วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 15, 2564

คำถามง่ายๆ แต่ทำไมตอบยากจัง ?


Doungchampa Spencer-Isenberg
Yesterday at 8:02 PM ·

มีคนเคยถามเรื่องเกี่ยวกับการบริหารวัคซีนในไทย เคยเขียนคอมเม้นท์ไว้เกือบสองเดือนมาแล้ว แต่คงจะไม่มีคนเห็น พอดีไปเห็นโพสต์ของอาจารย์ปวิน และ อาจารย์สมศักดิ์ เลยขอเอาคอมเม้นท์ที่เขียนไว้เวลานั้น มาลงให้อ่านใน Status นี้แทน (ขอเกริ่นไว้ก่อนว่า เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัว จากข้อมูลที่มีและเห็นๆ กันอยู่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเห็นด้วยทั้งหมด )
.
.
1. เรื่องการ “แทงม้าตัวเดียว” คำตอบคือเอกสารที่อาจารย์สมศักดิ์เพิ่งโพสต์ไว้เมื่อสองวันที่แล้วว่า ทำไม วัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ถึงไม่สามารถเข้ามาได้ (ถือว่าเป็น "คู่แข่งทางการค้า" แทบทั้งสิ้น)
.
.
2. ดิฉันมั่นใจว่า คำถามที่อาจารย์ปวินโพสต์ไว้ คือ ว่าทำไมไม่สั่งวัคซีนเหล่านั้นเข้ามา คำตอบคือมันเป็นยุทธวิธีที่คิดคำนวณมาตั้งแต่ปีก่อนหน้าแล้วว่า สามารถทำให้เป็นเรื่อง win-win ระหว่างรัฐบาลประยุทธ์ กับ ทางฝ่ายวังได้ นั่นคือ นำเอาเรื่อง “วัคซีนของพ่อ” มาโปรโมทให้มากที่สุด (ซึ่งผลิตโดยบริษัท Siam Bioscience) เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนกับการ “แทงม้าตัวเดียว”
.
หากจำกันได้ มีการแชร์รูปภาพ วัคซีนของพ่อ โรงงานผลิตต่างๆ กันอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว ในไลน์และในโซเชี่ยลมีเดียว่า เป็นของขวัญจากฟ้า ฯลฯ
.
.

3. ส่วนวัคซีน ซีโนแวค เอง มีการจัดให้เป็นวัคซีนสำรอง ซึ่งสามารถสั่งซื้อและนำเข้ามาโดยปริมาณที่ต้องการได้ ราคาต่อโดสจะแพง เนื่องจากใช้เชื้อตายในการผลิต
.
.
4. ทางรัฐบาลประยุทธ์ มีหน้าที่สร้าง โปรปรากานด้า ให้กับ “วัคซีนของพ่อ” คือ โฆษณาออกมาให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นทางสื่อสารในรูปแบบใด มันเป็นยุทธวิธีสร้างชื่อให้กับทางวัง รวมทั้งความซาบซึ้งให้กับประชาชน
.
หากมีการผลิตออกมาฉีดให้ประชาชนได้มากเท่าไร มันสามารถกลายเป็นเรื่อง ความซาบซึ้ง เป็นหนี้บุญคุณกันอย่างไม่รู้จบ นั่นคือ ทุกๆ คน (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือ ฝ่ายประชาธิปไตย) จะต้องได้รับวัคซีนจาก Siam Bioscience ทั้งหมด (ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสามารถมาเยาะเย้ยทีหลังได้ว่า พวกมรึงด่าและวิพากย์วิจารณ์เขา แต่ก็ยังไปฉีดวัคซีนของพ่อไม่ใช่หรือ?)
.
.
---------------------------------------------
.
.
5. เมื่อตอนช่วงต้นปี การก่อสร้างโรงงานเพิ่งเริ่ม และวัคซีน AstraZeneca ยังผลิตได้เป็นจำนวนน้อย วัคซีนเสริมอย่าง ซีโนแวค ก็เข้ามาแทน (คาดว่าเป็นการชั่วคราว ส่วนเรื่องจะมี connection และเส้นสายแค่ไหนกับทางรัฐบาลไทย ท่านก็คงอ่านข่าวกันมามากแล้ว) เพื่อเป็นการ “ขัดตาทัพ” และนำออกใช้ไปพร้อมๆ กัน กับวัคซีน AstraZeneca ซึ่งมียอดคำนวณแล้วว่า สามารถผลิตได้ตามโควต้าที่แบ่งให้กับประชาชนในแต่ละเดือน (เนื่องจากว่า จำนวนเคสของโควิดในเวลาต้นปียังมีน้อยมาก ค่อยๆ จำหน่ายวัคซีนออกไปไม่กี่ล้านโดสในแต่ละเดือนก็เพียงพอ บวกกับสถานการณ์การระบาดที่น้อยมากในประเทศไทยเองรวมอยู่ด้วย)
.
.
6. เมื่อการควบคุมโรคระบาดจากโควิด ทำกันไว้ได้เป็นอย่างดีมาก มีการติดเชื้อน้อยตั้งแต่ปีที่แล้วมาจนถึงตอนช่วงต้นปี ดูจากสถิติและประวัติต่างๆ ในเรื่องนี้ ทำให้ทางฝ่ายรัฐบาลมั่นใจว่า สามารถ “เอาโควิด” อยู่หมัดแน่ๆ ไม่มีเรื่องใดๆ ต้องห่วง
.
.
7. ดิฉันคิดว่า ในช่วงเวลาต้นปีนั้น ไม่มีอะไรสำคัญไปมากกว่า การเข้าถึงจิตใจประชาชนด้วยเรื่อง “วัคซีนของพ่อ” เพราะฉะนั้น การควบคุมโรคระบาดที่ดี บวกกับ วัคซีนที่ผลิตจากบริษัทที่ได้รับโปรปรากานด้าว่าเป็น "ของพ่อ" มา มันทำให้เกิดสถานการณ์ win-win ขึ้นมาให้กับทั้งสองฝ่าย (รัฐบาลกับวัง) - รัฐบาลจะได้หน้า รวมทั้ง "ราคาคุย" ว่า ปราบโควิดได้อย่างยอดเยี่ยมจากวัคซีนของพ่อ ทุกอย่างสวยหรูด้วยกันทั้งสองฝ่าย
.
ในเวลานั้น ยังไม่มีข่าวระบาดเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของไวรัส เรื่อง “ประสิทธิภาพ” ของวัคซีนเลยกลายเป็นเรื่องรองลงมา เนื่องจากสามารถสร้างเรื่องแบบนี้ขึ้นมา “กล่อมขวัญ” หรือ "เขย่าขวัญ" กับประชาชนกันได้อย่างไม่ยากนัก (โดยเฉพาะการ downgrade วัคซีน mRNA จากประเทศตะวันตกกัน ถ้าหากมีเรื่อง เมื่อฉีดไปแล้ว มีคนตายเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมากหรือน้อย) การเขียนโพสต์บทความเหล่านี่้ เป็นการสร้างความหวั่นไหวทางจิตวิทยากัน และสามารถโปรโมทกันได้ว่า วัคซีนของพ่อเป็นวัคซีนที่ดีและปลอดภัยที่สุด)
.
หากมีเรื่อง "การเสียชีวิต" เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนของพ่อ ก็จะไปหาสาเหตุอื่นๆ เข้ามาไม่ให้เกี่ยวข้องหรือโยงกับการเสียชีวิต หากไม่สามารถหาเหตุผลได้ ให้ถือว่าเป็น Collateral Damage ไป คือ ต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น เป็นจำนวนที่ยอมรับกันได้ เหมือนกับการเสียชีวิตที่ประเมินกันไว้ในช่วงศึกสงคราม
.
.
---------------------------------------------
.
.
8. เมื่อลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา ความคิดง่ายในช่วงนั้น คือ หากยิ่งมีการสั่งวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ เข้ามามากเท่าไร มันทำให้ “ความขลัง” ของวัคซีนของพ่อ ลดหายลงไปมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งคนฉีดวัคซีนของประเทศตะวันตกมากขึ้น วัคซีนที่ผลิตเองก็จะ “คอยๆ ด้อยค่า” ลดลงไปเรื่อยๆ (ผู้คนไม่ให้ความสนใจและลืมความสำคัญไป อย่างที่ทางรัฐและทางวังคาดหวังกันไว้)
.
เพราะฉะนั้น เมื่อทางรัฐบาลมั่นใจว่าเอาโควิดอยู่แน่ พร้อมกับข้อมูลและสถิติในเวลานั้น จึงการปฏิเสธการสั่งซื้อและการอนุมัติวัคซีนอื่นๆ ทั้งหมด (รวมทั้งการปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการ COVAX เพราะหมายถึงว่า ประเทศไทยจะต้องได้รับวัคซีนตัวอื่นๆ ด้วย แม้จะอ้างเรื่องว่า ไม่ใช่ประเทศยากจนก็ตาม) ถึงพยายามดึงเวลากันอย่างที่สุดในเรื่องของการนไวัคซีน mRNA เข้ามา (เป็นต้นว่า การส่งยื่นเอกสาร ใช้เวลา 30 วัน)
.
.
9. เมื่อคลัสเตอร์ที่ทองหล่อระเบิดขึ้นมาอย่างไม่คาดฝันกัน และจากนั้น ก็เริ่มมีการแพร่ระบาด่กระจายออกมาทั้งสายพันธุ์เกือบทุกสายพันธุ์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ทำให้การบริการจัดการเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุก ไม่มีการเตรียมแผนมาก่อน (Management by Crisis) แผนการที่คาดหวังกันไว้ จึงต้องระงับลงไปอย่างเร่งด่วน
.
.
10. ปัญหาที่ตามมาคือ การผลิตวัคซีนของบริษัท Siam Bioscienceได้จำนวนไม่เพียงพอกับการส่งออกและการใช้ภายในประเทศไทย แต่ก็ยังมีความพยายามดึงเรื่องกันอย่างสุดๆ เพื่อให้วัคซีนหลักเป็นของ AstraZeneca และ Sinovac กัน รวมทั้งสร้าง Propaganda เกี่ยวกับอันตรายของวัคซีน mRNA เพื่อบั่นทอนความเชื่อมั่น และยังเน้นทุกอย่างให้กลับไปเข้าสู่ mode เก่าให้จงได้ (เบนเข็มจากวัคซีนของพ่อ ไปเป็นเรื่องอันตรายของวัคซีน mRNA แทน)
.
.
11. เราถึงเห็นว่า สัญญาการซื้อขายวัคซีน mRNA หรือวัคซีนจากประเทศตะวันตก ยังคงมีการทบทวนและส่งเอกสารไปๆ มาๆ กันอย่างเชื่องช้า (ยังไม่มีการลงนามสัญญาการสั่งซื้ออย่างเป็นทางการ) ไม่เหมือนกันกับวัคซีนที่นำเข้ามาจากสถาบันจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งได้รับวัคซีนกันน้อยกว่าหนึ่งเดือนเสียด้วยซ้ำไป
.
.
---------------------------------------------
.
.
12. เวลาที่เสียไปแต่ละวัน ซึ่งผู้คนยังไม่ได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพนั้น หมายความว่า ตัวเลขการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
.
.
13. เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่มา “เสี่ยง” ทดลองวัคซีน เหมือนผสม cocktails เพราะไม่มีการค้นคว้าหรือ abstracts ที่ไหน เขียนกันเรื่องความปลอดภัย การทดลองอย่างที่แพทย์ท่านหนึ่งต้องการนั้น มันเกิดขึ้นมานานแค่ไหน เข็มแรก กับเข็มที่สอง ห่างกันกี่วัน มีการตรวจผลเลือดเท่าไร? เรื่องเหล่านี้ ไม่มีข้อมูลตีพิมพ์หรือเผยแพร่มาก่อนเลย
.
.
14. จากที่เขียนมา ก็สามารถพิจารณาได้ว่า ใครได้ผลประโยชน์ (และชื่อเสียง) มากที่สุดในสถานการณ์การบริหารวัคซีนแบบนี้ และวิธีการ Propaganda เรื่องวัคซีนพ่อและความซาบซึ้งนั้นนั้น มันทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
.
และลองคิดดูว่า ผลกระทบที่ขยายออกไป (Ripple effects) มันคุ้มค่ากับ การยินยอมสั่งซื้อวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเข้ามาตั้งแต่ตอนแรกๆ หรือเปล่า เนื่องจากต้องการให้เป็น win-win กับตนเอง? แต่ผลกระทบอย่างสุดๆ ไปตกอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจริงๆ
.
ท้ายสุดก็คือ เราจะเห็นเรื่องการเสียชีวิตทุกๆ วันไปเรื่อยๆ รวมทั้ง ความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากอาจจะไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุขกันอีกนานแค่ไหน ก็ไม่อาจจะทราบได้
.
.
ขอให้ลองไปคิดกันดู ในตอนเช้าวันพุธกัน Have a great and pleasant Wednesday. Stay safe ค่ะ
.
.
Doungchampa Spencer-Isenberg