.....
Pravit Rojanaphruk
21h ·
เมื่อรัฐเปิดศึกพยายามควบคุมสื่อและสิทธิในการรับรู้ของประชาชนแบบเต็มรูปแบบ
เมื่อวาน ครม. ผ่านร่างกฎหมายควบคุมสื่อมวลชน ทั้งระดับองค์กรและนักข่าวแล้วนะครับ ผมถือว่านี่คือความพยายามครั้งสำคัญที่สุดในรอบ 20 ปี ที่จะควบคุมสื่อไทย
ถ้ายอมให้เป็นกฎหมาย นักข่าวอาจไม่ต่างจากนักประชาสัมพันธ์ และจะมีผลลบอย่างกว้างขวางต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารและความเห็นอันหลากหลาย ของประชาชน
ปกติสื่อไทยส่วนใหญ่ก็เซนเซอร์ตนเองเป็นประจำอย่างมหาศาลอยู่แล้ว เช่นไม่มีข่าว ร.10 เสด็จประทับเยอรมนีและพระราชกรณียกิจในประเทศนั้นเหมือนกับว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยและไม่ได้เกิดขึ้น ฯลฯ
ขอแบ่งความกังวลแบบรับไม่ได้เป็น 2 ข้อ
1) นิยามหน้าที่สื่อ: ร่างกฎหมาย (ข้อ 1 ของ 9 ข้อสาระสำคัญที่สรุปโดยเว็บทำเนียบรัฐบาล https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50437) บอกว่าสื่อมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารแต่ "การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"
ความเห็นผม: นี่เป็นการกำหนดหน้าที่สื่อแบบตีความได้กว้างมาก เสี่ยงจะถูกตัดสินว่าถ้าเสนอหรือแสดงความเห็นสนับสนุนการแก้ไขหรือยกเลิก ม.112 และสนับสนุนการปฎิรูปสถาบันฯ หรือเสนอรายระเลียดจากมุมมองกู้เอกราชปาตานี (โจรใต้และขบวนการก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนในมุมมองของรัฐไทย) อาจถูกตีความว่าขัดต่อ "ศีลธรรมอันดีของประชาชน"
2) ตั้งองค์กรกำกับควบคุมสื่อที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน แต่มีอำนาจจดทะเบียนและลงโทษองค์กรสื่อและนักข่าว: (ข้อ 3 ใน 9 ข้อที่เว็บสำนักนายกฯสรุป) กำหนดให้มี "สภาวิชาชีพสื่อมวลชน" เพื่อ "กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ"
ความเห็นผม: ถ้าทุกวันนี้เจ้าของสื่อและ บรรณาธิการกำกับเซนเซอร์ข้อมูลและข่าวเท่าทันเจ้าไม่พอ สภาสื่อของรัฐนี่แหละจะมากำกับอีกที กำกับให้อยู่ในกรอบอนุรักษ์นิยมที่มาในนามของ "ศีลธรรมอันดีของประชาชน" และอีกหน่อยสำนักข่าวอย่างประชาไทคงถูกตีตราเป็นองค์กรสื่อเถื่อน อาจปฎิบัติปฎิบัติหน้าที่ไม่ได้ หรือลำบากยิ่งขึ้น เพราะอาจไม่ได้รับการจดทะเบียน และสื่อพลเมืองที่อยาก Facebook Live ตามที่ชุมนุม ฯลฯ อาจยิ่งปฎิบัติการได้ลำบาก ถูกกีดกัน
แถม (ข้อ 7 ใน 9 ข้อที่สรุปโดยรัฐ) ยังระบุต่อว่า "ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจ...กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชนของสภา ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และพิจารณาการขอจดแจ้งและเพิกถอนการจดแจ้งของวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น"
ความเห็นผม: มาตรฐานสากล โดยเฉพาะในหลายประเทศที่มีเสรีภาพสื่ออย่างแท้จริง ไม่มีสภาสื่อที่มีอำนาจจดทะเบียนหรือลงโทษสื่อโดยการเพิกถอนทะเบียนแบบนี้ครับ อย่ามั่ว!
(ข้อ 9 ใน 9 ข้อที่สำนักนายกฯสรุป ซึ่งดูได้ตามรูปที่ผมแปะท้าย) "กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชน โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อยเกี่ยวกับการนำเสนอข่าว และแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ" และมี "มาตรการที่จะดำเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชนหรือองค์กรสื่อมวลชนเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามจริยธรรมสื่อ" (กรรมการ 5 คนเลือกมาจากบรรคสมาคมสื่อฯ อีก 5 เป็น "ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญ..." ยังไม่ชัดว่าใครเลือก อาจเป็นรัฐสภา ส่วนอีก 1 โดยตำแหน่ง จากผู้จัการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยสภาฯใหม่นี้จะได้รับงบอุดหนุนปีละ 25 ล้านบาททางอ้อมจากรัฐ)
ความเห็นผม: โปรดสังเกตคำว่า "จริยธรรม" และ "เพื่อประโยชน์สาธารณะ" และการมีบทลงโทษ เช่นนี้แล้ว ขอถามแบบยกตัวอย่างว่า การรายงานเรื่อง ร.10 เสด็จประทับเยอรมนี เป็นการรายงานข่าวที่ขัดจริยธรรมสื่อหรือไม่? เป็นไปเพื่อประโยชน์ (ในการรับรู้ของ) สาธารณะหรือไม่?
ร่างกฎหมายนี้เสนอโดยกรมประชาสัมพันธ์ครับ แต่สื่อหลักส่วนใหญ่และองค์กรสื่อแทบ (ยังจะไม่ได้) ส่งเสียง ถ้าหมาเฝ้าบ้านไม่เห่าไม่ต่อต้าน ในที่สุดจะกลายเป็นหมายเลี้ยงเซื่องๆของรัฐอนุรักษ์นิยมไทยกึ่งเผด็จการ
ส่วนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรมทร่างกฎหมายกำกับควบคุมสื่อเป็นใคร? จำชื่อพันเอกซึ่งตอนนี้เป็นพลโท ชื่อ สรรญเสริญ แก้วกำเนิด ณ คสช. กันได้ไหมครับ?
ใช่เลยครับ! เยส!
เมื่อวานนี้รัฐกึ่งเผด็จการเปิดศึกพยามความคุมสื่ออย่างเต็มรูปแบบแล้ว วันนี้คุณจะยืนอยู่ตรงไหน หรือยอมให้รัฐค่อยๆกลืนกินสิทธิเสรีภาพของสื่อ ของคุณ ของประชาชนเหมือนงูเหลือมที่ค่อยๆรัดแน่นแล้วกลืน
คุณจะนั่งเฉยๆเหมือนกบในหม้อต้มน้ำที่ค่อยๆเดือดหรือครับ?
#ป #สื่อ #เสรีภาพสื่อ
...
ไม่ขออยู่ในกะลา !