วันศุกร์, ตุลาคม 14, 2565

พรรคเพื่อไทย นโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power


1 ครอบครัว 1 Soft Power ทางออกเศรษฐกิจไทยนับจากทศวรรษนี้

พรรคเพื่อไทย


พรรคเพื่อไทย
8h

(12 ต.ค.65) พรรคเพื่อไทย จัดงานเสวนา ‘1 ครอบครัว 1 Soft Power ทางออกเศรษฐกิจไทยนับจากทศวรรษนี้’ ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อแลกเปลี่ยน เสนอแนะ และบอกเล่าประสบการณ์การนำเอาความสามารถด้านต่างๆ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ
แพทองธาร ชินวัตร (Ing Shinawatra) ประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย และหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย กล่าวว่า นโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power ของพรรคเพื่อไทย เป็นนโยบายที่ต้องการเฟ้นหาคนที่มีศักยภาพ มีความสามารถ และพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่มาสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่พูดคุยกับพี่น้องประชาชนหลากหลายอาชีพพบว่า หลายคนมีความฝัน แต่ไม่กล้าฝัน เพราะลำพังแค่หารายได้มาจับจ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัวก็ยากลำบาก
ต้องยอมรับว่าด้วยข้อจำกัดต่างๆของแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน บางครอบครัวมีศักยภาพในการสนับสนุนเด็กและเยาวชนในการพัฒนาความสามารถของตัวเอง แต่หลายครอบครัวตรงกันข้าม ซึ่งการเข้าคอร์สเรียนเพิ่มในด้านต่างๆ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
พรรคเพื่อไทยจึงต้องการเพิ่มโอกาสและเวทีให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้การเรียนรู้และดึงศักยภาพอย่างครบวงจร หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะจัดตั้ง The Thai Creative Content Agency : THACCA หน่วยงานจะเข้าไปดูแลพัฒนาคัดเลือก แบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ Solf power อย่างถูกจุด โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
“แนวคิดนี้จะสำเร็จได้ ต้องมีรัฐบาลที่แข็งแรง ที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการเพื่อความต่อเนื่อง เราจะระดมบุคลากรที่มีความรู้ในด้านต่างๆ มาร่วมกันสร้างแพลตฟอร์ม ระดมคน ระดมทุน มีเครื่องมือเพื่อเป็นทุนในการหาความรู้ให้กับคนไทยทุกคน สิ่งที่เราจะทำ รัฐบาลต้องสนับสนุน ทำงานร่วมกับเอกชนด้วย”
อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานตลาด กทม. กล่าวว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ
1.นโยบายรัฐบาลต้องชัดเจน มีความสม่ำเสมอของนโยบาย มีองค์กรที่ส่งเสริมงานด้านนี้โดยตรง แต่ปัจจุบันสถานะขององค์กรแต่ละแห่งทำงานแตกต่างกันมาก หากดูตัวอย่างในเกาหลีใต้ มีหน่วยงานส่งเสริมงานด้านซอฟพาวเวอร์ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารดำเนินการโดยตรง อินโดนีเซียมีหน่วยงานส่งเสริมสตาร์ทอัพ สถานะเทียบเท่าระดับกระทรวง มีความชัดเจนในการสั่งการ จนทำให้มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นสองราย
2.รัฐบาลต้องส่งเสริมงบประมาณให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ โดยในอดีตสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เคยได้รับงบประมาณต่อปี 300 ล้านบาท ในขณะที่เกาหลีใต้จัดสรรงบประมาณปี 2565 ที่ 62,400 ล้านบาท ให้กับหน่วยงานด้านซอฟต์พาวเวอร์ สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจหลายสิบเท่า คิดเป็นเงิน 2.5 แสนล้านล้านบาท ทั้งยังได้ภาษีกลับคืนมามากกว่างบประมาณที่ลงทุน ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอีก
3 แบ่งภารกิจงานให้ชัดเจน รัฐบาลต้องรู้ว่าสิ่งใดที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญหรือเก่ง และต่างประเทศเข้าใจว่าประเทศไทยเก่งในด้านนั้น และส่งเสริมด้านนั้น
4 ควรมีกองทุนและแพลตฟอร์มรองรับการเริ่มต้นการเริ่มลงทุนใหม่ เช่น สิงคโปร์ หากประชาชนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินทุนตั้งต้นให้ 75% เมื่อทำเงินได้ รัฐบาลจะถอนเงินออก
ณหทัย ทิวไผ่งาม กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ประธานคณะทำงานด้านการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ความฝันและพรสวรรค์ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะต้องจับมือร่วมกันระหว่างพ่อแม่และครู ต้องปลูกฝังบ่มเพาะตั้งแต่ระดับประถมศึกษา หากเด็กและเยาวชนมีพรสวรรค์และถนัดในเรื่องใด ต้องเก็บบันทึก เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ค้นพบและพรสวรรค์นั้น อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ประเทศไทยกำลังค้นหา
จึงเป็นที่มาของนโยบายด้านการศึกษาของพรรคเพื่อไทย ‘มีรายได้ เรียนรู้ได้ ตลอดชีวิต (Lifelong Learning, Lifelong Earning)’ เป็นการสร้างแพลตฟอร์มจับคู่สมรรถนะของคนเข้ากับงานที่ใช่ เพื่อช่วยให้มีงานทำเร็วที่สุด ตรงกับสมรรถนะของตนเองมากที่สุด เพื่อให้รู้ว่าคนๆ นั้นอยู่ตรงไหน อยู่จังหวัดใด นำมาเชื่อมกับความต้องการของประเทศ นำพาประเทศไปสู่เป้าหมายพัฒนาต่อไป
สอดรับกับแนวคิด “ธนาคารหน่วยกิตเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Academic Credit Bank : ACB) ธนาคารเพื่อฝากความรู้ของคนไทยด้วยระบบคราวด์ (Cloud) เก็บเนื้อหาการเรียนและความรู้ในด้านต่างๆ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ควรมีการเปลี่ยนโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นศูนย์บ่มเพาะขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่ 1,500-2,000 โรงเรียนให้เป็นศูนย์บ่มเพาะอาชีพ เป็น co-working space ของผู้ใหญ่และเด็กในการบ่มเพาะความรู้ร่วมกัน
พรรคเพื่อไทยจะฟื้นโครงการ ‘คนพันธุ์อา (ชีวะ) คืนค่านิยมใหม่ว่าผู้ที่เรียนอาชีวะคือผู้ที่สร้างรายได้จริง พรรคเพื่อไทยจะเปลี่ยนแปลงศูนย์บ่มเพาะ มาเป็น ‘ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ’ โดยจะมีการสอนการเขียนแผนธุรกิจ สร้างธุรกิจ สร้างรายได้ใหม่ๆ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถาบันอาชีวะทั่วประเทศ 800 แห่ง แต่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพียง 420 แห่ง ส่วนของเอกชน 400 แห่ง จะมีการเข้าไปดูแลให้มีศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการเช่นกัน
ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร เชพและเจ้าของร้านอาหาร Ledu กล่าวว่า ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมาการมีอาชีพเป็นเชฟ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องต่อสู้กับค่านิยม ความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนในครอบครัว ต้องเงินทุนที่เพียงพอ หากคนไทยสามารถผ่านเรื่องเหล่านี้ได้ จะสามารถสร้างคนที่มีความสามารถด้านซอฟพาวเวอร์ในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก
สิ่งที่สำคัญคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการเข้าถึงความฝัน ซึ่งรัฐบาลควรสนับสนุน และควรมีแพลตฟอร์มหรือรางวัลระดับโลกในการส่งเสริมให้ร้านอาหารเติบโตได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องหมายการันตีในการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวในไทย สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
พร้อมเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐขจัดอุปสรรคในการขออนุญาตเปิดธุรกิจร้านอาหาร แบบ All in one ครอบคลุมการขออนุญาตจำหน่ายสุรา ใบอนุญาตร้านอาหาร การก่อสร้างร้านอาหาร ใบประกอบกิจการร้านอาหาร เป็นต้น