ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12h
19 ต.ค. 2565 ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดฟังคำพิพากษาในคดีของ “ภัคภิญญา” (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี อดีตบรรณารักษ์ห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ผู้ถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กรณีถูกกล่าวหาว่าแชร์โพสต์ในทำนองหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จำนวน 6 โพสต์ ดังนี้
.
1. วันที่ 17 พ.ย. 2563 แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH’ ซึ่งโพสต์ภาพตำรวจควบคุมฝูงชนฉีดน้ำ พร้อมข้อความว่า “ด่วน ตํารวจฉีดน้ำพยายามสลายการชุมนุมแล้วถึง 5 ครั้ง ใส่แนวหน้าของเราที่เข้าไปแสตนบายที่พื้นที่ก่อนมวลชนจะมาถึง! และประกาศจะใช้กระสุนยาง!!!…” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “ถ้าใส่เสื้อเหลืองเมื่อเช้านี่เปิดให้เข้าได้เลยนะ พ่อเขาบอกว่ารักทุกคน เราเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอมอ่ะ สับปลับ!”
.
2. วันที่ 24 พ.ย. 2563 แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘KTUK-คนไทยยูเค’ ซึ่งโพสต์ข้อความในทำนองว่า รัชกาลที่ 10 เป็นผู้สั่งเตรียมรับมือการชุมนุม #ม็อบ25พฤศจิกา เมื่อปี 2563 โดยสั่งการให้มวลชนเสื้อเหลืองเข้าปะทะกับผู้ชุมนุม และเตรียมใช้ 112 จับแกนนำ โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “มันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
.
3. วันที่ 31 ธ.ค. 2563 แชร์โพสต์จากบัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งที่มีข้อความว่า “ถ้าจะเก็บสนามหลวงไว้เผาศพอย่างเดียว กูก็ขอให้พวกมึงได้ใช้บ่อยละกัน” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “รับสิ้นปีเลยนะ”
.
4. วันที่ 17 ม.ค. 2564 แชร์โพสต์จากบัญชีเฟซบุ๊ก ‘อานนท์ นําภา’ ที่มีข้อความว่า “อุ้มหายบ่อยๆ จะทําให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 กลับเยอรมันลําบาก พวกทําไปกะเอาใจนายรับรู้ไว้ด้วย อย่าขยันแต่โง่” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “5555 ว้ายยยย”
.
5. วันที่ 18 ม.ค. 2564 แชร์โพสต์จากเพจ ‘ราษฎร’ ซึ่งมีเนื้อหาตั้งคำถามถึงเหตุผลในการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างล่าช้าของรัฐบาล และการให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ผูกขาดการผลิตวัคซีนเพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยจำเลยไม่ได้พิมพ์ข้อความใดประกอบ
.
6. วันที่ 10 เม.ย. 2564 แชร์โพสต์จากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่มีข้อความว่า “เพื่อคนๆ เดียวมา 7 ปี ยอมล้มทั้งกระบวนการนิติบัญญัติ ล้มกระบวนการยุติธรรม ล้มแม้กระทั่งหลักการสาธารณสุขพื้นฐานของประเทศ จนประเทศล้มเหลวขนาดนี้ นับมาสิบห้าปี ประเทศไทยมีอะไรดีขึ้นบ้าง นอกจากพอร์ทของเจ้าสัวใหญ่สิบห้าตระกูล ถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่ยังมีสติในบ้านเมืองนี้หน่อยเถอะ ยอมไปได้ไง” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “ฆ่าคนกว่าหกสิบล้าน เพื่อคนๆ เดียว แปลว่าถ้าคนๆ เดียวตาย มันอาจจะดีขึ้นไหมนะ”
ในคดีนี้จำเลยต่อสู้ว่า โพสต์เฟซบุ๊กที่ผู้กล่าวหาแคปหน้าจอและพิมพ์ออกมาก่อนนำมาแจ้งความร้องทุกข์นั้นขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากผ่านการตัดต่อ แก้ไข และเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาแล้ว รวมถึงชี้ให้เห็นว่า มีการใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นเครื่องมือที่ใช้กลั่นแกล้งผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยสถิติการดำเนินคดีสัมพันธ์ไปกับสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นๆ
.
.
ศาลลงโทษ 3 กรรม ชี้จำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กจริง ข้อความเจตนาสื่อถึง ร.10 ในแง่ดูหมิ่นและอาฆาตมาดร้าย
.
เวลาประมาณ 10.30 น. กิติกร ทัศนาขจร ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน อ่านคำพิพากษาเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 14 (3) ลงโทษกระทงละ 3 ปี รวมจำนวนสามกระทง รวมลงโทษจำคุก 9 ปี โดยไม่รอลงอาญา และเห็นว่าอีก 3 กระทงไม่เข้าข่ายความผิด
.
เนื้อหาของคำพิพากษาโดยสรุปได้ว่า จากหลักฐานพยานฝั่งโจทก์ปรากฎว่า ภาพเฟซบุ๊ก และทะเบียนราษฎรตรงกับของจำเลย รวมถึงปรากฎร่องรอยดิจิทัลเกี่ยวกับตัวจำเลยจำนวนมากบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยจำเลยไม่ได้นำสืบว่า จำเลยไม่ได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้มีการแจ้งความว่ามีบุคคลอื่นแอบอ้างใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวหรือไม่
.
ที่สำคัญการที่จำเลยนำสืบว่าข้อความตามฟ้องทั้ง 6 ข้อความเป็นการตัดต่อ โดยการนำภาพข้อความตามฟ้องใส่โปรแกรม word ซึ่งเป็นการจัดทำพยานหลักฐานทั่วไป จำเลยไม่ได้นำสืบว่ามีความผิดปกติเพิ่มเติมอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กและเป็นผู้นำเข้าข้อความตามฟ้องจริง ดังนั้นศาลต้องพิจารณาว่าข้อความดังกล่าวเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่
.
โพสต์ที่ 1 ตามฟ้อง - ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานโจทก์นำสืบไปในทางเดียวกันว่าเป็นพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “สับปลับ” ตามพจนานุกรม จะทำให้คนอ่านตีความได้ว่าในหลวง รัชกาลที่ 10 พูดไม่จริง เป็นการดูหมิ่น ใส่ความพระมหากษัตริย์ ต่อบุคคลที่สาม
.
โพสต์ที่ 2 ตามฟ้อง - ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฝั่งโจทก์นำสืบไปในทางเดียวกันว่า ข้อความดังกล่าวสื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวข้องกับการชุมนุม เป็นคนไม่ดีชอบใช้ความรุนแรง สั่งให้กลุ่มเสื้อเหลืองเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม เห็นว่ามีเจตนาใส่ความพระมหากษัตริย์
.
โพสต์ที่ 3 ตามฟ้อง - พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันและพิจารณาความหมายของ “สนามหลวง” ศาลเห็นว่าสนามหลวงเป็นสถานที่ๆ ใช้เผาศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แม้ไม่ได้ระบุว่าข้อความที่จำเลยโพสต์หมายถึงใคร แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีประชาชนทั่วไป เคยใช้สนามหลวงเผาศพ
.
โดยที่ผ่านมามีการใช้สนามหลวงประกอบพระราชพิธีเผาพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการแช่งในหลวงรัชกาลที่ 10 การที่จำเลยสืบว่า ในช่วงที่มีการโพสต์ก็ไม่ปรากฎว่าในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือพระราชินีมีอาการป่วยแต่อย่างใด ก็ไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้
.
โพสต์ที่ 4 ตามฟ้อง - หลังอ่านทั้งหมดยังไม่สามารถตีความได้ว่าสื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10
.
โพสต์ที่ 5 ตามฟ้อง - ข้อความว่า “วัคซีนจากน้ำพระทัย” ไม่ใช่ข้อความดูหมิ่น และบุคคลทั่วไปก็ไม่อาจทราบได้ว่าโพสต์ดังกล่าวมุ่งหมายถึงใคร
.
โพสต์ที่ 6 ตามฟ้อง - ศาลเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่มีการโพสต์ เป็นระยะเวลาประมาณ 7 ปี สอดคล้องกับที่จำเลยโพสต์ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
.
หลังศาลอ่านคำพิพากษา “ภัคภิญญา” ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปควบคุมไว้ที่ห้องขังของศาล ขณะเดียวกันทนายความได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นอุทธรณ์คดี
.
ต่อมาเวลา 13.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันเพิ่มเติมอีก 50,000 บาท จากเดิมที่เคยวางไว้ระหว่างการสั่งฟ้องคดีจำนวน 150,000 บาท รวมเป็นใช้หลักทรัพย์ประกันในชั้นนี้ 200,000 บาท ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์
.
.
อนึ่ง คดีนี้เป็นหนึ่งในคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 8 คดีที่ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ เข้าแจ้งความไว้ที่ สภ.สุไหงโก-ลก โดยคดีเหล่านี้ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีใครอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้
.
ขณะนี้ศาลจังหวัดนราธิวาสทยอยมีคำพิพากษาไปแล้ว 4 คดี ได้แก่ คดีของอุดม, คดีของ “กัลยา”, คดีของ “วารี” และคดีของภัคภิญญา โดยมีเพียงคดีของวารีซึ่งศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ให้เหตุผลว่าพยานโจทก์ยังไม่น่าเชื่อถือว่าจำเลยโพสต์ตามที่ถูกกล่าวหา นอกจากนั้นยังมีคดีของ “ชัยชนะ” ผู้ป่วยจิตเวชจากจังหวัดลำพูน ที่ยังไม่ได้เริ่มการสืบพยาน รวมทั้งยังมีคดีของเยาวชน 2 ราย ที่อัยการต้องนำคดีไปฟ้องที่ภูมิลำเนาของเยาวชนด้วย
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/49727
.
อ่านบันทึกการสืบพยาน: https://tlhr2014.com/archives/49634
19 ต.ค. 2565 ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดฟังคำพิพากษาในคดีของ “ภัคภิญญา” (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี อดีตบรรณารักษ์ห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ผู้ถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กรณีถูกกล่าวหาว่าแชร์โพสต์ในทำนองหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จำนวน 6 โพสต์ ดังนี้
.
1. วันที่ 17 พ.ย. 2563 แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH’ ซึ่งโพสต์ภาพตำรวจควบคุมฝูงชนฉีดน้ำ พร้อมข้อความว่า “ด่วน ตํารวจฉีดน้ำพยายามสลายการชุมนุมแล้วถึง 5 ครั้ง ใส่แนวหน้าของเราที่เข้าไปแสตนบายที่พื้นที่ก่อนมวลชนจะมาถึง! และประกาศจะใช้กระสุนยาง!!!…” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “ถ้าใส่เสื้อเหลืองเมื่อเช้านี่เปิดให้เข้าได้เลยนะ พ่อเขาบอกว่ารักทุกคน เราเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอมอ่ะ สับปลับ!”
.
2. วันที่ 24 พ.ย. 2563 แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘KTUK-คนไทยยูเค’ ซึ่งโพสต์ข้อความในทำนองว่า รัชกาลที่ 10 เป็นผู้สั่งเตรียมรับมือการชุมนุม #ม็อบ25พฤศจิกา เมื่อปี 2563 โดยสั่งการให้มวลชนเสื้อเหลืองเข้าปะทะกับผู้ชุมนุม และเตรียมใช้ 112 จับแกนนำ โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “มันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
.
3. วันที่ 31 ธ.ค. 2563 แชร์โพสต์จากบัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งที่มีข้อความว่า “ถ้าจะเก็บสนามหลวงไว้เผาศพอย่างเดียว กูก็ขอให้พวกมึงได้ใช้บ่อยละกัน” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “รับสิ้นปีเลยนะ”
.
4. วันที่ 17 ม.ค. 2564 แชร์โพสต์จากบัญชีเฟซบุ๊ก ‘อานนท์ นําภา’ ที่มีข้อความว่า “อุ้มหายบ่อยๆ จะทําให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 กลับเยอรมันลําบาก พวกทําไปกะเอาใจนายรับรู้ไว้ด้วย อย่าขยันแต่โง่” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “5555 ว้ายยยย”
.
5. วันที่ 18 ม.ค. 2564 แชร์โพสต์จากเพจ ‘ราษฎร’ ซึ่งมีเนื้อหาตั้งคำถามถึงเหตุผลในการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างล่าช้าของรัฐบาล และการให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ผูกขาดการผลิตวัคซีนเพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยจำเลยไม่ได้พิมพ์ข้อความใดประกอบ
.
6. วันที่ 10 เม.ย. 2564 แชร์โพสต์จากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่มีข้อความว่า “เพื่อคนๆ เดียวมา 7 ปี ยอมล้มทั้งกระบวนการนิติบัญญัติ ล้มกระบวนการยุติธรรม ล้มแม้กระทั่งหลักการสาธารณสุขพื้นฐานของประเทศ จนประเทศล้มเหลวขนาดนี้ นับมาสิบห้าปี ประเทศไทยมีอะไรดีขึ้นบ้าง นอกจากพอร์ทของเจ้าสัวใหญ่สิบห้าตระกูล ถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่ยังมีสติในบ้านเมืองนี้หน่อยเถอะ ยอมไปได้ไง” โดยจำเลยได้พิมพ์ข้อความประกอบว่า “ฆ่าคนกว่าหกสิบล้าน เพื่อคนๆ เดียว แปลว่าถ้าคนๆ เดียวตาย มันอาจจะดีขึ้นไหมนะ”
ในคดีนี้จำเลยต่อสู้ว่า โพสต์เฟซบุ๊กที่ผู้กล่าวหาแคปหน้าจอและพิมพ์ออกมาก่อนนำมาแจ้งความร้องทุกข์นั้นขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากผ่านการตัดต่อ แก้ไข และเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาแล้ว รวมถึงชี้ให้เห็นว่า มีการใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นเครื่องมือที่ใช้กลั่นแกล้งผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยสถิติการดำเนินคดีสัมพันธ์ไปกับสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นๆ
.
.
ศาลลงโทษ 3 กรรม ชี้จำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กจริง ข้อความเจตนาสื่อถึง ร.10 ในแง่ดูหมิ่นและอาฆาตมาดร้าย
.
เวลาประมาณ 10.30 น. กิติกร ทัศนาขจร ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน อ่านคำพิพากษาเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 14 (3) ลงโทษกระทงละ 3 ปี รวมจำนวนสามกระทง รวมลงโทษจำคุก 9 ปี โดยไม่รอลงอาญา และเห็นว่าอีก 3 กระทงไม่เข้าข่ายความผิด
.
เนื้อหาของคำพิพากษาโดยสรุปได้ว่า จากหลักฐานพยานฝั่งโจทก์ปรากฎว่า ภาพเฟซบุ๊ก และทะเบียนราษฎรตรงกับของจำเลย รวมถึงปรากฎร่องรอยดิจิทัลเกี่ยวกับตัวจำเลยจำนวนมากบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยจำเลยไม่ได้นำสืบว่า จำเลยไม่ได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้มีการแจ้งความว่ามีบุคคลอื่นแอบอ้างใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวหรือไม่
.
ที่สำคัญการที่จำเลยนำสืบว่าข้อความตามฟ้องทั้ง 6 ข้อความเป็นการตัดต่อ โดยการนำภาพข้อความตามฟ้องใส่โปรแกรม word ซึ่งเป็นการจัดทำพยานหลักฐานทั่วไป จำเลยไม่ได้นำสืบว่ามีความผิดปกติเพิ่มเติมอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กและเป็นผู้นำเข้าข้อความตามฟ้องจริง ดังนั้นศาลต้องพิจารณาว่าข้อความดังกล่าวเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่
.
โพสต์ที่ 1 ตามฟ้อง - ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานโจทก์นำสืบไปในทางเดียวกันว่าเป็นพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “สับปลับ” ตามพจนานุกรม จะทำให้คนอ่านตีความได้ว่าในหลวง รัชกาลที่ 10 พูดไม่จริง เป็นการดูหมิ่น ใส่ความพระมหากษัตริย์ ต่อบุคคลที่สาม
.
โพสต์ที่ 2 ตามฟ้อง - ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฝั่งโจทก์นำสืบไปในทางเดียวกันว่า ข้อความดังกล่าวสื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวข้องกับการชุมนุม เป็นคนไม่ดีชอบใช้ความรุนแรง สั่งให้กลุ่มเสื้อเหลืองเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม เห็นว่ามีเจตนาใส่ความพระมหากษัตริย์
.
โพสต์ที่ 3 ตามฟ้อง - พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันและพิจารณาความหมายของ “สนามหลวง” ศาลเห็นว่าสนามหลวงเป็นสถานที่ๆ ใช้เผาศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แม้ไม่ได้ระบุว่าข้อความที่จำเลยโพสต์หมายถึงใคร แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีประชาชนทั่วไป เคยใช้สนามหลวงเผาศพ
.
โดยที่ผ่านมามีการใช้สนามหลวงประกอบพระราชพิธีเผาพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการแช่งในหลวงรัชกาลที่ 10 การที่จำเลยสืบว่า ในช่วงที่มีการโพสต์ก็ไม่ปรากฎว่าในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือพระราชินีมีอาการป่วยแต่อย่างใด ก็ไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้
.
โพสต์ที่ 4 ตามฟ้อง - หลังอ่านทั้งหมดยังไม่สามารถตีความได้ว่าสื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10
.
โพสต์ที่ 5 ตามฟ้อง - ข้อความว่า “วัคซีนจากน้ำพระทัย” ไม่ใช่ข้อความดูหมิ่น และบุคคลทั่วไปก็ไม่อาจทราบได้ว่าโพสต์ดังกล่าวมุ่งหมายถึงใคร
.
โพสต์ที่ 6 ตามฟ้อง - ศาลเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่มีการโพสต์ เป็นระยะเวลาประมาณ 7 ปี สอดคล้องกับที่จำเลยโพสต์ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
.
หลังศาลอ่านคำพิพากษา “ภัคภิญญา” ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปควบคุมไว้ที่ห้องขังของศาล ขณะเดียวกันทนายความได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นอุทธรณ์คดี
.
ต่อมาเวลา 13.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันเพิ่มเติมอีก 50,000 บาท จากเดิมที่เคยวางไว้ระหว่างการสั่งฟ้องคดีจำนวน 150,000 บาท รวมเป็นใช้หลักทรัพย์ประกันในชั้นนี้ 200,000 บาท ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์
.
.
อนึ่ง คดีนี้เป็นหนึ่งในคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 8 คดีที่ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ เข้าแจ้งความไว้ที่ สภ.สุไหงโก-ลก โดยคดีเหล่านี้ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีใครอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้
.
ขณะนี้ศาลจังหวัดนราธิวาสทยอยมีคำพิพากษาไปแล้ว 4 คดี ได้แก่ คดีของอุดม, คดีของ “กัลยา”, คดีของ “วารี” และคดีของภัคภิญญา โดยมีเพียงคดีของวารีซึ่งศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ให้เหตุผลว่าพยานโจทก์ยังไม่น่าเชื่อถือว่าจำเลยโพสต์ตามที่ถูกกล่าวหา นอกจากนั้นยังมีคดีของ “ชัยชนะ” ผู้ป่วยจิตเวชจากจังหวัดลำพูน ที่ยังไม่ได้เริ่มการสืบพยาน รวมทั้งยังมีคดีของเยาวชน 2 ราย ที่อัยการต้องนำคดีไปฟ้องที่ภูมิลำเนาของเยาวชนด้วย
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/49727
.
อ่านบันทึกการสืบพยาน: https://tlhr2014.com/archives/49634