https://www.youtube.com/watch?v=043Gq0jDMas&sns=fb
"ปวิน"ขรม.วิถีทูตไทยแบบจูลาสิด"เลียท้อปบู๊ต"จนโลกตลึง
jom voice
Published on May 13, 2016
ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia กรณีท่าทีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับแถลงการณ์ข้อกังวลของรัฐบาลสหรัฐฯในการละเมิดสิทธิพลเมืองไทยว่า เป็นความผิดพลาดทางการทูตอย่างรุนแรง ที่ รมต.ต่างประเทศของไทยท้วงติงการแถลงข่าวของนายเกล็น เดวี่ส์ เอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศ ต่อหน้าสื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ เพราะเท่ากับการสร้างเวทีให้อเมริกาตอกย้ำการกดดันไทยให้หนักแน่นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังให้ข้อมูลที่ผิดพลาดกับสื่อด้วย จะเห็นว่าท่าทีของ รมต.ต่างประเทศของไทย ยังคงใช้วิถีทางการทูตแบบสงครามเย็นที่น่ากระอักกระอ่วนใจอย่างยิ่ง
.....
Oh my God.! "อารยะ..แบบไทย" ใช้กฎหมายทำร้ายประชาชน
https://www.youtube.com/watch?v=-8LpbKUNTDg
Oh my God.! "อารยะ..แบบไทย" ใช้กฎหมายทำร้ายประชาชน
jom voice
Published on May 13, 2016
ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia กรณีข้อเรียกร้องกดดันจากเวทีประชุมรัฐภาคี องค์การสหประชาชาติ รอบที่ 2 เพื่อทบทวนรายงานสถานการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ของ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ หรือ UPR ที่ นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ โดยที่มี 10 กว่าประเทศที่เรียกร้องให้ไทยยกเลิกการใช้ ม.44 และ ม.112 ยกเลิกการเรียกประชาชนเข้าค่ายปรับทัศนคติ และให้ยกเลิกการใช้ศาลทหารเพื่อไต่สวนความผิดของพลเรือนว่า เป็นการรุมสกรัมไทยของนานาชาติ ขณะที่ ตัวแทนของรัฐบาลไทยก็ยังโกหกชาวโลกด้วยการอธิบายที่สวนทางกับความเป็นจริง เพราะนานาชาติที่ตั้งคำถาม ล้วนมีข้อมูลและติดตามปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน การทำร้ายพลเมือง โดยกฎหมาย ม.44 และ ม.112 อย่างละเอียดอยู่แล้ว และเชื่อว่าข้อห่วงใยกังวลของนานาชาติจากเวที UPR ไม่เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นในรัฐบาลไทย เพราะ เผด็จการทหารไทย ยังเชื่อมั่นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอารยะ มากกว่านานาชาติ โดยเฉพาะการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ต้องใช้ ม.112 ไว้ปกป้อง หรือการอ้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งใช้อ้างเพื่อตัวเองอยู่ในอำนาจได้ต่อไปเท่านั้นเอง และหากเป็นเช่นนี้ เชื่อว่า การทำประชามติวันที่ 7 สิงหาคมนี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้น