วันเสาร์, มิถุนายน 04, 2565

มีอะไรในกอไผ่หรือเปล่า ? กองทัพบกหยุดทำมาค้าขายกับบริษัทที่เคยเป็นนายหน้า GT-200 แห่งนี้ไปตั้งแต่ปี 58 แล้ว แต่ทำไม กองทัพเรือ กับ กองทัพอากาศ ยังเซ็งลี้กับบริษัทนี้ต่อตามปกติ ?!?


Saiseema Phutikarn
8h

ถึงแม้ว่าคดีอาญาที่กรมราชองครักษ์ฟ้องผู้บริหารจะยังไม่สิ้นสุดอยู่ชั้นฎีกา คดีแพ่งกองทัพบกฟ้องบริษัทยังอยู่ที่ศาลปกครอง (รอผลผ่าเครื่องให้ครบพันกว่าเครื่องก่อน) แต่กองทัพบกก็หยุดทำมาค้าขายกับบริษัทที่เคยเป็นนายหน้า GT-200 แห่งนี้ไปตั้งแต่ปี 58 แล้ว
แต่ กองทัพเรือ กับ กองทัพอากาศ ยังเซ็งลี้กับบริษัทนี้ต่อตามปกติ แถมส่วนใหญ่เป็นการค้าขายแบบเฉพาะเจาะจงกับเอกชนรายนี้รายเดียวด้วยนี่สิ
ที่ทำกองทัพบกหลงกลซื้อเสาอากาศต่อกล่องพลาสติคในราคากล่องละเป็นล้าน รวมแล้วเป็นพันกล่อง ทำกองทัพบกเสียเงินภาษีเป็นพันล้าน นั่นยังไม่เท่าไหร่ แต่ทำกองทัพบกเสียหน้า จนแทบจะมุดแผ่นดินหนี นี่สิเหลา่ทัพอื่นไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลยหรือไง
แม้จะต่างเหล่าทัพ แต่ก็ใต้กระทรวงกลาโหมเหมือนกัน ใต้รัฐมนตรีกลาโหม คนเดียวกัน ใต้จอมทัพคนเดียวกัน ทำอะไรเกรงใจกันบ้าง

"...จากข้อมูลเท่าที่สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบ นับรวมระยะเวลา 2 ปี ปี 2563-2564 บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ได้งานจาก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ไปจำนวน 12 สัญญา รวมวงเงิน 54.43 ล้านบาท หลายสัญญาใช้วิธีการจัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงอีกด้วย ทั้งที่ บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด มีข้อพิพาทต่อสู้คดีในชั้นศาลกับหน่วยงานรัฐ และแพ้คดีไปแล้ว ผู้บริหารถูกตัดสินจำคุกหลายปี ตามข้อมูลที่ ดร.มานะ นิมิตรมงคลระบุ..."

..................................

"น่ากังขามากกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน “กองบัญชาการกองทัพไทย” เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้กองทัพไทยชนะคดีที่เอกชนร่วมกันฉ้อโกงขายเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด GT200 และ ALPHA6 คดีดำเลขที่ อ284/62 คดีแดงที่ 931/62 วันที่ 23 กันยายน 2562 ซึ่งตามกฎหมายแล้วกองทัพไทยควรเอาเหตุนี้ยื่นเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาสั่งให้เอกชนรายนั้นเป็น “ผู้ทิ้งงาน” ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ แต่ผ่านมาปีกว่าผู้มีอำนาจในกองทัพไทยกลับนิ่งเฉยไม่ทำอะไร เปิดโอกาสให้บริษัทและบุคคลกลุ่มนี้สามารถขายอาวุธยุทโธปกรณ์และสินค้าอื่นให้แก่สามเหล่าทัพ กองบัญชาการกองทัพไทยและอีกหลายหน่วยราชการได้เรื่อยมาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น"

"ทราบกันดีว่าขบวนการต้มตุ๋น GT200 และ ALPHA6 สร้างความเสียหายแก่รัฐราว 1.13 พันล้านบาท เป็นคดีคอร์รัปชันฉาวโฉ่ที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องจำนวนมาก ปัจจุบันมีคดีค้างคาใน ป.ป.ช. ดีเอสไอและศาลหลายคดี"

"ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ เอกชนรายใดถูกขึ้นบัญชีผู้ทิ้งงานจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ค้าขายกับรัฐได้อีก รวมทั้งคนที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น บทลงโทษนี้ยังโยงไปถึงนิติบุคคลอื่นในกิจการประเภทเดียวกันที่มีชื่อเป็นผู้ทิ้งงานร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย (มาตรา 29(5) มาตรา 109 และ 120 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ ข้อ 193 และข้อ 196)"

"การขึ้นบัญชีผู้ทิ้งงาน (Blacklist) จึงเป็นมาตรการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ด้วยการปิดโอกาสไม่ให้พวกคนโกงหรือชอบเอาเปรียบเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับรัฐได้อีก มาตรการนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกหน่วยงานต้องใส่ใจ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่มีทางควบคุมคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างฯ ได้"

คือ ประเด็นสำคัญที่ปรากฎในบทความเรื่อง ไฉนกองทัพไม่ขึ้นบัญชีดำบริษัทขาย ‘จีที200 - อัลฟ่า6’ ที่เขียนโดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งมีการเผยแพร่เป็นทางการในเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

อ่านต่อที่ https://www.isranews.org/article/investigative/investigate-procure/96919-investigative05.html