การแบ่งเขตเลือกตั้ง … ทำไมถึงไม่เสร็จเสียที
21 พฤศจิกายน 2561
มติชนออนไลน์
ผู้เขียน ณัชชาภัทร อมรกุล นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า
ในวันที่ 19 ก.ย. 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด
โดยกำหนดว่า แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนส.ส. 1 คน จังหวัดใดมีจำนวนส.ส.ได้ไม่เกิน 1 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีจำนวนส.ส.ได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนเท่ากับ จำนวน ส.ส. ที่พึงจะมี
ใช้จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 60 ซึ่งมีจำนวน 66,188,503 คน เป็นฐานในการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยจำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 189,110 คน ต่อส.ส. 1 คน
ทั้งนี้ จำนวนเขตเลือกตั้งและจำนวน ส.ส.ที่ลดลงไม่ได้เกิดจากการกำหนด กกต.แต่เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญที่กำหนดจำนวน ส.ส.แบ่งเขตลดลงจาก 375 เป็น 350 คน และจำนวนประชากรต่อ ส.ส.1 คน มีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี
ทำให้ กกต. ต้องปรับลด สส. เขต ใน 23 จังหวัดลง และต้องแบ่งเขตเลือกตั้งกันใหม่
ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ ภาคเหนือเดิมมีส.ส. 36 คน ลดเหลือ 33 คน ภาคอีสานเดิมมีส.ส. 126 คน ลดลงมากที่สุดเหลือ 116 คน ภาคกลางเดิมมีส.ส. 82 คน ลดเหลือ 76 คน ภาคใต้เดิมมีส.ส. 53 คน ลดเหลือ 50 คน และกรุงเทพมหานครเดิมมีส.ส. 33 คน ลดเหลือ 30 คน ส่วนภาคที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงคือ ภาคตะวันออกมีส.ส. 26 คน และภาคตะวันตกมีส.ส. 19 คน เท่าเดิม
พื้นที่ กทม. มี สส. เขตธนบุรีหายไป 1 ที่นั่ง ส่วนฝั่งพระนครหายไป 2 ที่นั่ง
ส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละพรรคการเมืองแน่นอน
การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ยังไม่เสร็จเสียทีของ กกต. ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดสิ่งที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่า
Gerrymander กับหน่วยเลือกตั้ง
Gerrymander แปลว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบทุจริต ในลักษณะที่จะไปส่งผลต่อคะแนนเลือกตั้ง
เพราะโดยปกติในทางในทางทฤษฎี เราต้องการให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้อย่างแท้จริง เพราะผู้แทนราษฎรจะเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชนในเขตของตน
ถ้าเราจำลองภาพง่าย ๆ โดยใช้รูปแบบการอธิบายที่จำลองภาพมาอย่างง่ายที่สุดของ Washington Post (https://www.youtube.com/watch?v=bGLRJ12uqmk)
สมมติเรามีประขากร 50 คนในจังหวัด A ซึ่งมี ส.ส. ได้ 5 คน
จากสัดส่วนประชากรเช่นนี้ หมายความว่า สัดส่วนของประชาชนที่นิยมนโยบายของพรรค Round ต่อประชาชนที่นิยมนโยบายของพรรค Star มีอยู่ 2:3
หากประชากรมีอยู่ 50 คนและมี ส.ส. ได้ 5 คน ก็เท่ากับว่าประชากร 10 คน มี ส.ส. ได้ 1 คน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะแบ่งกันอย่างไร
ทางเลือกที่ 1 #แบ่งตรงสัดส่วนประชากร
ถ้าเราแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 5 เขต แบบนี้ก็จะได้ ส.ส. จากพรรค Round จำนวน 2 คน และจากพรรค Star 3 คน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนที่แท้จริงของผู้ที่นิยมพรรค Round และ พรรค Star ก็คือ 2:3
ทางเลือกที่ 2 #Gerrymandering แบบเข้าข้างพรรค Star
แต่การณ์อาจไม่เป็นเช่นว่า สมมติมีตัวแปรเข้ามาคือ พรรค Star ได้เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดเขตเลือกตั้ง และต้องการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง เขาอาจจะแบ่งเช่นนี้
เขต 1 พรรค Star ได้คะแนนมากที่สุด ได้ ส.ส. จากพรรค Star
เขต 2 พรรค Star ได้คะแนนมากที่สุด ได้ ส.ส. จากพรรค Star
เขต 3 พรรค Star ได้คะแนนมากที่สุด ได้ ส.ส. จากพรรค Star
เขต 4 พรรค Star ได้คะแนนมากที่สุด ได้ ส.ส. จากพรรค Star
เขต 5 พรรค Star ได้คะแนนมากที่สุด ได้ ส.ส. จากพรรค Star
หากแบ่งแบบนี้ พรรคสีฟ้าก็จะได้คะแนนจากทุกเขตไป ซึ่งมันก็ไม่ยุติธรรม เพราะแปลว่าพรรค Round ไม่มี ส.ส. ของตนเองในจังหวัด A เลย
ทางเลือกที่ 3 #Gerrymandering แบบเข้าข้างพรรค Red
ในทางตรงกันข้าม แต่การณ์อาจไม่เป็นเช่นว่า สมมติมีตัวแปรเข้ามาคือ พรรค Red ได้เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดเขตเลือกตั้ง และต้องการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง เขาอาจจะแบ่งเช่นนี้
เขต 1 พรรค Round ได้ 6 คะแนน พรรค Star ได้ 4 คะแนน ได้ ส.ส. จากพรรค Round
เขต 2 พรรค Round ได้ 6 คะแนน พรรค Star ได้ 4 คะแนน ได้ ส.ส. จากพรรค Round
เขต 3 พรรค Round ได้ 6 คะแนน พรรค Star ได้ 4 คะแนน ได้ ส.ส. จากพรรค Round
เขต 4 พรรค Round ได้ 1 คะแนน พรรค Star ได้ 9 คะแนน ได้ ส.ส. จากพรรค Star
เขต 5 พรรค Round ได้ 1 คะแนน พรรค Star ได้ 9 คะแนน ได้ ส.ส. จากพรรค Star
หากแบ่งแบบนี้ เท่ากับว่าพรรค Round ได้ ส.ส. เพิ่มมา 1 คน ทั้งๆ ที่สัดส่วนประชากรไม่ตรง
ทางเลือกที่ 2 และ 3 เป็นทางเลือกที่ไม่สอดคล้องกับสัดส่วนประชากร เป็นการแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีอิทธิพลต่อการได้จำนวน ส.ส. ที่แตกต่างกัน การแบ่งเขตเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องที่ต้องกำหนดให้แน่นอน หากแบ่งเขตเลือกตั้งไม่ดี (Gerrymandering) จะทำให้การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นไม่ได้รับความชอบธรรม
จะเห็นได้ว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งนำมาสู่ประเด็นในเรื่องผลของการเลือกตั้งอย่างเห็นได้ชัด
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมี นำมาสู่การตั้งคำถามจากสังคมว่า ทำไมแบ่งเขตการเลือกตั้งยังไม่เสร็จเสียที แบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จแล้วแต่ไม่ตรงใจใครบางคนหรือเปล่า ต้องการแบ่งเขตแบบ Gerrymander ใช่หรือไม่ การออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2561 เป็นการแทรกแซงการทำงานของ กกต. หรือไม่ มีการสั่งการ หรือบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งหรือไม่ ฯลฯ
จึงต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ถูกต้องเป็นธรรม ก่อนที่จะถูกตั้งคำถามต่อสังคมไปมากกว่านี้
...
Nawanit Aramdilokrat เขียนกฎหมายเองก็แล้ว
เลือก สว เองก็แล้ว
หน่วยงานต่างๆจัดคนของตัวเองก็แล้ว....
#ยังกลัวแพ้ ขนาดนี้เลยหรอวะ ไม่ไหวอย่าฝืนเลย
ooo
เรื่องเกี่ยวข้อง...
Gerrymandering, explained
Published on Nov 14, 2017
The process of re-drawing district lines to give an advantage to one party over another is called "gerrymandering". Here's how it works.