Mark Nongsaeng
3d
คำแนะนำหรับนักเขียนรุ่นเยาว์จากนักเขียนรางวัลโนเบลคนล่าสุด แปลมาฝากครับ เขาสัมภาษณ์เป็นภาษาฝรั่งเศส แล้วแปลเป็นอังกฤษ ผมแปลเป็นไทยอีกที
Annie Ernaux บอกว่า
"ฉันคิดว่าเวลาเราจะเขียนอะไร สิ่งสำคัญจริงๆ คือเราต้องอ่านมากๆก่อน เด็กรุ่นใหม่บางคนก็อาจจะแย้งว่า "ไม่ล่ะ ผมไม่ต้องอ่าน ผมจะเขียน" ผิดแล้ว เป็นไปไม่ได้ เราต้องอ่านเยอะๆ แล้วอีกเรื่องก็คือ ไม่ต้องพยายามเขียนให้ดี แต่เขียนให้ซื่อตรง ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกันนะ"
"I think that when we write, what is really important is that we need to read a lot. Sometimes young people say, 'Oh no, I don't read... I write!' Well, no. That's not possible. You need to read a lot. And the second message I would give them is not to strive to write well, but rather to write honestly. It's not the same thing."
Annie Ernaux: “I think that when we write, what is really important is that we need to read a lot.”
Oct 6, 2022
Noble Prize
Literature laureate Annie Ernaux gives her advice to young people and speaks about the importance of honesty in writing in this conversation with Nobel Prize Outreach’s Claire Paetkau. Recorded on the day the Nobel Prize was announced, Ernaux describes how she found out she was the 2022 literature laureate while listening to the radio alone in her kitchen – and how to her it felt like being “in the desert and there is a call that is coming from the sky, that was sort of the feeling I had.”
This interview was recorded in French and is subtitled in English.
.....สำนักพิมพ์สมมติ
1d
****เตรียมไว้ตอบคนที่บ้าน****
การอ่านส่งผลอะไรต่อสมอง...ถึงทำให้คนที่อ่านหนังสือมีความคิดเฉียบคมขึ้น
เหตุผลที่เรื่องราวของตัวละครทำให้เกิด 'ความอ่อนโยนและความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์'
ทำไมการอ่านถึงเป็นกระบวนการเหนือพันธุกรรมของมนุษย์
อะไรทำให้วรรณกรรมคือ 'เครื่องจำลองทางความคิด' หรือ 'ขอบฟ้าเหตุการณ์สมมติทางความคิด'
เราอ่านหนังสือไปเพื่ออะไร? เราได้อะไรจากการอ่าน?
หลายคนอาจตอบว่า อ่านเพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือแล้วสนุก อ่านเพราะจำเป็น (เช่น หนังสือเรียนที่อ่านเพราะต้องสอบ) แต่นอกเหนือเหตุผลข้างต้น การอ่านยังมอบคุณค่าบางอย่างให้แก่เรา การเข้าสู่โลกแห่งตัวหนังสือได้มอบสิ่งล้ำค่าและลึกซึ้งกว่านั้น!
“Reading make a full man"
--- Francis Bacon
ประโยคอมตะของ เซอร์ฟรานซิส เบคอน ที่สะท้อนถึงความสำคัญและพลังของการอ่าน การอ่านเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเรารับรู้และเข้าใจในความหมายของสิ่งต่างๆ บนโลก นำพาเราท่องไปในดินแดนที่ไม่เคยไป ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ หนังสือก็เป็นเหมือนกับอาณาจักรแห่งความรู้และความคิดซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
การอ่านเปรียบเสมือนกระจกส่องตัวเรา และยังฉายภาพเสมือนของเพื่อนมนุษย์ เราจีงมีโอกาสครุ่นคิดและทำเข้าใจตัวเอง มากไปกว่านั้นยังเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เองที่เติมเต็มความสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างที่ ฟรานซิส เบคอน ว่าไว้
Maryanne Wolf ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือการอ่าน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและพัฒนาการของมนุษย์ในผลงาน Reader, Come Home ไว้ว่า 'การเรียนรู้จากการอ่าน' ช่วยเพิ่มวงจรประสาท (Neuron Circuit) ในสมองของมนุษย์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือแต่ละเล่มจะค่อยๆ ถูกเก็บสะสมและเชื่อมต่อกันเป็นวงจรในระบบประสาทของเรา
กระบวนการข้างต้นทำให้เราจัดระบบความคิดของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งสิ่งที่อ่านมีเนื้อหาลึกซึ้งหรือซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ คลังข้อมูลและทักษะการเชื่อมโยงความคิดก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น อย่างที่เขาว่ากันว่า การอ่านช่วยลับคมความคิดให้แหลมคมมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เราอ่านจึงสัมพันธ์กับวิธีคิดของเราจนแทบจะแยกกันไม่ออก
"...มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่ออ่าน แต่ความสามารถในการอ่านคือหนึ่งในความสำเร็จของกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่พบในสายพันธุ์ Homo Sapiens เท่านั้น..."
ประโยคกล่าวนำในบทแรกของหนังสือ Proust and the Squid: The Story and Science of the Reading Brain เขียนโดย Maryanne Wolf ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ผู้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนของเด็ก
Maryanne อธิบายไว้ในหนังสือว่า "...การอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มนุษย์ค้นพบขึ้นภายหลัง และต้องอาศัยการพัฒนาด้วยตนเองอยู่ตลอด ต่างกับการพูดหรือการมองเห็นซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเอง วิวัฒนาการของการอ่านจึงถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จของมนุษย์..."
หนังสือต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมคลาสสิค เชื่อมต่อความคิดของเรากับโลกแห่งจินตนาการโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว Maryanne เล่าถึงการเดินทางของเธอโดยการอ่านวรรณกรรมว่า ตั้งแต่วัยเด็ก เธอไม่คิดว่าจะต้องอ่านหนังสือเล่มไหนหรือแบบใดเป็นพิเศษ เธอเพียงปล่อยให้ตัวเอง 'ดำดิ่งเข้าไปสู่โลกของวรรณกรรม' เหมือนกับอลิซที่กระโจนเข้าไปในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice's Adventures in Wonderland)
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เธอเริ่มอ่านวรรณกรรมที่ลึกซึ้งกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นบทกวี Duino Elegies โดย Rainer Maria Rilke หรือ นวนิยายคลาสสิคอย่าง Middlemarch โดย George Eliot นักประพันธ์หญิงแห่งศตวรรษที่ 19 และเธอก็ได้ค้นพบว่า ความคิดของเธอต่อสิ่งรอบตัวได้เปลี่ยนไปตามสิ่งที่ตกตะกอนจากการอ่านวรรณกรรมเหล่านี้
โลกแห่งวรรณกรรมได้พาเธอไปทำความเข้าใจกับความซับซ้อนวุ่นวายของโลกใบนี้ และได้สัมผัสรับรู้ความเป็นมนุษย์ที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นผ่านเรื่องราวของตัวละคร 'ความอ่อนโยนและความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์' คือสิ่งที่เธอได้ซึบซับจากการอ่านวรรณกรรม สิ่งเหล่านี้ทำให้ Maryanne ตระหนักถึงพลังของการอ่าน และตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้สึกนี้ไปให้ผู้อื่น เธอตัดสินใจเริ่มต้นเส้นทางอาชีพอาจารย์โดยเริ่มจากการเป็นครูอาสาในพื้นที่ชนบท ด้วยความหวังที่จะเติมเต็มความเป็นคนโดยสมบูรณ์ให้กับเด็กด้อยโอกาสผ่าน ‘การอ่าน’
วรรณกรรมคือ 'เครื่องจำลองทางความคิด' หรือ 'ขอบฟ้าเหตุการณ์สมมติทางความคิด'
ตัวละครในหนังสือก็ไม่ต่างอะไรกับคนทั่วไป อาจจะต่างแค่ยุคสมัยเท่านั้น แต่โดยเนื้อแท้แล้วเราเองเป็นเพียงมนุษย์เช่นเดิม ในหนังสือเราได้พบกับทั้งเรื่องสุขและเรื่องเศร้า ตัวละครเหล่านี้นำเราไปสู่ห้วงเวลาส่วนตัวที่ไม่อนุญาตให้ใครคนอื่นเข้ามา นอกจากตัวคุณเอง
อริสโตเติลเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อเราเผชิญกับโศกนาฏกรรม ความรู้สึกสองอย่างจะเกิดกับเรา นั่นคือ 'ความสงสาร' (ที่มีต่อตัวละคร) และ 'ความกลัว' (ที่เกิดกับตัวเรา) เราจะเปรียบเทียบการกระทำของตัวละครกับประสบการณ์ในอดีตของเรา และจินตนาการไปถึงอนาคตด้วยว่า เราจะทำอย่างไรหากอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว
พูดให้ชัดกว่านั้น วรรณกรรมคือ 'เครื่องจำลองทางความคิด' (mind's flight simulator) ตามที่ Keith Oatley นักจิตวิทยาชาวแคนาดาพูดไว้ หรือในภาษาของเราที่เรียกวรรณกรรมว่าเป็น 'ขอบฟ้าเหตุการณ์สมมติทางความคิด' แม้ว่าแบบจำลองนี้จะเหมือนการเดินทางอยู่กับที่ (เช่น นักบินที่ฝึกบินโดยใช้เครื่องจำลอง) ทว่าการอ่านวรรณกรรมกลับพัฒนาความคิดและจิตใจผ่านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้อ่าน...และนั่นคือคำตอบหนึ่งของคำถามที่ว่า "เราอ่านหนังสือเพื่ออะไร"
----
พบกันที่งานหนังสือ บูธสมมติ G34
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่ 12 - 23 ต.ค. [10โมง - 3 ทุ่ม]
ออนไลน์ที่ https://www.sm-thaipublishing.com
สั่งด่วนตอบไว Line@ คลิก http://bit.ly/2IYW9jh (@sm.thaipublishing)
***ทุกรายการสั่งซื้อ ทั้งหน้าบูธ และออนไลน์ แถมฟรี โปสเตอร์ 'บทกวีคือการทรยศ' (ขนาด A2) จัดทำขึ้นเพียงครั้งเดียว เพื่อระลึกถึง วาด รวี***