Atukkit Sawangsuk
12h ·
(มีมิตรสหายก๊อปมาให้อีกที)
........................................................
สรุปสั้นๆ สำหรับคนอ่านดราม่า #ริมน้ำ แล้วไม่เข้าใจ เดี๋ยวย่อให้ฟัง
1. ตามมติของ ศคบ มีการอนุมัติให้ Pfizer ฉีดกระตุ้นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเป็นเข็มที่ 3
2. มีการเปิดเผยข้อมูลจากอาจารย์ #ริมน้ำ ว่ามีการทำวิจัยโดยใช้ Pf เทียบกับ Az เป็นเข็มกระตุ้น โดนตนเองเสียสละเป็นกลุ่ม Pf
3. เริ่มมีการตั้งข้อสงสัยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มคนใกล้ชิดหรือไม่ เพราะการประกาศรับสมัครในกลุ่มเล็กๆ และพอเปิดเผยข้อมูลออกมา กลุ่ม Pf ได้รับการจองเต็มแล้ว
4. มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมทางการแพทย์ เพราะทราบอยู่แล้วว่า mRNA vaccine ดีกว่า viral vecter
สมมติง่ายๆคือ สมมติว่าทำการทดลองเทียบยาลดความดัน Enalapril เทียบกับ Furosemide ซึ่งรู้แล้วว่า furosemide ลดความดันไม่ได้ แถม side effect กระจุยกระจาย อันนี้คือว่างานวิจัยนอกจากไม่สร้างประโยชน์ ยังทำให้โทษและทำให้ผู้ร่วมวิจัยเสียโอกาส อันนี้ไม่ผ่านงานวิจัยแน่นอน
5. อีกคำถามนึงคือ ทำไมถึงมีการจองตัวเอง และเลือกกลุ่มได้ ทั้งๆที่งานวิจัยในปัจจุบัน จะยอมรับการ blind ผู้ทำงานวิจัย และผู้เข้าร่วมวิจัยถ้าทำได้ จึงมีคำถามตามมาว่า จุดประสงค์จริงๆคือจะทำวิจัยจริงๆ หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มกันแน่ (เพราะรู้กันแค่วงแคบ และ Pf เต็มแล้ว)
6 มีการทะยอยฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าแล้ว แต่เป็นตัว “Az”
(ทั้งๆที่ตอนแรกแจ้งว่าจะใช้งานวิจัยนี้ให้การตีพิมพ์ว่า ยาไหนกระตุ้นได้ดีกว่า)
สุดท้ายนี้มั่นใจว่าสถาบัน #ริมน้ำ เป็นสถาบันที่สอนเรื่องจริยธรรมทางการแพทย์เข้มข้นมากๆ แต่พอเห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น กลับไม่มีตัวอย่างดีๆให้แพทย์รุ่นหลังได้เห็นเป็นตัวอย่างเลย
Action speaks louder than words
.....
Atukkit Sawangsuk
12h ·
ที่มาของดรามา #ริมน้ำ มาจากโพสต์นี้
รศ.พญ.วนัทปรียา พงษ์สามารถ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(เข้าไปดูหน้าวอลล์คุณหมอสวยเสมอ แต่ในโพสต์นี้ทัวร์ลงเพียบเลย)
................................
ตัดสินใจยากจังเลยค่ะ เข้าโครงการวิจัยฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นไฟเซอร์
(นี่เป็นโครงการ 3 โครงการ 2 ได้ฉีดซิโนแวค)
................................
คนที่แชร์ไปสนั่นหวั่นไหวไม่ใช่ใครหรอก
พวกหมอที่เป็นด่านหน้านี่แหละ (ลูกศิษย์ศิริราชเยอะเลย)
ตัดสินใจยากตรงไหนวะ ให้กรูเป็นหนูลองไฟเซอร์แทนก็ได้
ทำไมกลายเป็นอาจารย์ได้ก่อน แล้วมาพูดทำนองว่าเสียสละ
แต่ทีหมอพยาบาลด่านหน้าตอนนี้จะให้ฉีดเข็ม 3 เป็น Astra
...
Wanatpreeya Phongsamart
Yesterday at 10:44 AM ·
ยามไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ตัดสินใจยากจังเลยค่ะ
เพราะเข้าโครงการวิจัยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นโครงการ 3 เป็น arm mRNA ต้องยอมรับความเสี่ยงรอไม่ทราบวัคซีนจะมาเมื่อไร แต่ตัดสินใจแล้วค่ะ (โครงการ 2 ได้ arm Sinovac ค่ะ)
เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าในขณะนี้ ทำให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 เข็มกระตุ้น (Booster dose) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็ม ด้วย Astra ซึ่งสามารถลงชื่อฉีดได้เลย มีข้อมูลสนับสนุนอยู่เล็กน้อยที่เห็นจาก post ของ ศ นพ ธีรวัฒน์ว่ากระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นและทนทานต่อสายพันธุ์เดลต้าได้ (แต่ไม่ทราบจำนวนอาสาสมัครกี่คนนะคะ)  ฉีดก่อนก็ภูมิขึ้นก่อนค่ะ และที่ศิริราชจะได้รับวัคซีนในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ หรือจะฉีดวัคซีน mRNA ของ Pfizer  ซึ่งเป็นตัวที่มีข้อมูลจากประเทศอังกฤษและอิสราเอลว่ามีประสิทธิผลดีต่อสายพันธุ์เดลต้า แต่ไม่มีข้อมูลการฉีด Pfizer เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยได้รับ Sinovac มาก่อน และยังไม่รู้ว่าวัคซีนจะมาเมื่อไหร่ค่ะ
การศึกษาในประเทศตุรกีใน บุคลากรทางการแพทย์ 1053 รายที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบสองเข็ม  พบว่าเมื่อผ่านไปสามเดือน 23% มีระดับ Neutralizing antibody ลดลงต่ำกว่าในระดับที่คาดว่าจะป้องกันโรคได้ และในเร็วเร็วนี้ประเทศตุรกีได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็ม 3 กระตุ้น ซึ่งอาจเลือกเป็น Sinovac หรือ Pfizer ก็ได้ ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบสองเข็มมาเกินสามเดือน
ในขณะที่เราต้องการข้อมูลเชิงประจักษ์ทางวิชาการเพิ่มเติมในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีน Sinovac ครบสองเข็ม วันนี้วนัทปรียาตัดสินใจเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 3 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนของ Pfizer เต็มขนาด (30 ไม่ครกรัมหรือ 0.3 ml) 1 เข็ม  (แต่ยังต้องรอวัคซีนนะคะ ) เทียบกับชนิดอื่น ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ในการให้คำแนะนำกับประชาชนทั่วไป ที่จะได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในอนาคต
ขณะนี้รายรอบตัวมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวนมาก  เฉียดไปมา  และวัคซีนที่เราฉีดไปไม่น่าจะเอาอยู่ ในขณะที่วนัทปรียาตัดสินใจเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย ของศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช (Siriraj Institute of Clincal Research) เป็นโครงการที่ 3 นี้ ต้องยกการ์ด สูงสุดดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งในเดือนกรกฎาคมนี้พบผู้ป่วยเด็กเป็นสัดส่วนสูงขึ้นมากถึงกว่า 12% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดแล้วค่ะ และสวดมนต์ภาวนาขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย วัคซีน Pfizer เข้ามาไวๆ แคล้วคลาดจนถึงวันที่ได้เข้าโครงการวิจัยนะคะ และขอให้ทุกคนปลอดภัยเช่นกันนะคะ
....
Poetry of Bitch
12h ·
สรุปแฮชแท็กร้อน #ริมน้ำ
—————
โพสต์จุดดราม่าของอาจารย์แพทย์
:
1- ดราม่านี้เริ่มจากอาจารย์แพทย์ของสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมน้ำ โพสต์เล่าในเฟซบุ๊กว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติให้ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิให้บุคลากรด่านหน้าที่ฉีดซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม
2- ศูนย์วิจัยของสถาบันที่เธอทำงานอยู่เลยทำการวิจัยว่า ระหว่างการฉีดกระตุ้นด้วยไฟเซอร์กับแอสตร้าเซเนก้า อย่างไหนให้ผลดีกว่า โดยเธอเองก็เป็นหนึ่งในอาสาสมัครของโครงการวิจัยนี้
3- เธอต้องเลือกว่าจะอยู่กลุ่มฉีดไฟเซอร์หรือแอสตร้าฯ ถ้าอยู่กลุ่มแอสตร้าฯ ก็จะได้ฉีดในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ และมีข้อมูลสนับสนุนอยู่แล้วว่าแอสตร้าฯ กระตุ้นภูมิได้และทนทานต่อสายพันธุ์เดลต้า
4- แต่ถ้าอยู่กลุ่มไฟเซอร์ก็ต้องแบกรับความเสี่ยง เพราะยังไม่มีเคยมีการฉีดไฟเซอร์กระตุ้นซิโนแวคมาก่อน และยังไม่รู้ว่าวัคซีนจะมาเมื่อไหร่ จึงเป็นการตัดสินใจที่ยาก
5- แต่ในที่สุดเธอก็ยอมรับความเสี่ยง ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครทดลองฉีด "ไฟเซอร์เต็มโดส 1 เข็ม" พร้อมภาวนาขอให้ไฟเซอร์เข้ามาไว ๆ ให้เธอคลาดแคล้วจนถึงวันได้ร่วมโครงการ
—————
ทัวร์ลง ตั้งคำถามเสียสละจริงหรือ?
:
6- โพสต์นี้ของอาจารย์แพทย์มีคนเข้ามาชื่นชมและขอบคุณในความเสียสละ แต่ในขณะเดียวกันก็มีทัวร์ลงด้วย เพราะหลายคนมองว่านี่ไม่ใช่การเสียสละ คนอยากฉีดไฟเซอร์กันทั้งประเทศ แต่กลับอ้างโครงการวิจัยเอาไฟเซอร์มาให้อาจารย์แพทย์ฉีด แทนที่จะให้บุคลากรด่านหน้าจริง ๆ ได้ฉีด
7- คนยังมองว่าโครงการวิจัยนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร เพราะทดลองในสิ่งที่คนทั่วโลกรู้กันอยู่แล้วว่า mRNA ย่อมดีกว่าไวรัลเวกเตอร์ แล้วจะทดลองให้เสียทรัพยากรทำไม
8- ซึ่งอาจารย์แพทย์ท่านนี้ก็ชี้แจงในคอมเมนต์ว่า โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องของศูนย์วิจัย ทำการศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเธอเป็นอาสาสมัครมาตั้งแต่โครงการแรก
9- มีคนมายืนยันว่าอาจารย์แพทย์ท่านนี้เป็นคุณหมอเด็กเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ทำงานเป็นด่านหน้ารักษาเด็ก ๆ ที่ติดโควิด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน
—————
คำถามมากมายถึงโครงการวิจัย
:
10- ส่วนในโลกออนไลน์โดยเฉพาะทวิตเตอร์ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการวิจัยนี้อย่างดุเดือด และตั้งคำถามมากมาย เช่น
- โครงการนี้เอาไฟเซอร์ที่ไหนมาทดลอง นำเข้ามาเองหรือแบ่งมาจาก 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐฯ จะบริจาคให้ไทย
- หากใช้วัคซีนบริจาคถือว่าผิดมติ ศบค.หรือไม่ เพราะ ศบค.มีมติให้เอามาฉีดกระตุ้นภูมิให้บุคลาการด่านหน้า ไม่ได้ให้เอามาทดลอง และผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหรือไม่
- โครงการนี้รับสมัครอาสาสมัครที่ไหนอย่างไร ทำไมคนอื่นไม่รู้ และมีคนบอกว่าไปประกาศรับอาสาสมัครในกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น แต่พอมีคนไปสมัครก็ปรากฏว่ากลุ่มไฟเซอร์เต็มแล้ว เหลือแต่กลุ่มแอสตร้าฯ
- ในประกาศรับอาสาสมัครพบว่ามีกลุ่มทดลองทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 ฉีดซิโนฟาร์มเป็นเข็มสาม
กลุ่ม 2 ฉีดแอสตร้าฯ
กลุ่ม 3 ฉีดไฟเซอร์เต็มโดส
กลุ่ม 4 ฉีดไฟเซอร์ครึ่งโดส
คนเลยตั้งคำถามว่าจะทดลองฉีดครึ่งโดสไปทำไม เสียของเปล่า ๆ แทนที่จะเอามาฉีดให้บุคลากรด่านหน้าแบบเต็มโดส
- คนสงสัยว่าในกลุ่มทดลองมีแม่บ้านที่ต้องทำความสะอาดและเก็บผ้าเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโควิดหรือไม่ มีเวรเปลมีพยาบาลหรือไม่ และมีสัปเหร่อที่ต้องเผาศพทั้งวันด้วยหรือไม่
- อีกคำถามที่คนสงสัยคือ โดยทั่วไปแล้วการวิจัยจะไม่ให้กลุ่มทดลองรู้รายละเอียดหรือเลือกกลุ่มได้ แต่ทำไมอาจารย์แพทย์ท่านนี้จึงรู้ว่าตัวเองจะได้ฉีดอะไร และยังเลือกกลุ่มได้ด้วย
- นอกจากนี้ยังมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มไฟเซอร์เป็นอาจารย์ที่อ้างว่าตัวเองเสียสละ แต่อาสาสมัครกลุ่มแอสตร้าฯ เป็นบุคลากรแผนกฉุกเฉินที่เลือกไม่ได้ และหลายคนไม่ได้เต็มใจฉีด
—————
แฮชแท็ก #ริมน้ำ + เปลี่ยนรูปโปรไฟล์
:
11- จากประเด็นทั้งหมดทำให้เกิดแฮชแท็ก #ริมน้ำ ขึ้นในทวิตเตอร์ คนมองว่าที่ผ่านมากลุ่มอาจารย์แพทย์ริมน้ำไม่เคยออกมาเรียกร้องให้รัฐซื้อไฟเซอร์ อวยแต่ซิโนแวค แต่ตอนนี้จะมาฉีดไฟเซอร์ก่อน มีคนร้องเรียนไปยังฝ่ายค้านให้ตรวจสอบเรื่องนี้ว่าสามารถทำได้หรือไม่
12- บุคลากรทางการแพทย์ที่จบจากสถาบันริมน้ำหลายคนพร้อมใจกันเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุ๊ก เป็นภาพถ่ายตอนรับใบประกอบวิชาชีพจากคณบดี พร้อมเขียนแคปชั่นถึงดราม่าที่เกิดขึ้น เช่น อยากลำบากใจลองไฟเซอร์บ้างจัง, ขอเสียสละรับไฟเซอร์เต็มโดสด้วยคนได้ไหม ฯลฯ (มีรูปตัวอย่างในคอมเมนต์)
—————
ข้อมูลจากอีกด้าน
:
13- ในขณะเดียวกัน อีกฝั่งก็มีคนออกมาชี้แจงข้อมูลในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น
- โครงการวิจัยนี้ชื่อ "การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยหลังได้รับวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล" ซึ่งทำกันมาต่อเนื่อง คนที่ได้รับเข็ม 3 เป็นกลุ่มบุคลากรที่เข้าร่วมตั้งแต่แรกประมาณ 300 กว่าคน
- โครงการวิจัยนี้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแล้ว และขอความยินยอมจากผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยแล้ว อาสาสมัครกลุ่มแอสตร้าฯ สมัครใจเอง แต่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีตัวเลือก เพราะถ้าจะรอไฟเซอร์ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าไฟเซอร์จะมาวันไหน
- เหตุผลที่อาสาสมัครทราบรายละเอียดและเลือกได้ว่าตัวเองจะอยู่กลุ่มไหน เพราะอาสาสมัครต้องตัดสินใจว่าจะอยู่ในโครงการต่อหรือไม่ถ้าได้วัคซีนที่อาจจะไม่ใช่วัคซีนที่ตัวเองต้องการ
- การทดลองวิจัยนำไปสู่การค้นพบอะไรใหม่ ๆ มากมาย แต่สังคมไทยกลับดราม่าเรื่องนี้ เราเป็นประเทศที่เหมาะกับการอยู่กับอะไรเดิม ๆ รอผลทดลองจากประเทศอื่นอย่างเดียว
- อาจารย์แพทย์เจ้าของโพสต์ทำงานทุ่มเทมาตั้งแต่การระบาดระลอกแรกจนถึงระลอก 3 และอาจารย์ไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาล ไม่ควรถูกเข้าใจผิดจากสังคมและโดนทัวร์ลง
12h ·
สรุปแฮชแท็กร้อน #ริมน้ำ
—————
โพสต์จุดดราม่าของอาจารย์แพทย์
:
1- ดราม่านี้เริ่มจากอาจารย์แพทย์ของสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมน้ำ โพสต์เล่าในเฟซบุ๊กว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติให้ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิให้บุคลากรด่านหน้าที่ฉีดซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม
2- ศูนย์วิจัยของสถาบันที่เธอทำงานอยู่เลยทำการวิจัยว่า ระหว่างการฉีดกระตุ้นด้วยไฟเซอร์กับแอสตร้าเซเนก้า อย่างไหนให้ผลดีกว่า โดยเธอเองก็เป็นหนึ่งในอาสาสมัครของโครงการวิจัยนี้
3- เธอต้องเลือกว่าจะอยู่กลุ่มฉีดไฟเซอร์หรือแอสตร้าฯ ถ้าอยู่กลุ่มแอสตร้าฯ ก็จะได้ฉีดในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ และมีข้อมูลสนับสนุนอยู่แล้วว่าแอสตร้าฯ กระตุ้นภูมิได้และทนทานต่อสายพันธุ์เดลต้า
4- แต่ถ้าอยู่กลุ่มไฟเซอร์ก็ต้องแบกรับความเสี่ยง เพราะยังไม่มีเคยมีการฉีดไฟเซอร์กระตุ้นซิโนแวคมาก่อน และยังไม่รู้ว่าวัคซีนจะมาเมื่อไหร่ จึงเป็นการตัดสินใจที่ยาก
5- แต่ในที่สุดเธอก็ยอมรับความเสี่ยง ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครทดลองฉีด "ไฟเซอร์เต็มโดส 1 เข็ม" พร้อมภาวนาขอให้ไฟเซอร์เข้ามาไว ๆ ให้เธอคลาดแคล้วจนถึงวันได้ร่วมโครงการ
—————
ทัวร์ลง ตั้งคำถามเสียสละจริงหรือ?
:
6- โพสต์นี้ของอาจารย์แพทย์มีคนเข้ามาชื่นชมและขอบคุณในความเสียสละ แต่ในขณะเดียวกันก็มีทัวร์ลงด้วย เพราะหลายคนมองว่านี่ไม่ใช่การเสียสละ คนอยากฉีดไฟเซอร์กันทั้งประเทศ แต่กลับอ้างโครงการวิจัยเอาไฟเซอร์มาให้อาจารย์แพทย์ฉีด แทนที่จะให้บุคลากรด่านหน้าจริง ๆ ได้ฉีด
7- คนยังมองว่าโครงการวิจัยนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร เพราะทดลองในสิ่งที่คนทั่วโลกรู้กันอยู่แล้วว่า mRNA ย่อมดีกว่าไวรัลเวกเตอร์ แล้วจะทดลองให้เสียทรัพยากรทำไม
8- ซึ่งอาจารย์แพทย์ท่านนี้ก็ชี้แจงในคอมเมนต์ว่า โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องของศูนย์วิจัย ทำการศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเธอเป็นอาสาสมัครมาตั้งแต่โครงการแรก
9- มีคนมายืนยันว่าอาจารย์แพทย์ท่านนี้เป็นคุณหมอเด็กเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ทำงานเป็นด่านหน้ารักษาเด็ก ๆ ที่ติดโควิด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน
—————
คำถามมากมายถึงโครงการวิจัย
:
10- ส่วนในโลกออนไลน์โดยเฉพาะทวิตเตอร์ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการวิจัยนี้อย่างดุเดือด และตั้งคำถามมากมาย เช่น
- โครงการนี้เอาไฟเซอร์ที่ไหนมาทดลอง นำเข้ามาเองหรือแบ่งมาจาก 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐฯ จะบริจาคให้ไทย
- หากใช้วัคซีนบริจาคถือว่าผิดมติ ศบค.หรือไม่ เพราะ ศบค.มีมติให้เอามาฉีดกระตุ้นภูมิให้บุคลาการด่านหน้า ไม่ได้ให้เอามาทดลอง และผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหรือไม่
- โครงการนี้รับสมัครอาสาสมัครที่ไหนอย่างไร ทำไมคนอื่นไม่รู้ และมีคนบอกว่าไปประกาศรับอาสาสมัครในกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น แต่พอมีคนไปสมัครก็ปรากฏว่ากลุ่มไฟเซอร์เต็มแล้ว เหลือแต่กลุ่มแอสตร้าฯ
- ในประกาศรับอาสาสมัครพบว่ามีกลุ่มทดลองทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 ฉีดซิโนฟาร์มเป็นเข็มสาม
กลุ่ม 2 ฉีดแอสตร้าฯ
กลุ่ม 3 ฉีดไฟเซอร์เต็มโดส
กลุ่ม 4 ฉีดไฟเซอร์ครึ่งโดส
คนเลยตั้งคำถามว่าจะทดลองฉีดครึ่งโดสไปทำไม เสียของเปล่า ๆ แทนที่จะเอามาฉีดให้บุคลากรด่านหน้าแบบเต็มโดส
- คนสงสัยว่าในกลุ่มทดลองมีแม่บ้านที่ต้องทำความสะอาดและเก็บผ้าเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโควิดหรือไม่ มีเวรเปลมีพยาบาลหรือไม่ และมีสัปเหร่อที่ต้องเผาศพทั้งวันด้วยหรือไม่
- อีกคำถามที่คนสงสัยคือ โดยทั่วไปแล้วการวิจัยจะไม่ให้กลุ่มทดลองรู้รายละเอียดหรือเลือกกลุ่มได้ แต่ทำไมอาจารย์แพทย์ท่านนี้จึงรู้ว่าตัวเองจะได้ฉีดอะไร และยังเลือกกลุ่มได้ด้วย
- นอกจากนี้ยังมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มไฟเซอร์เป็นอาจารย์ที่อ้างว่าตัวเองเสียสละ แต่อาสาสมัครกลุ่มแอสตร้าฯ เป็นบุคลากรแผนกฉุกเฉินที่เลือกไม่ได้ และหลายคนไม่ได้เต็มใจฉีด
—————
แฮชแท็ก #ริมน้ำ + เปลี่ยนรูปโปรไฟล์
:
11- จากประเด็นทั้งหมดทำให้เกิดแฮชแท็ก #ริมน้ำ ขึ้นในทวิตเตอร์ คนมองว่าที่ผ่านมากลุ่มอาจารย์แพทย์ริมน้ำไม่เคยออกมาเรียกร้องให้รัฐซื้อไฟเซอร์ อวยแต่ซิโนแวค แต่ตอนนี้จะมาฉีดไฟเซอร์ก่อน มีคนร้องเรียนไปยังฝ่ายค้านให้ตรวจสอบเรื่องนี้ว่าสามารถทำได้หรือไม่
12- บุคลากรทางการแพทย์ที่จบจากสถาบันริมน้ำหลายคนพร้อมใจกันเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุ๊ก เป็นภาพถ่ายตอนรับใบประกอบวิชาชีพจากคณบดี พร้อมเขียนแคปชั่นถึงดราม่าที่เกิดขึ้น เช่น อยากลำบากใจลองไฟเซอร์บ้างจัง, ขอเสียสละรับไฟเซอร์เต็มโดสด้วยคนได้ไหม ฯลฯ (มีรูปตัวอย่างในคอมเมนต์)
—————
ข้อมูลจากอีกด้าน
:
13- ในขณะเดียวกัน อีกฝั่งก็มีคนออกมาชี้แจงข้อมูลในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น
- โครงการวิจัยนี้ชื่อ "การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยหลังได้รับวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล" ซึ่งทำกันมาต่อเนื่อง คนที่ได้รับเข็ม 3 เป็นกลุ่มบุคลากรที่เข้าร่วมตั้งแต่แรกประมาณ 300 กว่าคน
- โครงการวิจัยนี้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแล้ว และขอความยินยอมจากผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยแล้ว อาสาสมัครกลุ่มแอสตร้าฯ สมัครใจเอง แต่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีตัวเลือก เพราะถ้าจะรอไฟเซอร์ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าไฟเซอร์จะมาวันไหน
- เหตุผลที่อาสาสมัครทราบรายละเอียดและเลือกได้ว่าตัวเองจะอยู่กลุ่มไหน เพราะอาสาสมัครต้องตัดสินใจว่าจะอยู่ในโครงการต่อหรือไม่ถ้าได้วัคซีนที่อาจจะไม่ใช่วัคซีนที่ตัวเองต้องการ
- การทดลองวิจัยนำไปสู่การค้นพบอะไรใหม่ ๆ มากมาย แต่สังคมไทยกลับดราม่าเรื่องนี้ เราเป็นประเทศที่เหมาะกับการอยู่กับอะไรเดิม ๆ รอผลทดลองจากประเทศอื่นอย่างเดียว
- อาจารย์แพทย์เจ้าของโพสต์ทำงานทุ่มเทมาตั้งแต่การระบาดระลอกแรกจนถึงระลอก 3 และอาจารย์ไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาล ไม่ควรถูกเข้าใจผิดจากสังคมและโดนทัวร์ลง