#ประเทศไทย #UPR25 คณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน จะทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทย วันพุธที่ 11 พฤษภาคม pic.twitter.com/55NBBqPkQX— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#ประเทศไทย #UPR25 จะพูดถึงประเด็น การขยายอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในของทหาร https://t.co/Wx8j2LSGjQ pic.twitter.com/tVYQ5m4our— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#ประเทศไทย #UPR25 จะพูดถึงประเด็น การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคมhttps://t.co/Wx8j2LSGjQ pic.twitter.com/4DeQkmXn1W— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#Thailand #UPR25 issues to incl addressing reports of torture & ill-treatment by security & military https://t.co/by732lgbzG— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#ประเทศไทย #UPR25 จะพูดถึงประเด็น การแก้ปัญหารายงานเกี่ยวกับการซ้อมทรมานและการปฎิบัติ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยยธรรม ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#ประเทศไทย #UPR25 จะพูดถึงประเด็น เสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุม รวมทั้งทหาร คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ https://t.co/Wx8j2LSGjQ— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
.....#Thailand #UPR25 issues to incl expansion of internal policing powers for the military https://t.co/Wx8j2LSGjQ— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 10, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า #สิทธิมนุษยชน รัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน, กฏหมายยาเสพติด, นโยบายการค้ามนุษย์— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า #สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม "เราปฎิบัติอย่างแข็งขันเช่นเคย และเราจะไม่หลีกเลี่ยงหน้าที่นี้"— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า การทบทวน #สิทธิมนุษยชน : เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติ & การแตกแยก— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 หลายประเทศเสนอไทย ให้สัตยาบัน พิธีสารอนุสัญญาต่อต้านทรมาน อนุสัญญาปกป้องการบังคับหาย และอนุสัญญาผู้ลี้ภัย pic.twitter.com/WBBUxpTjo3— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25: การทบทวน #สิทธิมนุษยชน ประเทศสมาชิก #UN กังวลเรื่อง #freedomofexpression & เสรีภาพในการชุมนุม #ประเทศไทย— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย การทบทวน #สิทธิมนุษยชน ประเทศสมาชิก#UN แสดงความกังวลเรื่อง การใช้ ความรุนแรงต่อสตรี & เด็ก pic.twitter.com/nParPtqkVh— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #สิทธิมนุษยชน หลายประเทศเรียกร้อง #ประเทศไทย ให้การต้อนรับ ผู้รายงานพิเศษต่อสหประชาชาติ เรื่อง #freedomofexpression & #การทรมาน— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย โต้ว่า การขับไล่ออกจากพื้นที่ ไม่ใช่การปฏิบัติตามอำเภอใจ แต่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล ให้ความช่วยเหลือต่อชาวบ้าน— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย กล่าว ให้ความจริงจังต่อข้อกล่าวหาฆ่านักปกป้องสิทธิที่ดิน และจะดำเนินเรื่องต่อไปในชั้นศาล, พิจารณาเรื่องค่าสินไหมทดแทน— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย หลายประเทศแสดงความกังวลเรื่อง #สิทธิมนุษยชน ในร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ไทย #อเมริกา เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงประชามติรัฐธรรมนูญ,ความกังวลใจ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ,ศาลทหาร pic.twitter.com/UU6XhIPZzb— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
สด #UPR25 หลายประเทศเรียกร้อง #ประเทศไทย หยุดใช้ "การปรับทัศนคติ" ในการควบคุมตัวนักปกป้อง #สิทธิมนุษยชน— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 การทบทวน #สิทธิมนุษยชน #ประเทศไทย โต้ มาตรา 44ถูกบังคับใช้อย่างจำกัด, จำเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
#UPR25 #ประเทศไทย เจ้าหน้าที่ทหาร กล่าว ศาลทหารถูกใช้ช่วงเปลี่ยนผ่านทางอำนาจ และรับประกันทุกสิทธิ— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
สด #UPR25 #สิทธิมนุษยชน หลายประเทศเรียกร้อง #ประเทศไทย แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพี่อรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน #freedomofexpression— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
สด #UPR25 #สิทธิมนุษยชน หลายประเทศเรียกร้อง #ประเทศไทย รับรองว่า พ.ร.บ คอมพิวเตอร์สอดคล้องกับมาตรฐานสากล— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
สด #UPR25 #สิทธิมนุษยชน #ประเทศไทย กล่าว ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีสิทธิอุทธรณ์ & ได้รับพระราชทานอภัยโทษ— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
— UNHumanRightsAsia (@OHCHRAsia) May 11, 2016
ooo
องค์กรสิทธิมนุษยชนรายงานสถานการณ์ต่อที่ประชุมยูเอ็น-จี้เคารพสิทธิทุกด้าน
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
องค์กรสิทธิมนุษยชนจัดเวทีคู่ขนานรบ.ไทยรายงานสถานการณ์ต่อที่ประชุมยูเอ็น-จี้เคารพสิทธิทุกด้าน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 พ.ค. ที่ร้าน Blackbox cafe&bar ผู้สื่อข่าวรายงานว่าองค์กรภาคประชาสังคมไทยและต่างประเทศ อาทิ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮิวแมนไรท์วอซท์ องค์กรนิติศาสตร์สากล ฟอรั่มเอเชีย อซีรั่ม แอคเสส ไทยแลนด์ ฯลฯ ร่วมกันจัดเสวนารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน โดยมีการถ่ายทอดสดการรายงานกระบวนการทบทวนสิทธิมนุษยชน Make Human Rights a Reality for All : สิทธิมนุษยชนไทยในสายตาโลก หรือ Universal Periodic Review (UPR) ครั้งที่ 2 ของประเทศไทยจากนครเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติโดยประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 105 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศได้ตั้งคำถามและมีข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์สิทธิ มนุษยชนในประเทศไทยเช่นเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม กลุ่มการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร เป็นต้น
น.ส.ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า รัฐบาลไทยเคยไปลงนามความร่วมมือในหลายประเด็น แต่ในระดับปฏิบัติมีปัญหา เพราะยังไม่มีกฎหมายภายใน ทำให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ อีกทั้งการต่อต้านการซ้อมทรมาน แม้จะมีการเสนอร่างพ.ร.บ.ซ้อมทรมานและบังคับบุคคลสูญหาย แต่ต้องใช้เวลา และการพัฒนาต้องนำข้อเท็จจริงจากภาคประชาสังคมเข้ามาด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้ต้องขังมีความพยายามยกระดับ แต่ภายหลังรัฐประหารมีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นคำถามที่หลายประเทศมีความกังวลถึงสิทธิผู้ต้องขัง หรือผู้ถูกควบคุมตัวว่าเข้าถึงทนายความหรือญาติได้หรือไม่ ได้ประกันตัวหรือไม่
นายสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์วอซท์ กล่าวว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปกป้องนักสิทธิมนุษยชน เพราะที่ผ่านมามีนักปกป้องสิทธิเสียชีวิตกว่า 30 คน มีการคุกคามทำร้ายร่างกาย บังคับสูญหาย นอกจากนี้คำสัญญาของรัฐบาลไทยที่ให้กับทาง UPR เป็นคำสัญญาว่างเปล่าและไม่สะท้อนให้เห็นถึงข้อกำหนดของสิทธิเสรีภาพที่จำเป็นในการกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยข้อสังเกตของ UPR มองประเทศไทยว่าเป็นรัฐทหาร และระบบยุติธรรมก็ต้องเปลี่ยนจากทหารที่ไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ ขณะเดียวกันการทำประชามติมีลักษณะปิดปาก พร้อมตั้งคำถามว่า กระบวนการทำประชามติทำไมถึงมีข้อจำกัดมาก ไม่แสดงออกได้อย่างเสรี และทำไมคสช. ถึงสามารถระดมสรรพกําลังอยู่ในทุกพื้นที่เพื่อให้มีการรับร่างรัฐธรรมนูญได้
นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่า การรายงานดังกล่าวนั้น เป็นไปเพื่อชี้แจงการดำเนินการของไทยตามสนธิสัญญาความร่วมมือที่ไทยร่วมเป็นภาคี ซึ่งที่ผ่านมาไทยเคยยอมรับข้อเสนอแนะของสหประชาชาติมาแล้วกว่า 130 ข้อ แต่บางข้อก็ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ในส่วนของ กสม. มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังการดำเนินการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยส่วนตัวได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการติดตามข้อเสนอแนะที่จะเกิดขึ้นในการประชุมครั้งล่าสุดนี้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด