ดุลยพงษ์ ดวงทาทอน สิ่งที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ คสช. เข้ามายึดอำนาจ คือการพยายามเข้ามารื้อและล้มล้างระบบกฎหมายเดิม แล้วเขียนกฎหมายของตัวเองขึ้นมาใหม่ กระบวนการนี้ทำให้คำว่า"รัฐธรรมนูญ"ไม่มีความหมาย.......
... "ซึ่งเป็นสภาวะที่น่ากลัว"
ไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่ในประเทศไทยตอนนี้ ไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิใดๆ เลย เพราะอำนาจอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียว กระทั่งคนๆ เดียวด้วยซ้ำ .....
เขาทำประชามติก็จริง แต่ทำเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง โดยควบคุมเงื่อนไขต่างๆ ไว้หมดแล้ว ห้ามไม่ให้คนต่อต้าน ไม่ให้คนวิจารณ์ ถ้าต่อต้านหรือวิจารณ์ก็โดนจับ มันจะยิ่งอำนวยให้สิ่งที่"ไม่เป็นประชาธิปไตย"ให้แผ่ขยายไปมากขึ้น
.....การที่เขายอมให้มีรัฐธรรมนูญ ก็เพราะเขารู้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่มีความหมาย......
ในลักษณะเดียวกัน "เขาจะยอมให้มีการเลือกตั้ง ก็ต่อเมื่อเขามั่นใจว่าการเลือกตั้งนั้นไม่มีความหมาย"
แม้กระบวนการเลือกตั้งอาจทำให้เราเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยมากขึ้น แต่คนที่ได้รับเลือกมา ก็อาจทำอะไรไม่ได้อยู่ดี
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อกีดกันไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ฉะนั้นประชาชน"จึงไม่มีความหมาย."
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้ทหารมีที่ยืนอย่างถาวรในรัฐบาล "เพื่อให้การแทรกแซงกลายเป็นเรื่องปกติ”
.
Pundit K Nant สรุปกลโกงเผด็จการเพื่อสืบทอดอำนาจ
1.ร่างกติกาให้ตัวเองมีฟรีคิก250เสียง
2.ให้ตัวเองหาเสียงได้ โดยมัดมือมัดเท้าคู่แข่งขันโดยไม่ยอมปลดล็อค
3.ใช้เงินภาษีปชช.แจกซื้อคะแนนเสียงล่วงหน้า
4.ใช้คดีความแบล็คเมล์ และตำแหน่งผลประโยชน์ล่อให้คนมาเข้าพวก
5.ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อเอาเปรียบคู่แข่งขัน
6.ตั้งกรรมการที่ไม่เป็นกลางให้ควบคุมการแข่งขัน
7.ข่มขู่จะยุบพรรค ทำให้คู่แข่งขันออกหมัดได้ไม่เต็มที่
ooo
หาก พปชร.หรือพรรคการเมืองใด เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ คนต่อไป และเจ้าตัวตอบรับ โอกาสได้เป็นนายกฯ ก็คงจะไม่ยากเท่าคนอื่นๆ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์และ คสช.มีสิทธิในการตั้ง ส.ว. 250 คน ที่ ส.ว.เหล่านี้จะมีโอกาสเข้าร่วมเลือกนายกฯ พร้อมกับ ส.ส.อีก 500 คน นั่นอาจแปลได้ว่าเจ้าตัวมีเสียงอยู่ในมือแล้ว 250 เสียง ต้องการอีกเพียง 126 เสียง ก็จะได้เป็นนายกฯ
.
ต่างกับแคนดิเดตอื่นๆ ที่ต้องหา ส.ส.มาสนับสนุนให้ได้ถึง 376 คน
.
และนี่คือการปฏิรูปการเมืองในสมัย คสช. ที่หลายๆ คนใฝ่ฝันถึง?
เลือกตั้ง 62 เป็นการต่อสู้ระหว่างสองแนวทาง สองความเชื่อ
แนวทางหนึ่งคือ สืบทอดอำนาจเผด็จการ บนฐานความเชื่อว่า ปชช.โดยเฉพาะในชนบทนั้นจน โง่ โลภ สายตาสั้น เห็นแก่ปย.เล็กน้อยเฉพาะหน้า ขายสิทธิ์ขายเสียง ไม่สนใจพรรคการเมือง อาศัยแค่ทุ่มเม็ดเงินกับใช้เครือข่ายอิทธิพลและสส.เก่าในพื้นที่ ก็ได้คะแนนเสียงเป็นกอบกำ ผนวกกับกลไกหมกเม็ดในรธน.60 ก็จะได้นายกฯ รัฐบาลและสภาฯ
อีกแนวทางหนึ่งคือ ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ บนฐานความเชื่อว่า ปชช.จำนวนมากนั้นฉลาด รับรู้ผลปย.ตัวเองทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว มองภาพรวมทั้งตัวบุคคลนักการเมือง-พรรคการเมือง รู้จักสรุปว่า สี่ปีมานี้ พวกเขาได้อะไรจากใครที่ยั่งยืนและเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง? และจะอยู่อย่างเดิมหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น?
ความเชื่อในแนวทางที่หนึ่งคือทัศนะของอภิสิทธิ์ชนผู้ปกครองที่มองปชช.ผู้ถูกปกครองเสมอมาไม่เคยเปลี่ยน แต่พ้นสมัยไปแล้วนับตั้งแต่พรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งครั้งแรกปี 2544 ที่ทำให้การเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่นั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
บทพิสูจน์แนวทางใดความเชื่อใดชนะ? ให้ดูคะแนนเลือกตั้งเฉพาะสส.ระหว่างสองค่าย - พวกสืบทอดอำนาจ vs พวกไม่เอาสืบทอดอำนาจ!