วันเสาร์, มกราคม 01, 2565

ความพ่ายแพ้ทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองไทย (ที่เห็นๆกัน) คือ ชัยชนะของประชาชนที่ยั่งยืนและถาวร ต่อให้เปลี่ยนตัวนายกฯ ต่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป


ธัชพงศ์ แกดำ
December 29 at 9:06 PM ·

ความพ่ายแพ้ทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองไทย คือ ชัยชนะของประชาชนที่ยั่งยืนและถาวร
ต่อให้เปลี่ยนตัวนายกฯก็ไม่มีวันเหมือนเดิม
ต่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่มีวันเหมือนเดิม
ต่อให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป
มีเพียง “กษัตริย์ไทยและชนชั้นปกครองไทยต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงแล้วเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติเท่านั้น”
แต่ตราบใดที่ชนชั้นปกครองไทยยังเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ไม่ยอมปล่อยให้เวลาเดินหน้าต่อไปและไม่เรียนรู้ที่จะปรับแก้ไขให้เหมาะสม หรือ ดีขึ้นอย่างสันติ
ปีหน้า ปี พ.ศ. 2565 การเคลื่อนไหวที่ไปไกลกว่า 3 ข้อเรียกร้องและทุกประเด็นปัญหาในสังคมไทยจะระเบิดออกเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่เข้มข้นขึ้น รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่จะเพิ่มขยายทุกมิติในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
ตั้งแต่ปี 2563-2564-ปัจจุบัน ประเทศไทยก็ไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมมา 2 ปีแล้ว และจะเป็นแบบนี้อย่างมีพลวัตรต่อไปเรื่อยๆ
“นี่ไม่ใช่ความขัดแย้งแต่นี่คือการเปลี่ยนแปลง”
หากพิจารณาให้ดี “การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือสิ่งที่ชนชั้นปกครองไทยหวาดกลัวมากที่สุด”
แต่คนพวกนี้เลี่ยงที่จะพูดถึง หรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
โดยเบี่ยงประเด็นไปให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงอำนาจมากกว่าทางวัฒนธรรม เช่น การนำพาเราไปโฟกัสที่การเปลี่ยนตัวประยุทธ์ (แต่ความจริงต่อให้เปลี่ยนตัวประยุทธ์ เครือข่ายอำนาจนิยมของคนพวกนี้ก็ยังอยู่) เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดว่า แม้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเองก็เห็นด้วยต่อการไล่ประยุทธ์แต่ไม่ยอมแตะต้องประเด็นการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรม หรือ สถาบันกษัตริย์
และการใช้จำนวนปริมาณผู้ชุมนุมในอดีตมากดทับการเคลื่อนไหวปัจจุบัน ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของฝ่ายอำนาจนิยม
ที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรม
คือความพยามกลบประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งในความจริงแล้วการโต้ตอบกลับของประชาชนไม่ได้มีแค่การแสดงตัวออกมาชุมนุมบนท้องถนน หรือ ในโซเชี่ยล
แต่การโต้ตอบกลับที่ทรงพลังมากที่สุดและน่ากลัวมากที่สุดของประชาชนก็คือการโต้ตอบกลับทางวัฒนธรรม
นี่ต่างหากที่เป็นการตบหน้าชนชั้นปกครองไทยอย่างรุนแรงและแนบเนียนที่สุด ไม่ใช่แค่การออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวในจำนวนปริมาณที่เยอะอีกต่อไป แต่เป็นการปฏิบัติที่ทำได้ทุกที่ ทุกเวลาและทำได้เยอะอย่างมีนัยยะ ถือเป็นการลงโทษทางสังคมต่อชนชั้นปกครองไทยที่รุนแรง
การโต้ตอบกลับในมิติต่างๆเหล่านี้สะท้อนออกมาผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริงอาทิเช่น
การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์
การปลดรูปที่มีทุกบ้านลง
การไม่ให้ความสำคัญกับงานพิธีวันสำคัญของราชวงศ์
การไม่เข้ารับพระราชทานปริญญา
การตั้งคำถามต่อขบวนเสด็จและบุคคลสำคัญของรัฐ
การปฏิเสธระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การปฏิเสธรากเหง้าทางประเพณีและวัฒนธรรมที่ไร้ประโยชน์
การปฏิเสธอำนาจนิยมทุกสถาบันหลักในสังคมไทย
การต่อต้านระบบผูกขาดอำนาจนิยมและการทวงคืนพื้นที่ของคนรุ่นใหม่ในทุกหน่วยงานรัฐ/เอกชน/สังคม
การแลกเปลี่ยน แสดงออก หรือ การวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมากับผู้อาวุโสกว่าโดยไร้กำแพงแห่งวัยวุฒิและคุณวุฒิ
การลงโทษทางสังคมต่อบุคคล ครอบครัวเครือญาติและเครือข่ายของกลุ่มคนที่สนับสนุนเผด็จการอำนาจนิยม
การต่อต้านอำนาจนิยมในการศึกษาไทย ฯลฯ
ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ยังไม่รวมการปลดแอกทั้งทางความคิด ศิลปะ สังคม วัฒนธรรม ชุมชนและมิติประเด็นอื่นๆอีกมากมายในสังคมไทยที่ถูกกดทับสะสมมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษและต่อให้ ปี 2565 จะมีการเลือกตั้งก็ไม่มีวันจบ
นี่คือความพ่ายแพ้ทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองไทยที่ไม่มีวันกู้คืนได้อีกเว้นแต่จะปรับตัวแก้ไขให้เหมาะสมอย่างสันติเท่านั้น
ปี 2563-2564 การชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นเพียงแค่การส่งสัญญาณเตือนไปถึงชนชั้นปกครองไทยเท่านั้น
แต่ ปี 2565 คือ การลงมือปฏิบัติกระทำการปฏิวิติสังคมไทย
.....