Feed
Yesterday at 7:00 AM ·
อาจารย์สถาปัตย์ จุฬาฯ รีวิวคลองช่องนนทรี แลนด์มาร์กใหม่ ใจกลาง กทม.
.
เป็นที่ฮือฮากับมูลค่าการจัดสร้างโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี ที่ใช้งบประมาณถึง 980 ล้านบาท เพื่อปรับภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี และแก้ปัญหาน้ำส่งกลิ่นเน่าเหม็น
.
มูลค่าการจัดสร้างโครงการเป็นที่พูดถึงมาก เมื่อเทียบกับตัวโครงสร้าง และ วัสดุต่างๆ
.
ล่าสุด ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปชมและโพสเฟสบุ๊ก รีวิวคลองช่องนนทรี ว่า
.
"นี่ราวกันตกทำด้วยเหล็กข้ออ้อยทาสีเนี่ยนะ เดี๋ยวก็ขึ้นสนิมมั้ย แล้วทำเป็นเส้นๆ แนวนอนนี่เด็กไม่ปีนได้เหรอ ตกลงไปในน้ำก็ตายนะ แถมยังเตี้ยไปมั้ยอะ แล้วเสาคือเหล็กกลวงน้ำมันไม่เข้าเหรอ นี่เงินเกือบพันล้านนะ" น้องผู้ชายอายุ 20 กว่า สามคนเดินดูทางยกระดับยึกยือเชื่อมสวนคลองช่องนนทรี ตรวจดูดีเทลกันอย่างกับเจ้าหน้าที่ตรวจรับงาน (ประทับใจความเห็นของน้องๆ มาก จริงๆ มีรูปน้องๆ ติดอยู่ในรูปที่ถ่ายด้วย แต่ไม่กล้าลง สุดมากครับ).
เมื่อวานไปแถวนั้นเลยเดินแวะไปดู สวน #คลองช่องนนทรี อันเป็น #จุดเช็คอินใหม่ ใจกลางกรุงฯ ตามที่ กทม. โฆษณาไว้ ทุกอย่างก็เป็นไปตามที่คนวิจารณ์กัน เช่นน้ำเหม็นทะลุหน้ากาก วัสดุเชยกว่าสวนนงนุชรุ่นแรก (ชาวแลนด์ว่ามา) รายละเอียดการก่อสร้างหยาบและบางจุดถึงขั้นอันตราย การตกแต่งเหมือนงานอีเว้นท์ เอามาวางตรงเกาะกลางถนนนี่ควันรถเยอะมาก (เอาจริงห้านาทีคือแสบตา) เพราะรถติดสนิททั้งสองฝั่ง ถ้าจะกันควันฝุ่นคงต้องใช้ทิวต้นไม้กว้างสักสิบเมตรกว่าสองข้าง (อ้าวกว้างกว่าถนนไปแล้ว) มองไปไกลๆ ส่วนต้นไม้เดิมที่ยังไม่ได้มีการทำอะไรดูจะกันฝุ่นได้มากกว่า แต่ที่ไม่จริง คือมันข้ามไปง่ายมาค่ะท่านผู้ชม ไม่ต้องกลัวรถชน เพราะรถติดมากตลอดเวลา ฮ่าๆๆ ส่วนเรื่องความเหมาะสมของโครงการมีคนเขียนไปเยอะแล้ว ไปหาอ่านกันได้ (สงสัยแค่ว่าไอ้ 980 ล้านนี่เป็นค่าอะไรบ้าง เพราะเท่าที่ดูด้วยตา ไม่น่าถึง เงินนี่ทำตึก 2-30,000 ตรม แบบมี interior ได้เลยนะ อยากเห็น BOQ อะ)
.
เรื่องอื่นๆ ที่ยังไม่มีคนพูดคือความใช้หญ้าเทียม ที่คือพลาสติก มันกู้โลกตรงไหนกัน ยังไม่นับว่าต้นไม้เล็กๆ ที่อยู่ได้ไม่กี่วันคงตายพร้อมรั้วต้นไม้พลาสติก (ดูรูปจ้า) อีกอย่างที่งงคือไม่มีการทำงานประสานกันในเรื่องงานวิศวกรรมโครงสร้างกับงานสถาปัตย์เลยเหรอ เพราะทางเดินลอยฟ้าขดไปมานั้นไม่ได้เข้าอะไรกับโครงสร้างเลย เหมือนออกแบบกันคนละโครงการ มีโครงสร้างประหลาดๆ ลอยยื่นออกน่ากลัวอยู่หลายจุด
.
เห็นมีคนออกมาแก้ต่างกันว่าดีกว่าไม่มี มันยังไม่เสร็จ บลาๆ จริงๆ งานออกแบบมันมีผิดมีพลาดได้ ยิ่งถ้ามองมันเป็น phase แรก เป็น prototyping ตาม design thinking ก็ยิ่งเป็นไปได้เช่นกัน เพียงแต่ส่งสัยว่าประเด็นในการทำ prototype นี้มันคืออะไร เพราะยังเห็นไม่ชัด และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้ใช้มันทำความเข้าใจและเรียนรู้อะไรไหม เพราะบางทีเมื่อเราทำ prototype แล้วมันใช้การไม่ได้ เราก็ไม่ทำต่อก็ได้เพราะได้เรียนรู้แล้วว่ามันไม่ดี กลัวแต่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็จะทำต่อ เพราะมีงบประมาณมหาศาลรออยู่ อันนั้นก็คงเป็นอีกเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป