เห็นที่ ไชยันต์ ไชยพร คุยกับ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ กันหรือยัง หนุงหนิงม้ว์าก อันเนื่องมาจากไชยันต์หยิบเอาหนังสือเล่มใหม่ของปวิน เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๘ กับหญิงคนรักชาวสวิสฯ และกรณีสวรรคต มารีวิวไว้ทางเฟชบุ๊ค ว่าบกพร่องในการอ้างหลักฐาน
“มักจะอยู่ในรูปของ ‘คำบอกเล่า จากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยไม่ได้’ หรือ ‘อ้างจากบุคคลนิรนาม’ เช่น การที่ระบุว่ามีเพื่อนร่วมงานของ ‘นักประวัติศาสตร์ชาวไทยท่านหนึ่ง’ แอบได้ยินปรีดีพูดว่า อย่าไปคาดหวังความจริงใจกับพวกมหิดลมากนัก”
และว่า “นอกจากประเด็นน่าสงสัยว่า คำพูดที่ได้จำมานั้นผิดเพี้ยนหรือเป็นเรื่องการเสกสรรปั้นแต่งเพื่อให้งานเขียนของตนมีความหวือหวาแตกต่างจากหนังสือเล่มอื่น ๆ แล้ว การอ้างอิงในลักษณะเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถยอมรับในวงการวิชาการได้”
ตรงนี้แหละมัง เป็นไฮไล้ท์เบื้องหลังการสนทนาแลกเปลี่ยน ซึ่ง Kritsada Akkhapracha แค้ปมาโพสต์ว่า “โฮ้ย มันส์ 5555555” เริ่มจากปวินเขียนตอบไชยันต์ “ไหนๆ ก็ไหนๆ” ฝากให้อ่านอีกสองเล่ม คือ ‘Routledge Handbook of Contemporary Thailand’
เล่มนี้ปวินบอก “ดิชั้นเป็น editor” มีทั้งหมด ๓๔ บท “จากนักวิชาการชั้นนำที่ศึกษาเรื่องเมืองไทย แต่ไม่มีอาจารย์ไชยันต์ค่ะ” ซึ่งไชยันต์ตอบว่า “ขายของจัง !” ปวินเลยตอด “เขียนกว่า ๒๐ เล่มค่ะ ชีวิตนักวิชาการกำมะลอมันเหนื่อย”
อีกอันที่ปวินฝาก เป็นการที่เขาให้สัมภาษณ์นิตยสาร The Diplomat เรื่อง ‘Pavin Chachavalpongpun on the Strange Death of King Ananda Mahidol’ ที่ไชยันต์ว่า “รับทราบครับ และทราบว่า ไก่มีผลงานหลายประเภท...ไม่วิชาการมาก ก็มี ฯ”
ปวินหรือจะปล่อยลอยชาย “นี่ทราบมาเหมือนกัน ว่าอาจารย์ไม่มีหนังสือวิชาการทั้งสิ้น เสียดายสอนมาหลายปี” ไชยันต์ บอก “หึๆ เอาๆ ตามสบายเลยครับ” โหย เข้าทางปวิน “ที่เห็นมีก็งานเขียน propaganda คนทั่วไปดูออกค่ะ หึๆ”
“คงเห็นไม่หมดมั้ง !? ดูทั่วรึยัง ?” ไชยันต์ท้วง เลยเจออีกเด้ง “หมายถึงเห็นงาน propaganda ไม่หมด ตายๆ ๆ เยอะขนาดนั้นเหรอคะ” พอบอก “เอาเข้าไป ๆ” ปวินเอาใหญ่สิทีนี้ เปรยว่าเคยคิดจะจัดสั่งหนังสือไชยันต์ให้นักศึกษาเกียวโตอ่าน
“แต่อาจารย์ไม่มีหนังสือวิชาการเลย เลย assign ของอาจารย์ณัฐพลให้อ่านแทนค่ะ เด็ๆ ชอบมาก” มันไปพี้คเอาตอนไชยันต์บอกว่า “อย่าลืมให้นักศึกษาเกียวโตอ่านที่ผมและทุ่นดำทุ่นแดงเขียนถึงงาน อ.ณัฐพล ด้วยนะครับ ให้อ่านจาก FB ไปก่อน”
“อ่านแล้วค่ะ เด็กเกียวโตสรุปว่าอาจารย์อคติ และอิจฉาณัฐพล ดิชั้นนี่ร้องกรี๊ดเลย แก้ตัวแทนอาจารย์แทบไม่ทัน” แต่การรีวิวหนังสือ ‘Love and Death of King Ananda Mahidol of Thailand’ ที่เพิ่งตีพิมพ์ ก็เป็นการให้ข้อมูลส่วนใหญ่ถูกต้องตามเนื้อหา
ไม่ว่าจะเป็นประเด็น “แอบได้ยิน (overheard) ปรีดีพูด” หรือ “ความสัมพันธ์ของสมเด็จย่าและติวเตอร์ผู้นั้น” แม้กระทั่งกรณี “แม้แต่แม่ก็ฆ่าลูกตัวเองได้” ซึ่ง “ปวินกลับได้สรุปตอนท้ายว่า เป็นไปไม่ได้ (unimaginable)” นั้นไชยันต์ติปวิน “อ้างจากบุคคลนิรนาม”
มาดูคำตอบต่อข้อกล่าวหา ที่ปวินเขียนถึง “แหล่งข้อมูล...ที่ไม่สามารถเปิดเผย identity ของผู้ให้ข้อมูลได้...ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติมากของงานเขียนวิชาการ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความล่อแหลมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
ที่ยังมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ทำให้ผู้ต้องการให้ข้อมูลต้องระวังเป็นพิเศษ ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย...และต้องย้ำว่า ในจุดที่ไม่สามารถอ้างแหล่งที่มาได้นั้น มีเพียงบางจุดเท่านั้นในหนังสือเล่มนี้ เพราะที่เหลือ บุคคลที่สามารถเอ่ยชื่อได้”
ข้อสำคัญปวินชี้ว่า “หนังสือเล่มนี้ได้ผ่าน peer review มามากกว่า 3 ครั้ง และได้รับคำแนะนำ/คำติที่มีประโยชน์จาก referees ซึ่งดิชั้นได้แก้ตามที่เห็นสมควร ไม่มี referees คนใดมีปัญหากับการอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยไม่ได้”
ยังมีอีกประเด็นที่ไชยันต์กล่าวหาปวิน “เลือกใช้คำอธิบายอย่างจงใจ” ว่าเรื่องสมเด็จย่า “สนิทสนมอย่างมาก - overfriendly” กับ เฉลียว ปทุมรส นักวิชาการเกียวโตย้อนว่า “โทษนะคะ นี่ไม่ใช่คำพูดของดิชั้น และดิชั้นได้ quote ไว้อย่างชัดเจน
ว่า เป็นคำที่มาจากรายงานที่ปรากฎในนิตยสาร Life (1946: Royal Murder in Siam) ซึ่งดิชั้นยกมาทั้งย่อหน้า การบิดเบือนใส่ร้ายแบบนี้สะท้อนตัวตนไชยันต์ได้เป็นอย่างดี...ตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการต้องหลีกเลี่ยง”
(https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/4240271322741265 และ https://www.facebook.com/chaiyan.chaiyaporn/posts/4969005373152334)