วันอาทิตย์, ตุลาคม 09, 2565

ความเห็นของ 2 ผู้ลี้ภัย อ.สุนัย อ.จรัล ต่อ เรื่องการปราบยาเสพติด ในสมัยทักษิณ


.....

Puangthong Pawakapan
17h

ความเห็นของอ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ขณะดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธมนุษยชนแห่งชาติในปี 2546 เกี่ยวกับสงครามปราบยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งต่อมาเป็นแกนนำเสื้อแดงคนสำคัญ:
"สถานการณ์ในบ้านเมืองที่ครอบงำประเทศไทยขณะนี้ คือ การดำเนินนโยบายการปราบปรามยาเสพติด อย่างกว้างขวางและรุนแรงทั่วประเทศ หรือที่รัฐบาลถือว่าเป็นสงครามปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ด้วยการค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นปัญหาหนักหน่วงที่สุดของประเทศไทย ยุทธการปราบปรามยาเสพติดดำเนินพร้อมๆ กันทั้งการจับกุมและการกดดันให้ผู้ค้าและคนเสพติดเข้ามอบตัวในขอบเขตทั่วประเทศ ส่งผลให้มีการฆ่าตัดตอนและวิสามัญฆาตกรรม ประมาณ 900 คน ผู้ถูกจับกุมที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ฆ่าตัดตอน 36 คน และมารายงานตัวว่าติดยาประมาณ 200,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546)
นโยบายปราบปรามยาเสพติดดังกล่าว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ที่นักสิทธิมนุษยชนและบุคคลส่วนหนึ่งออกมาวิจารณ์ เป็นปัญหาวิธีการปราบปรามและการตั้งเป้าหมายผู้ถูกจับกุมและผู้มอบตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าในแต่ละจังหวัด อันก่อให้เกิดการเข่นฆ่าราวกับบ้านเมืองไม่มีแปมีขื่อ เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน รวมทั้งการส่งหนังสือเรียกตัวประชาชนผู้ที่ต้องสงสัยว่าพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรืออยู่ในบัญชีดำ มารายงานตัว ถ้าไม่มารายงานตัวจะไม่รับรองความปลอดภัย ทำให้ประชาชนที่บริสุทธิ์เกิดความหวาดกลัว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ต้องหลบซ่อนตัวตามที่ต่างๆ นี่ยังไม่พูดถึงว่า การทำเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ค้ายาเสพติดรีบทำลายหลักฐาน หรือหลบหนีไป
การปราบปรามยาเสพติดที่ดำเนินอยู่บางส่วน เช่น การฆ่า การจับกุมคุมขัง และตรวจค้น หากไม่เป็นไปตามกฎหมายและคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ย่อมจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิที่จะมีความมั่นคงในชีวิต และเกียรติยศ ชื่อเสียง ซึ่งบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 31 33 และ 34"
อ้างจากเว็บ
https://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1049881309.news