Museum Siam
July 24 at 12:37 AM ·
ทำไมสัญลักษณ์ โอลิมปิก "พิกโตแกรม" วัฒนธรรมการสื่อสารอันล้ำค่า สุดสร้างสรรค์ ถึงได้รับคำชื่นชมจากโลกออนไลน์ ?
.
Olympic-museum pictogram ประเทศญี่ปุ่น ได้บันทึกไว้ว่า พิกโตแกรม (Pictogram) คือหนึ่งในหัวใจสำคัญของการสื่อสารและการให้บริการต่างๆในมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ถือเป็นมรดกทางปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่ ญี่ปุ่น ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก ซึ่งเป็นภาพที่ใช้สื่อสารแทนตัวหนังสือ คล้ายรูปวาดในถ้ำสมัยในยุคโบราณ
.
‘พิกโตแกรม’ ถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้งแต่สมัยก่อน แต่ถูกนำมาใช้ในวงการกีฬาครั้งแรก ในการแข่งขันโตเกียวเกมส์ โอลิมปิกใน ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยทีมเจ้าภาพ การเริ่มใช้ พิกโตแกรม คือสัญลักษณ์การสื่อสาร ภาษากาย และ ตัวเลขที่มีสไตล์ สามารถสื่อสารข้อมูลกับผู้เข้าชมและผู้เข้าร่วมที่มีภูมิหลังทางภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ให้เข้าใจกันได้อย่างง่ายดาย สำหรับงานออกแบบทั้งกีฬาและบริการถูกสร้างขึ้น โดย Masasa Katzumie ผู้กำกับศิลป์ และ Yoshiro Yamashita นักออกแบบกราฟิก ได้รวมการออกแบบรูปสัญลักษณ์ 20 รูปสำหรับกีฬาประเภทต่างๆ และรูปสัญลักษณ์ข้อมูลทั่วไปอีก 39 รูป เพื่่อใช้สำหรับงานบริการ
.
ถือเป็นการพัฒนาและสืบทอดมรดกทางปัญญา การออกแบบของบรรพบุรุษ ผู้บุกเบิก คิดค้น ส่งต่อกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ พิกโตแกรม ในโตเกียวเกมส์ โอลิมปิก ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น ถือเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์งานดีไซน์ในวงการกีฬา พิกโตแกรม สร้างสรรค์ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ‘สร้างการสื่อสาร ให้ผู้คนจากนานาชาติเข้าใจตรงกัน จากการสร้างสรรค์พิกโตแกรมในครั้งนั้น จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการออกแบบและกราฟิกของโลก
.
หลังจากการถือกำเนิด ‘พิกโตแกรม’ ดังกล่าว ทำให้สัญลักษณ์นี้ ได้ทำหน้าที่เดินทางไปในเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไปแล้ว ทั่วโลก โดยนักดีไซเนอร์ ในแต่ละประเทศเจ้าภาพ จะให้ความสำคัญ ในการออกแบบ และมีการปรับเปลี่ยนไปตาม Theme และ Concept ตามประเทศเจ้าภาพ ที่เปลี่ยนไปในทุก 4 ปี
.
จากเส้นสายตรงไปตรงมาปี 1964 สู่ความมีชีวิตชีวาในปี 2020
.
นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงปี 2020 ที่ดินแดนอาทิตย์อุทัยมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง การออกแบบ ‘พิกโตแกรม’ สำหรับงานเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ จึงไม่ธรรมดา
.
ในพิธีเปิดโอลิมปิก ที่โตเกียว ที่ผ่านมา ดีไซน์ของพิกโตแกรมมีความโมเดิร์นเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยเน้นความมีมิติ เติมความมีชีวิตชีวา และเพิ่มรายละเอียดการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยออกแบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 50 ประเภทกีฬา รวมทั้งเบสบอล ซอฟต์บอล คาราเต้ สเก็ตบอร์ด กระดานโต้คลื่น และปีนเขา ซึ่งเป็นกีฬาใหม่ในปีนี้ที่ถูกบรรจุเข้ามา เพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ให้เข้าร่วมโอลิมปิก ปี 2020 กันมากขึ้น อีกทั้ง มีการนำเสนอออกมา โดยล้อเลียน กับ pop culture จากรายการโทรทัศน์ที่ดังไปทั่วโลก คือ คาโซ ไทโช หรือ เกมส์ซ่าท้ากึ๋น ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
.
นอกจาก พิกโตแกรม สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกแล้ว ทางทีมดีไซเนอร์ยังได้ออกแบบชุดพิกโตแกรมสำหรับการแข่งขันพาราลิมปิก 2020 สำหรับนักกีฬาผู้พิการจากทั่วโลกซึ่งจะจัดขึ้นหลังจบการแข่งขันโอลิมปิกคือระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม-5 กันยายน ค.ศ. 2021 อีกด้วย
.
จึงไม่แปลก ที่สัญลักษณ์ #พิกโตแกรม Pictogram ในพิธีเปิดโอลิมปิกในครั้งนี้ ได้รับการยอมรับและคำชื่นชมมากมาย เรียบ ง่าย แต่ความสร้างสรรค์ คือที่สุดของความเป็นเลิศ ทางปัญญาและวัฒนธรรม
.
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
The Olympic Pictograms a Long and Fascinating Story.https://bit.ly/2T190o2
Japantimes.Japan marks 500 days until the 2020 Tokyo Olympics with events and official sport pictograms.https://bit.ly/2VV8dHd
Olympic-museum.Pictograms.https://bit.ly/2u6Anmx
https://becommon.co/world/pictogram-olympic-2020/
Olympic Pictograms: Design through History https://mediamadegreat.com/olympic-pictograms/
.....
กูชอบมาก555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555 pic.twitter.com/FfCOW5EMCD
— ไอซ์ (@nanaicez) July 26, 2021