่แล้ว
มาร์ลอน แบรนโด(Marlon Brando Jr.)ดาราอเมริกันสังกัดพรรคเดโมแครต เมื่อครั้งมาถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลีวูดThe Ugly American(ชื่อไทย"อเมริกันอันตราย")โดยมีซือแป๋คึกฤทธิ์รับบทเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศสารขัณฑ์
แกใช้เวลาว่าง ใส่สูท ผูกไท
มายืน"ชักว่าว" ที่สนามหลวง ร่วมกับชาวบ้านด้วย...
(บันทึกโดยสงวน คุ้มรุ่งโรจน์)