วันอังคาร, กันยายน 17, 2567

มหาอุทกภัยที่จังหวัดเชียงรายและบริเวณใกล้เคียง ก่อให้เกิดคำถามสำคัญว่า ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติ กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการภัยพิบัติ อะไรคือสาเหตุหลักของความเสียหายร้ายแรงครั้งนี้กันแน่


WAY
12 hours ago
·
มหาอุทกภัยที่จังหวัดเชียงรายและบริเวณใกล้เคียง ก่อให้เกิดคำถามสำคัญว่า ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติ กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการภัยพิบัติ อะไรคือสาเหตุหลักของความเสียหายร้ายแรงครั้งนี้กันแน่
บทความนี้จะพาไปสำรวจลักษณะทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่ แม้ตลอดเวลาที่ผ่านมาจะเกิดไม่บ่อย แต่หลังจากนี้เป็นต้นไป ภาวะโลกร้อน (global warming) จะทำให้ภัยพิบัติต่างๆ มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น
หากไล่เลียงสาเหตุทีละประเด็นอย่างถี่ถ้วน เราจะพบว่า ‘ไต้ฝุ่นยางิ’ คือปัจจัยหลักที่ทำให้มีฝนตกในพื้นที่มากกว่าปกติ แต่ความรุนแรงมาจากปัจจัยรองที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ได้แก่ การขยายตัวของชุมชนเข้าประชิดตีนเขา การตั้งถิ่นฐานริมลำน้ำ การรุกล้ำธารน้ำ การสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อบีบแม่น้ำให้แคบลง และการสร้างสิ่งกีดขวางการไหลของกระแสน้ำ
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าบนภูเขาให้กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ไปจนถึงการผันผวนของระดับน้ำโขงเนื่องจากการทำงานของเขื่อนในต่างแดน
สิ่งที่ควรทราบคือ จังหวัดเชียงรายมีสถานีตรวจวัดปริมาณฝนและสถานีตรวจวัดระดับน้ำน้อยเกินไปเนื่องจากปัญหาระหว่างเขตแดน อีกทั้งยังไม่มีระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (early warning system) ที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากปัญหาทางระเบียบราชการ เมื่อมาตรการรับมือภัยพิบัติที่ล้มเหลวภายในประเทศผนวกกับภัยพิบัติข้ามพรมแดน ผลลัพธ์ที่ตามมาจึงกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่
---
น้ำท่วมเชียงราย: มหันตภัยธรรมชาติ ความประมาทของภาครัฐ และวิธีจัดการภัยพิบัติด้วยวิศวกรรมพายุหมุนเขตร้อน
https://waymagazine.org/chiang-rai-flood-2024/
text: สมาธิ ธรรมศร
#น้ำท่วม #ภัยพิบัติ