#6ตุลาเผชิญหน้าปิศาจ #kinjaicontemporary #commonschool
เสวนาลำดับที่ 1 “ICC กับความยุติธรรมที่ยังเอื้อมไม่ถึง” | 6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ
Streamed live 8 hours ago
Common School
ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เป็นศาลสำคัญที่ช่วยปกป้องบุคคลจากการก่ออาชญากรรมร้ายแรงของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ และติดตามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ที่แม้จะมีการนิรโทษกรรมก็ไม่ช่วยทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิดไปได้
เสวนาลำดับที่ 1 “ICC กับความยุติธรรมที่ยังเอื้อมไม่ถึง” | 6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ
Streamed live 8 hours ago
Common School
ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เป็นศาลสำคัญที่ช่วยปกป้องบุคคลจากการก่ออาชญากรรมร้ายแรงของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ และติดตามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ที่แม้จะมีการนิรโทษกรรมก็ไม่ช่วยทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิดไปได้
ICC ถูกจัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรม 2002 ซึ่งกำหนดว่า คดีที่ฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศได้ จะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศนั้นไม่มีเจตจำนงในการดำเนินคดี หรือไม่มีความสามารถเพียงพอในการดำเนินคดี
ในแง่นี้ ICC จึงเป็นหนึ่งในกลไกที่ใช้คัดง้างกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดและกระบวนการยุติธรรมที่ไร้ประสิทธิภาพได้ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ ทําให้ไทยไม่สามารถใช้กลไกดังกล่าวในการนําตัวผู้กระทําความผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาลงโทษได้
เสวนา “ICC กับความยุติธรรมที่ยังเอื้อมไม่ถึง” คือวงที่จะตั้งคําถามถึงความท้าทาย ความเป็นไปได้ และบทบาทของภาคประชาสังคม สื่อมวลชน วิชาการ และพรรคการเมืองในการหยุดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดและการผลักดันให้ประเทศไทยให้สัตยาบันข้างต้น
🎤ร่วมเสวนาโดย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า
ธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธาน นปช.
เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30-19.30 น.
ณ KINJAI CONTEMPORARY
และถ่ายทอดสดที่เฟซบุ๊กเพจ Common School