วันเสาร์, ตุลาคม 15, 2565

"ฆ่าตัดตอน" เป็นเพียงวาทะกรรม หรือ ข้อเท็จจริง ?


Thanapol Eawsakul
19h

จรัล ดิษฐาอภิชัย 2546 คุยกับ ทักษิณ ชินวัตร 2565
ในการกล่าวสุนทรพจน์เปิดตัวการรณรงค์ สงครามปราบบาเสพติด 14 มกราคม 2546 ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" "เพราะพวกค้ายามันโหดร้ายต่อลูกหลานของเรา เราก็ต้องโหดร้ายกับมันกลับไปบ้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องเลวร้าย มันอาจต้องมีผู้สูญเสียบ้าง..และการที่ผู้ค้ายาต้องตายบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา"
ข้อเท็จจริงคือ นโยบายนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
จรัล (2546) เมื่อครั้งเป็นกรรมการสิทธมนุษยชนแห่งชาติ บอกว่าในสงครามปราบบาเสพติด "มีการฆ่าตัดตอนและวิสามัญฆาตกรรม ประมาณ 900 คน"
ส่วนทักษิณ (2565) ตอบกลับมาว่า "ตัวเลขตายจริงๆจาก [สงครามปราบ] ยาเสพติดอยู่ 80 ราย ซึ่งผมไม่ได้สั่ง แต่ในทางปฏิบัติเวลาตำรวจบุกจับมันก็มีการต่อสู้กัน ตำรวจยิงคนร้าย คนร้ายยิงตำรวจ มันก็เลยมีคนเสียชีวิต นี่เป็นการตายที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีปราบ"
....................................
ดูต้นฉบับ
ความเห็นของอ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ขณะดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธมนุษยชนแห่งชาติในปี 2546 เกี่ยวกับสงครามปราบยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ :
"สถานการณ์ในบ้านเมืองที่ครอบงำประเทศไทยขณะนี้ คือ การดำเนินนโยบายการปราบปรามยาเสพติด อย่างกว้างขวางและรุนแรงทั่วประเทศ หรือที่รัฐบาลถือว่าเป็นสงครามปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ด้วยการค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นปัญหาหนักหน่วงที่สุดของประเทศไทย ยุทธการปราบปรามยาเสพติดดำเนินพร้อมๆ กันทั้งการจับกุมและการกดดันให้ผู้ค้าและคนเสพติดเข้ามอบตัวในขอบเขตทั่วประเทศ ส่งผลให้มีการฆ่าตัดตอนและวิสามัญฆาตกรรม ประมาณ 900 คน ผู้ถูกจับกุมที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ฆ่าตัดตอน 36 คน และมารายงานตัวว่าติดยาประมาณ 200,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546)
https://www.facebook.com/.../a.110964473.../666370335114660/
ทักษิณ ชินวัตร 2565 เมื่อพูดถึงนโยบา่ยปราบยาเสพติดเมื่อ เกือบ 20 ปีที่แล้ว
“เขาสร้างวาทกรรมฆ่าตัดตอนเพราะจะรัฐประหารผม แต่พอตั้งกรรมการสอบกลับไม่พบว่าผมสั่งฆ่าตัดตอนแม้แต่รายเดียว”
.
เรื่องฆ่าตัดตอนนะ มันเกิดขึ้นจากการจะล้มผม ช่วงใกล้จะมีรัฐประหารก็เลยมีวาทกรรมฆ่าตัดตอนขึ้นมา บอกว่าผมสั่งฆ่า 2,000 กว่าคน พอมีการรัฐประหาร ทหารก็รีบจัดการผมเลยเพราะกลัวว่าผมจะกลับมาได้ สุดท้ายพอตั้งกรรมการสอบ มีอ.คณิต ณ นคร ซึ่งตอนนั้นเขาก็ไม่ค่อยชอบผมมานั่งเป็นประธาน พอสอบเสร็จปรากฎว่า ไม่พบว่าผมสั่งฆ่าตัดตอนใครเลยแม้แต่รายเดียว
.
ส่วนตัวเลข 2,000 ราย เขาเอาตัวเลขมารวมๆกัน เอาตัวเลขคนตายผิดธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดรวมกัน แต่ตายจริงๆจากยาเสพติดอยู่ 80 ราย ซึ่งผมไม่ได้สั่ง แต่ในทางปฏิบัติเวลาตำรวจบุกจับมันก็มีการต่อสู้กัน ตำรวจยิงคนร้าย คนร้ายยิงตำรวจ มันก็เลยมีคนเสียชีวิต นี่เป็นการตายที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีปราบ
.https://www.facebook.com/.../a.110964473.../666370335114660/

.....
Puangthong Pawakapan
18h

ที่จริงวันนี้ตั้งใจว่าจะ deactivate ฟบ.สัก 10 วันเพราะมีงานต้องสะสางและต้องเริ่มตรวจข้อสอบ take-home essay ในวันอาทิตย์นี้แล้ว แต่พอเห็นความพยายามฟอกดำให้เป็นขาวของทักษิณแทนที่จะยอมรับว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด ก็คงต้องเขียนอธิบายยาวๆ อีก
ที่จริงสื่อมวลชนควรไปสอบถามนายจรัล ภักดีธนากุล หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบ (คตน.) ที่แข็งขันที่สุด ว่ายอมรับได้ไหมที่ทักษิณกล่าวว่า คตน.ไม่พบว่ามีการฆ่าตัดตอน (ซึ่งก็คือการวิสามัญฆาตกรรม) แม้แต่รายเดียว
จะโต้ว่ารายงานฉบับนี้มีปัญหาอย่างไรก็ว่าไป แต่ไม่ใช่บอกว่ารายงานไม่พบการฆ่าตัดตอนแม้แต่รายเดียว มันเกินปุ้ยมุ้ย


Puangthong Pawakapan
3d

มีสื่อทีวีและหนังสือพิมพ์ติดต่อขอสัมภาษณ์ดิฉันเรื่องสงครามปราบปรามยาเสพติดสมัยทักษิณ กับอีกกลุ่มหนึ่งเชิญเสวนาในคลับเฮ้าส์ เราปฏิเสธไปหมด (นางแบกต้องดีใจ 55555) เพราะมีงานเต็มมือ เบื่อที่จะพูดด้วย ตุลาเป็นเดือนที่พูดมากทุกที พูดไปแล้ว และยังเหลืออีก 2 งาน
แต่สำหรับสื่อมวลชนและคนที่สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ขอฝากให้อ่าน
1. งานของเรา "ปฏิบัติการสงครามของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย" (Militarization of the Anti-Drugs Campaign in Thailand) (ยาว 50+ หน้า) -- จริงๆ เนื้อหาหลักคือพยายามชี้ว่าอะไรคือปัจจัยทางสังคมและการเมืองที่ผลักดันให้ทักษิณประกาศนโยบายนี้ กระนั้นทักษิณก็ต้องรับผิดชอบกับการประกาศนโยบายที่เป็นเสมือนการให้ไฟเขียวกับการใช้ความรุนแรง, เราอธิบายวลี "ฆ่าตัดตอน" ว่ามีความหมายอย่างไร ถูกบิดเบือนอย่างไร
สามารถดาวน์โหลดบทความได้ที่ https://www.academia.edu/.../%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4...
2. รายงานของ Human Rights Watch ซึ่งอ้างคำพูดสำคัญๆ ของทักษิณ, วันมูหะหมัด นอร์มะทา ฯลฯ และบทสัมภาษณ์ครอบครัวของเหยื่อ
https://www.hrw.org/.../reports/thailand0704thwebwcover.pdf
3. บทสรุปสำหรับผู้บริหารจากรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Summary/S09696.pdf
ขอยกตัวอย่างคำพูดที่เป็นเสมือนไฟเขียวให้กับการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างอยู่ในรายงานของ Human Rights Watch
ในการกล่าวสุนทรพจน์เปิดตัวการรณรงค์ 14 มกราคม 2546 ทักษิณกล่าวว่า "ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" "เพราะพวกค้ายามันโหดร้ายต่อลูกหลานของเรา เราก็ต้องโหดร้ายกับมันกลับไปบ้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องเลวร้าย มันอาจต้องมีผู้สูญเสียบ้าง..และการที่ผู้ค้ายาต้องตายบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา"
นาย วันนมูหะหมัด นอร์มะทารัฐมนตรีมหาดไทย พูดถึงผู้ค้ายาว่า "พวกเขาอาจถูกจับกุมคุมขังหรือสูญหายไปอย่างไรร่องรอย ก็ใครจะไปสนล่ะ ก็พวกมันกำลังทำลายชาติของเรา"
หลังจากการทำสงครามผ่านไปได้ราว 1 เดือน มีคนเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ยูเอ็นและกลุ่มสิทธิมนุษยชนเริ่มส่งเสียงวิจารณ์ ทักษิณตอบโต้ว่า "ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ" และพยายามลดการนำเสนอข่าวโดยไม่ให้มีการเผยแพร่สถิติการเสียชีวิตจากยาเสพติด แต่หนังสือพิมพ์ The Guardian ก็รายงานว่าในวันที่ 2 มีนาคม 2546 ตำรวจระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 1,035 คน รวมทั้งผู้ต้องสงสัยว่าค้ายาบ้า 31 คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตเพื่อป้องกันตนเอง
- จังหวัดที่ทำยอดไม่ได้ตามเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ถูกลงโทษด้วยการโยกย้าย
/////////////////////
คำสั่งของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผอ.ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด มีไปผู้ว่าฯทั่วประเทศ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2546 :
1.2 ต้องตระหนักว่า ประชาชนคือเพื่อนเรา ชาติคือพวกเรา ในหลวงคือนายเรา ผู้ค้ายาเสพติดเป็นศัตรูเรา แม้เป็นญาติก็ถือเป็นศัตรู ผู้ค้ายาเสพติดคือผู้ทรยศต่อชาติ ต้องขจัดให้สิ้น ขออย่าได้เมตตาปราณี เพราะทำลายคนไทย ทำลายชาติ และศาสนา
2. เป้าหมายการดำเนินงาน
2.1 กำหนดเป้าหมายการปราบปรามผู้ค้า/ผู้ผลิต ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 ให้ได้ร้อยละ 25 จากจำนวนเป้าหมายที่ ศตส.จ. กำหนดไว้ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งได้รายงานยืนยันให้ ศตส.มท. ทราบแล้วเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2546
2.2 กำหนดแนวทางการลดยอดเป้าหมาย เมื่อ ศตส.จ./อ./ กิ่ง อ. ได้ปราบปรามผู้ค้า/ผู้ผลิต ให้นำเอาผลงานดังกล่าวมาลดยอดเป้าหมายได้ โดยให้ถือปฏิบัติดังนี้
2.2.1 กรณีการปราบปรามผู้ค้า/ผู้ผลิต จะลดยอดใน 3 กรณี ได้แก่ถูกจับกุม วิสามัญ หรือเสียชีวิต (สิ้นอายุขัยด้วยเหตุต่าง ๆ)
#สงครามปราบปรามยาเสพติด #ฆ่าตัดตอน
#เราไม่เอาความรุนแรงโดยรัฐ #ทุกคนต้องได้รับDueProcess
***แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 14/10/2565
จากที่ดิฉันระบุว่า "บทสรุปสำหรับผู้บริหารจากรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" จัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่อ.จรัล ดิษฐาอภิชัยเป็นคณะกรรมการของ กสม. ด้วยนั้น ขอแก้ไขว่ารายงานนี้จัดทำหลังจาก อ.จรัลไม่ได้เป็นกรรมการ กสม.แล้ว แต่ช่วงที่ อ.จรัลเป็นกรรมการ มีรายงาน 2 ฉบับออกมา ที่มีข้อมูลว่าเป็นประชาชนกว่า 200 ราย ได้ร้องเรียนกับ กสม.ในปัญหานี้ คือ รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2546 (หน้า 65-73) และปี 2547 (หน้า10-17)
ขอแปะภาพตารางการร้องเรียนในปี 2547 เพิ่มตรงนี้ค่ะ
ดูรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F06731.pdf
.....
Pipob Udomittipong
17h

“บรรยากาศแห่งความหวาดกลัวอันเป็นผลมาจากการวิสามัญฆาตกรรมและ “การขึ้นบัญชีคํา” ทําให้ผู้ใช้ยาจํานวนมากต้องหลบซ่อนตัว และมีสภาพย่ำแย่ลงไปอีกเนื่องจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจโดยไม่มีการไต่สวนและการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านอื่น ๆ คนจํานวนมากที่ถูกจับกุมกล่าวกับฮิวแมนไรท์วอทช์ว่า เจ้าหน้าที่ตํารวจแอบยัดยาไว้ในกระเป๋าของพวกเขา บังคับให้ต้องสารภาพผิดทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทํา และข่มขู่จะจับกุมพวกเขาหากไม่ยอมเข้ารับการบําบัดการเสพยา เจ้าหน้าที่ตํารวจยังต้องพยายามทํายอดให้ได้ตามโควต้าที่ได้รับมา และบางครั้งต้องกล่าวหาผู้ที่มีประวัติการเสพยาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายา”
มาจากคำนำในรายงานของ HRW ที่แปลเป็นไทย คนไทยต้องการปราบยาเสพติด แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการกำหนดโควตาให้ตร.ต้องทำยอดการจับทุกเดือน ไม่ใช่การขึ้นบัญชีดำ ไม่ใช่การตัดตอน การละเมิดสิทธิตามกม.ของผู้ถูกจับแบบที่ทำกันแพร่หลายในยุคทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกฯ แบบที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ยุคของโรดริเก #ดูเตอร์เต นางแบกต้องแยกแยะด้วย