พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ขณะเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2474 (ภาพจากหนังสือ สมุดภาพรัชกาลที่ 7)
รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องตัดทอนรายจ่าย
รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 7 เผชิญกับปัญหาการทางการเงินทำให้มีการตัดลดงบประมาณ, ตัดลดเงินเดือนข้าราชการ และลดจำนวนข้าราชการ คลังเศรษฐกิจ ถึงช่วงปลายปี 2474 ก็จำเป็นต้องตัดรายจ่าย
ดังนั้นในโอกาสที่เสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงประชุมนายทหาร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้มีพระราชดำรัสแก่นายทหารถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องตัดทอนรายจ่ายว่า (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำ โดยกกองบรรณาธิการ)
“แต่ถ้าว่าถึงความลำบากที่เปนมาแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะว่าพวกราษฎรและพวกพ่อค้านั้นได้รับความลำบากกว่าข้าราชการ พวกนั้นถูกดุลย์มาแล้วถูกตัดเงินเดือนมาแล้วทั้งสิ้น โดยที่ค้าขายไมได้ ราคาของก็ตก พวกค้าขายและพวกชาวนาถูกลดรายได้ลงกว่าข้าราชการถูกอยู่เป็นก่ายเป็นกอง แม้พวกเศรษฐีเองที่เห็นว่า มีทรัพย์ก็ถูกลดถูกตัดค่า เช่น พวกเจ้าของนาก็ถูกเก็บภาษี และได้ค่าเช่านาน้อยลง จะว่าสบายทีเดียวก็ไม่ได้…
ส่วนข้าราชการนั้นถูกตัดเฉพาะชั้นสูง ชั้นต่ำ ไม่ถูกตัดเลย ถ้าจะเปรียบกับพวกนั้นแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่าข้าราชการกลับจะได้เงินเดือนขึ้นเพราะของถูกลง และอาหารการกินก็ถูกลงเท่าตัว เท่ากับได้เพิ่มเงินเดือนเท่าตัว เพราะซื้อของได้มากขึ้น…
เท่าที่เปนมาแล้วข้าราชการยังสบายมาก เปนชั้นที่ได้รับความลำบากทีหลังคนอื่นหมด คนอื่นถูกตัดมาหมด แล้วจึงได้มาถึง, แต่ในตอนนี้เปนการจำเปนที่จะต้องตัดทอน…ให้ช่วยกันแบ่งความลำบากไปทั้งบ้านทั้งเมือง หวังใจว่าจะช่วยกันรู้สึกอดทน เมื่อจำเป็นแล้วก็ต้องลำบาก หวังจะทนเอาบ้าง”
(ก.จ.ช. ร. 7 ค 14/4 สำเนาพระราชดำรัสพระราชทานแก่ที่ชุมนุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ณ กระทรวงกลาโหม, วันที่ 5 กุมภาพันธ์)
ข้อมูลจาก
มยุรี นกยูงทอง, ปัญหาเศรษฐกิจของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2468-2477) วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก 21 กันยายน 2564
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม
รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องตัดทอนรายจ่าย
รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 7 เผชิญกับปัญหาการทางการเงินทำให้มีการตัดลดงบประมาณ, ตัดลดเงินเดือนข้าราชการ และลดจำนวนข้าราชการ คลังเศรษฐกิจ ถึงช่วงปลายปี 2474 ก็จำเป็นต้องตัดรายจ่าย
ดังนั้นในโอกาสที่เสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงประชุมนายทหาร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้มีพระราชดำรัสแก่นายทหารถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องตัดทอนรายจ่ายว่า (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำ โดยกกองบรรณาธิการ)
“แต่ถ้าว่าถึงความลำบากที่เปนมาแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะว่าพวกราษฎรและพวกพ่อค้านั้นได้รับความลำบากกว่าข้าราชการ พวกนั้นถูกดุลย์มาแล้วถูกตัดเงินเดือนมาแล้วทั้งสิ้น โดยที่ค้าขายไมได้ ราคาของก็ตก พวกค้าขายและพวกชาวนาถูกลดรายได้ลงกว่าข้าราชการถูกอยู่เป็นก่ายเป็นกอง แม้พวกเศรษฐีเองที่เห็นว่า มีทรัพย์ก็ถูกลดถูกตัดค่า เช่น พวกเจ้าของนาก็ถูกเก็บภาษี และได้ค่าเช่านาน้อยลง จะว่าสบายทีเดียวก็ไม่ได้…
ส่วนข้าราชการนั้นถูกตัดเฉพาะชั้นสูง ชั้นต่ำ ไม่ถูกตัดเลย ถ้าจะเปรียบกับพวกนั้นแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่าข้าราชการกลับจะได้เงินเดือนขึ้นเพราะของถูกลง และอาหารการกินก็ถูกลงเท่าตัว เท่ากับได้เพิ่มเงินเดือนเท่าตัว เพราะซื้อของได้มากขึ้น…
เท่าที่เปนมาแล้วข้าราชการยังสบายมาก เปนชั้นที่ได้รับความลำบากทีหลังคนอื่นหมด คนอื่นถูกตัดมาหมด แล้วจึงได้มาถึง, แต่ในตอนนี้เปนการจำเปนที่จะต้องตัดทอน…ให้ช่วยกันแบ่งความลำบากไปทั้งบ้านทั้งเมือง หวังใจว่าจะช่วยกันรู้สึกอดทน เมื่อจำเป็นแล้วก็ต้องลำบาก หวังจะทนเอาบ้าง”
(ก.จ.ช. ร. 7 ค 14/4 สำเนาพระราชดำรัสพระราชทานแก่ที่ชุมนุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ณ กระทรวงกลาโหม, วันที่ 5 กุมภาพันธ์)
ข้อมูลจาก
มยุรี นกยูงทอง, ปัญหาเศรษฐกิจของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2468-2477) วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก 21 กันยายน 2564
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม