วันอังคาร, มกราคม 18, 2565

สำหรับคนที่สนใจว่า เหตุใต Virginia Giuffre จึงฟ้องคดีทางเพศ “ย้อนหลัง” กับปริ๊นซ์แอนดรูว แม้เหตุแห่งความผิดเกิดขึ้นกว่า 20 ปีที่แล้ว ไม่มีอายุความหรือ?

Pipob Udomittipong
สำหรับคนที่สนใจว่า เหตุใต Virginia Giuffre จึงฟ้องคดีทางเพศ “ย้อนหลัง” แม้เหตุแห่งความผิดเกิดขึ้นกว่า 20 ปีที่แล้ว ไม่มีอายุความหรือ? เป็นเพราะรัฐนิวยอร์กออกกม.ใหม่ Child Victims Act เมื่อปี 2019 เพื่อขยาย “อายุความ” สำหรับผู้เสียหายทางเพศที่เป็นผู้เยาว์ ทำให้สามารถฟ้องอาญาได้ก่อนผู้เสียหายอายุครบ 28 ปี และฟ้องแพ่งได้ก่อนอายุ 55 ปี Virginia Giuffre ผู้เสียหายคดีนี้อายุปัจจุบัน 38 ปี จึงฟ้องได้แต่คดีแพ่ง และไม่มีอายุความ แม้ว่าความผิดจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 21 ปีที่แล้ว ตอนเธออายุ 17 ปี และเหตุเกิดที่นิวยอร์ก
เป็นกม.ที่ประกาศใช้ เพื่อช่วยเหลือเหยื่อทางเพศให้ฟ้องคดีย้อนหลังได้ รวมทั้งกรณี Jeffrey Epstein แต่การฟ้องคดีย้อนหลัง (look-back window) เหล่านี้ต้องทำภายใน 1 ปี หลังกม.มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนส.ค. 2019 แต่ต่อมาผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กขยายเวลาในการฟ้องคดีออกไปอีกหนึ่งปี Virginia Giuffre ฟ้องคดีต่อเจ้าชายแอนดรูวเพียง 5 วันก่อนจะหมดเวลาการฟ้องย้อนหลังเมื่อเดือนส.ค.2021 https://edition.cnn.com/.../new-york-child.../index.html

Pipob Udomittipong
January 15 at 9:39 PM ·
ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นการตัดหางปล่อยวัดแบบ “decisively and ruthlessly” “โหดสัส” พระราชโองการแค่ 2 ประโยคสั้น ๆ ริบยศเจ้า+ทหาร และไม่ให้การช่วยเหลือในคดีกับปริ๊นซ์แอนดรูว ที่น่าสนใจคือเป็นคำสั่งที่ออกมา โดยไม่รอให้ศาลตัดสินก่อนด้วยซ้ำ ในฐานะประธาน “บริษัท” “The Firm” ควีนตัดสินใจอย่างเฉียบขาด ปลดกรรมการบริษัท ตัดเนื้อร้ายออกไป รูปของพระราชวงศ์ในพิธีสำคัญบนระเบียง จะมีปริ๊นซ์แอนดรูว รัชทายาทลำดับที่ 9 ยืนโดดเด่นเป็นสง่าทุกรูป เพราะเขาเป็น “ลูกคนโปรด”
นับเป็นสมาชิกราชวงศ์คนที่ห้าในรอบ 26 ปี ที่ถูกสั่งห้ามใช้ HRH ในรอบ 26 ปี เริ่มจากปริ๊นเซสไดอานา ตามมาด้วย Duchess of York (ก็อดีตภรรยาของปริ๊นซ์แอนดรูวนั่นแหละ) และคู่สามีภรรยาปริ๊นซ์แฮร์รี+เมกกันที่ลาออกจากบริษัทและย้ายไปอยู่อเมริกาแล้ว ต้องเห็นใจควีน สามีเพิ่งตาย ปีที่แล้วเพิ่งเกิด scandal หลานในไส้และหลานสะใภ้ร่วมกันกล่าวหา ราชวงศ์อังกฤษ “เหยียดเชื้อชาติ” มีการมาถามว่า “ลูกออกเธอมาจะมีสีผิวอะไรน่ะ”
แล้วปีนี้ยังเป็นปีที่แม่ควรได้ฉลองครองราชย์ 70 ปี และยังครบรอบ 40 ปีสงครามฟอล์กแลนด์ที่สร้างชื่อเสียงให้ปริ๊นซ์แอนดรูวในฐานะทหารอากาศที่รบเพื่อชาติอีก ก่อนหน้านี้มีทหารผ่านศึกหลายนายลงชื่อถวายฎีกาของให้ควีนปลดเขาจากตำแหน่งทหารมาแล้ว ล่าสุดเทศบาลเมืองยอร์ก ยังเสนอให้ยกเลิกตำแหน่ง Duke of York ไปด้วย (ตำแหน่งนี้ไม่ได้ถูกริบคืน) เพราะทำให้ภาพลักษณ์ของเมืองเสียหาย เป็นความเน่าเหม็นที่ทุกคนไม่ต้องการข้องเกี่ยว เพราะคดีทางเพศต่อผู้เยาว์เช่นนี้ มีแต่เสียกับเสีย ไม่ว่าจะเลือกทางไหน “Damn if you do damn if you don't”
ปริ๊นซ์แอนดรูวอาจเลือก “ยิงตายจ่ายจบ” ยอมจ่ายเงินเพื่อประนอมคดี ก่อนการพิจารณาจะเริ่มขึ้นช่วงปลายปี แต่ทนายฝ่ายหญิงขู่ไว้แล้วว่าแค่เงินไม่พอ ต้องมี statement บางอย่างที่ยอมความเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เพื่อความเป็นธรรมกับเหยื่อทางเพศด้วย หรือเขาอาจเลือกสู้คดีต่อไป ก็ต้องเข้าคอกรับฟังคำถามซักค้าน และสื่อจะได้รายงานกันอย่างมันปากว่า เจ้าชายองค์นี้ “เหงื่อไม่ออก” เพราะกินยา จริงอย่างที่ให้สัมภาษณ์กับ BBC เมื่อปี 2019 มั้ย หรือในวันถูกกล่าวว่ามีเซ็กซ์กับเด็ก เขาไปซื้อพิซซ่าฉลองวันเกิดลูกสาวที่ร้าน Pizza Express จริงหรือ รวมทั้งราละเอียดบนเตียงและใต้สะดืออื่น ๆ ลองคิดดูสิว่าถ้าเขายังเป็นสมาชิกในราชวงศ์อยู่ ควีนจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน? ควีนทำถูกแล้ว
และถ้าเขาเลือกสู้คดี จะเอาเงินจากไหนมาจ่ายค่าทนาย Andrew Brettler “ทนายฮอลลีวูด” ที่มักว่าความให้ดารานักร้อง และถ้าแพ้คดี ยังต้องจ่ายค่าทนายให้ผู้เสียหายและค่าสินไหมอีก ทางเลือกอีกอย่างคือ ทำมึน ไม่รับคำสั่งศาลสหรัฐฯ ไม่เข้าร่วมใด ๆ ระหว่างการพิจารณา ซึ่งศาลสหรัฐฯ ย่อมสามารถติดสินจากการฟังความข้างเดียว เพื่อลงโทษเขา การบังคับคดีอาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ความเสียหายต่อชื่อเสียง การไม่สามารถเดินทางไปในดินแดนของสหรัฐฯ อีกต่อไป มันจะคุ้มหรือ?
เนี่ย ถ้าไม่มีการใช้กม. #มาตรา112 เราจึงจะได้เห็นความจริงเช่นนี้ ราชวงศ์จะต้องตกเป็นเป้าการวิจารณ์ เหมืององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ ทำให้เราเห็นการปรับตัว การปฏิรูปที่ควรจะเป็น ในครั้งนี้ ควีนเลือกที่จะรักษา “สถาบัน” เอาไว้ โดยการตัดเนื้อร้ายออกไป ไม่ใช่ไปปกป้องเนื้อร้ายเอาไว้ และไปจับคนวิจารณ์เข้าคุก อันนั้นจะยิ่งทำให้ “สถาบัน” เสื่อมหนักมากขึ้น #มาตรา112 จึงไม่ได้เป็นกม.ที่คุ้มครอง แต่จะยิ่งทำลาย “สถาบัน”