วันอังคาร, พฤศจิกายน 27, 2561

เกือบ 5 ปี ของ คสช. "เสียของ สูญเปล่า สิ้นเปลือง"


...



“บิ๊กตู่”ไม่รู้สึกอะไรเลย ผลโพลล์”หญิงหน่อย”คะแนนนำ ชี้ ไม่ใช่ความเห็นของคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ

พลเอกประยุทธ์ กล่าวถึงนิด้าโพลล์
ที่ประชาชนสนับสนุนให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย เหมาะสมที่จะเป็นนายกฯ อันดับ 1 ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นอันดับ 2ว่า วันนี้มีโพลล์ จำนวนมาก ซึ่งวิธีการทำโพลนั้น ทุกสำนักมีจุดมุ่งหมายด้วยกันทั้งสิ้น ว่าอยากให้คำตอบออกมาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและการตั้งคำถาม

สิ่งที่ได้มานั้นจะใช่หรือไม่ก็ยังไม่รู้ เพราะตนไม่อาจหยั่งรู้จิตใจของประชาชนทุกคนได้

แต่ผลโพลล์ไม่ใช่ความเห็นของคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ ดังนั้นการสำรวจความเห็นของคน 1,000 -2,000 คน นั้น ไม่ได้อะไร เพราะวันข้างหน้าผลโพลก็ผิดทุกครั้งไป จึงต้องไปดูเป้าหมายว่าทำโพลเพื่ออะไร จากใคร จากไหน เพราะบางครั้งการทำโพลก็มีอะไรอยู่เบื้องหลัง

ดังนั้นจึงไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะเชื่อมั่นในประชาชน วันนี้ประชาชนเรียนรู้มาก อย่าใช้วิธีการเหมือนเดิม จนทำให้ประชาชนเกิดความไม่เข้าใจ

“หลายคนพยายามบิดเบือน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดิน ราคายาง ราคาปาล์มน้ำมัน ฯลฯ โดยออกมาโจมตีรัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลทำงานแทบตาย แก้ไขปัญหาต่างๆ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ถ้าทำงานแบบง่ายๆ ทุกอย่างก็จะเป็นเหมือนเดิม คือไม่ยั่งยืน ขอฝากกับทุกคน ว่าผมจะไม่ไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร แต่อยากขอให้ฟังรัฐบาล และรับฟังคนที่อยากเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ ว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่าให้มาโจมตีเรา โดยเราคล้อยตามเขาไปด้วย

อยากให้สื่อมวลชนช่วยฟังด้วยว่า คนที่พูดจะแก้ไขปัญหาอย่างไร โดยดูที่การแถลงนโยบาย ว่าจะทำงานอย่างไร ไม่ใช่โจมตีผมอย่างเดียว เพราะไม่เป็นธรรมกับผม ฝากให้ด้วย เพราะทุกคนต่างก็รักประเทศไทย หรือใครไม่รัก ทุกคนต่างก็รักประเทศไทยและคนไทย ดังนั้น อยากขอร้องบรรดานักเขียนและคอลัมนิสต์ ที่บางครั้งเขียนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เขียนในแบบเดิมๆโดยไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ซึ่งคิดว่าไม่ได้แล้ว” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

...




ก่อนการเลือกตั้งจะมาถึง หัวหน้าคสช. ก็ใช้ ม.44 แก้กติกาการเลือกตั้งไปแล้วถึงสามครั้ง

ตามโรดแมปของรัฐธรรมนูญปี 2560 กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นในปี 2562 และเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มุ่งหวังไว้ คสช. จึงขอเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ขึ้นมาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาที่มาจากการแต่งตั้งของตัวเองเป็นคนพิจารณากฎหมายอีกทีหนึ่ง

อย่างไรก็ดี คสช. ยังเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขกติกาการเลือกตั้งทางตรงโดยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ปี 2557 ซึ่งที่ผ่านมา หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจดังกล่าวไปแล้วอย่างน้อยสามครั้ง ได้แก่

1) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560: ปลดล็อคให้พรรคใหม่-รีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมืองเก่า

2) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561: ยกเลิกไพรมารีโหวต-ห้ามหาเสียงออนไลน์-ขยายเวลาให้พรรคการเมือง

3) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2561: คสช. สั่ง กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ได้ หาก คสช. หรือ รัฐบาล ได้รับข้อร้องเรียน

อ่านต่อได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5037