คำตอบง่ายๆสำหรับคำถามว่า
ทำไม
ทำไมเศรษฐกิจติดลมบน ไม่พัดลงมาถึงชนชั้นล่าง
ทำไมถึงเกิดปรากฎการณ์รวยกระจุกจนกระจาย
อธิบายแบบง่ายๆคร่าวๆด้วยเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบสัปดาห์นี้ก็จะพอจะเห็นได้
...
ด้านแรก
ปฏิบัติการไล่กวาดจับบรรดาพ่อค้าแม่ขายรายย่อยจากถนน-ทางเท้า
ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใหญ่อื่นๆ ดำเนินไปอย่างคึกคัก
เมื่อมีการทักท้วง
(ที่ไม่ได้แปลว่าไม่ให้จับ แต่ต้องคิดให้รอบคอบกว่านี้ เช่น จับแล้วเขาจะไปทำมาหากินอะไร หรือจะจัดที่จัดทางที่พออาศัย ให้เขาสามารถไปทำมาหาเลี้ยงชีพต่อได้)
ท่านตอบด้วยคำเท่ๆว่า
ทางเท้ามีไว้เดิน
(แปลว่าไม่ได้มีไว้ให้ใครขายของ)
นี่ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก
แต่ว่าตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา ในนามของการ"จัดระเบียบ" ทั้งทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น กทม. ออกมาไล่กวาดล้างผู้ค้ารายย่อยเหี้ยนไปเป็นถนน-ถนน เหี้ยนไปเป็นสาย-สาย
ได้ความเป็นระเบียบคืนมาครับ
แต่คนที่หายไป คนที่ถูกกวาดตกท่อข้างถนนไป
จะกินอยู่อย่างไร จะทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไร
รัฐไม่ได้ไปสนใจไปรับรู้ด้วย
แจก"บัตรคนจน"อย่างเดียวจบแล้ว
ตกงานเรอะ
มาสิ จะสงเคราะห์ให้เดือนละ 300 บาท 600 บาท
แล้วรากหญ้า(คำแสลงใจสลิ่มบางท่าน)จะไปเหลืออะไร
...
ด้านหนึ่ง
มีประกาศว่าต่อไปนี้ถึงเวลาแล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดจะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน
ก็มีเสียงค้านระงมมาจากแวดวงสาธารณสุขบ้าง แวดวงการศึกษาบ้าง
ล้วนแล้วแต่อยู่ในแวดวงคนดี คนที่มีสิทธิ์มีเสียงในสังคมทั้งสิ้น
ผลก็คือ พอโวยกันมากๆเข้า
กฎหมายก็ถูกเลื่อนบังคับใช้ไปอีก 60 วัน
(คล้ายๆกันกับเรื่องไม่จับคนนั่งท้ายกระบะนั่นไง สุดท้ายก็เลิกรากันไปเอง เหมือนไม่มีกฎหมายบังคับอะไร)
กรณีนี้จะจบเหมือนนั่งท้ายกระบะหรือเปล่าไม่รู้ได้
แต่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าคุณใหญ่โตขึ้นมาระดับหนึ่ง ระดับที่รัฐบาลทหาร(ที่ยังต้องอาศัยคุณทำงาน)ต้องเงี่ยหูฟัง
ต่อให้เป็นกฎหมายที่อ้างหลักการว่าดีเลิศประเสริฐเก๋กู้ดปานใด
ถ้าคนดีไม่ต้องการอยู่ใต้บังคับ
ก็ยากจะบังคับใช้ได้
นี่ขนาด"ชนชั้นกลาง"ส่งเสียงดังๆ รัฐบาลทหารยังถอยกรูดๆ
ถามว่าถ้า"ชนชั้นสูง"-เศรษฐี มหาเศรษฐี มหาอำมาตย์ทั้งหลายคำรณคำรามออกมา
จะไม่โกญจนาทกัมปนาทกว่านี้ดอกหรือ
...
ในสังคมที่คนกลุ่มหนึ่ง(ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคนกลุ่มใหญ่)
ไม่มีอำนาจต่อรองอะไร
ผู้มีอำนาจอยากจะกวาดทิ้งเมื่อไหร่ ก็ลงท่อไปเมื่อนั้น
กับอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนน้อยแต่เสียงดังกว่า
แตว่าไม่ต้องอยู่ใต้บังคับกฎหมายบ้าง
หรือได้ประโยชน์มหาศาลจากเศรษฐกิจในโครงสร้างนี้บ้าง
(4 ปีหลังปฏิวัติ จีดีพีไทยโตขึ้น 2 ล้านล้านบาท แต่ช่วงเวลาเดียวกัน มูลค่าทรัพย์สินของกิจการในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 600 บริษัทเพิ่มขึ้น 4 ล้านล้าน-ในจำนวนนี้เป็น 50 หรือ 100 บริษัทแรกไป 70-80%)
มันจะอยู่กันอย่างไร
...
ในสังคมที่คนไม่ได้กินแกลบ
(ขนาดประเทศกูมียังทะลุ 35 ล้าน-ค่าเฉลี่ยของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งหลายๆครั้งในเมืองไปแล้ว)
ถามว่าชาวบ้านแยกแยะได้ไหม
ว่าใครสมาทาน ใครเอื้ออำนวยให้ระบบแบบนี้เกิดขึ้น-ดำรงอยู่-ขยายตัว
หรือใครบ้างที่อยากจะแก้ไขโครงสร้างพิกลพิการนี้
คำถามคือความรู้สึกนี้จะมีผลกับการเลือกตั้งขนาดไหน
รอดูกันไปครับ
24 กุมภาพันธ์ 2562 ก็ได้รู้กันแล้ว
อ้อ-หมายเหตุไว้ด้วยว่า ถ้าไม่เลื่อนเลือกตั้งนะครับ
ถ้าเลื่อนไป แล้วแก้ไขอะไร(ที่ปล่อยให้ขยายตัวมาตลอด 4-5 ปีนี้ได้)ได้
ก็ดีไป
แต่ถ้าเลื่อนไปแล้ว ยิ่งหนักข้อขึ้น
อันนี้แหละสงสัยท่อนฮุคของ"ครางชื่ออ้ายแน"คงดังระงม
อุ๊ยอุ๊ยอุ๊ยอุ๊ย
Thakoon Boonparn