Pipob Udomittipong shared ประสิทธิ์ชัย หนูนวล's photo.
“ประชารัฐ” ของหมอประเวศ วะสี กับ “ประชานิยม” ของทักษิณ ต่างกันอย่างไร?
“ประสิทธ์ชัย หนูนวล” บอกว่า “เท่าที่ผมเห็น (ประชารัฐ) ก็เป็นประชานิยมที่ไม่ต่างกับรัฐบาลก่อน จะต่างก็แค่รัฐบาลนี้แก้กฎหมายให้ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างถูกกฎหมาย”
แสดงว่าเครือข่ายหมอประเวศสนับสนุนโครงการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างถูกกฎหมาย สรุปแบบนี้ได้มั้ย? #เครือข่ายคนดี
.....
ประสิทธิ์ชัย หนูนวล
ถ้ากลัวการกด Like ก็ลองอ่านเฉยๆดูนะครับ(ยิ่งกลัวเราก็ยิ่งถูกริดลอนมากขึ้นทุกวัน) สำหรับผม๔ปีมันใกล้นิดเดียว
๔ ปีหลังจากนี้คนไทยจะเผชิญกับอะไรจากการวางรากฐานวันนี้ของ คสช.
.........
๑. วิกฤติสิ่งแวดล้อม...จากการเปิดโอกาสให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อมแบบถูกกฎหมายด้วย ม.๔๔ ทั้งการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ การทำลายป่าไม้จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมอันตรายบนพื้นที่อ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม และยังหมายรวมถึงคุณภาพน้ำและอากาศ ซึ่งวิกฤติดังกล่าวนี้จะกระทบต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจและสุขภาพของคนไทย ที่ผ่านมายังไม่เคยออกกฎหมายให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมเท่ารัฐบาลทหารชุดนี้มาก่อน
๒. วิกฤติอาหาร....ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อยๆเกิด แต่คงไม่ได้หมายถึงความอดอยากเสียทีเดียว ประเด็นสำคัญคือการกุมสภาพอาหารของบรรษัทขนาดใหญ่ไว้แต่เพียงผู้เดียว การทำลายสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นที่บรรษัทขนาดใหญ่ไม่สนใจเนื่องจากว่า ยิ่งทำลายสิ่งแวดล้อมศักยภาพการผลิตของคนเล็กคนน้อยจะหายไป บรรษัทขนาดใหญ่จะกุมสภาพคนทั้งประเทศได้ง่ายมากขึ้น เราจึงไม่เคยเห็นบรรษัทการเกษตรขนาดใหญ่ออกมาปกป้องสิ่งแวดล้อมเลยทั้งที่โดยทั่วไปน่าจะต้องโวยวายให้มาก มันคือเกมส์การลดทอนศักยภาพของคนเล็กคนน้อยเพื่อกุมสภาพระบบอาหารให้ได้มากที่สุด คนไทยจึงต้องทำงานหนักเพื่อส่งเงินให้บรรษัทขนาดใหญ่ผ่านรายการอาหารวันละหลายเมื้อ รัฐบาลนี้ส่งเสริมการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลและเอื้อให้บรรษัทขนาดใหญ่เช่าที่ได้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้มาจากการยกเลิกกฎหมายป่าไม้และอุทยาน มันคืออะไร?
๓. วิกฤติพลังงาน...เกมส์การผูกขาดพลังงานจะยังคงอยู่ในฟอสซิลต่อไปภายใต้การหน้ามืดของ คสช.เชียร์ถ่านหินนิวเคลียร์ ค่าไฟจะยังคงแพงมาก เนื่องจากว่ามันคือการผูกขาดของกลุ่มทุน ลองเข้าไปศึกษาดูสิครับว่ากลุ่มทุนที่ผลิตไฟฟ้าในไทยมีอยู่กี่กลุ่ม และการผลิตไฟฟ้าโดยบริษัทลูกของ กฟผ.และเอกชนอื่นกลายเป็นผู้ผลิตกลุ่มใหญ่ นอกจากนี้พลังงานยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมจากมลพิษอีกด้วย อืมลองไปดูสิครับว่าบรรษัทพลังงานกับบรรษัทอาหารนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ส่วนพลังงานหมุนเวียนนั้นจะยังคงไม่โต เพราะบรรษัทพลังงานกลัวสูญเสียรายได้และรัฐก็ขี้ขลาดเกินไปในการออกมาตราการที่เอื้อให้พลังงานหมุนเวียนโต
๔. วิกฤติการเงิน...ความอ่อนแอในภาคการเงินจะครอบคลุมสังคมไทยมากขึ้น คนจะจนลงระยะห่างของรายได้จะห่างออกไปอีกจากการผูกขาดและการไม่มีฝีมือของรัฐบาลในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งหรือไม่ก็ตั้งใจไม่ให้เข้มแข็ง เมื่อภาคการเงินอ่อนแอจะทำให้กลุ่มทุนใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดตีกินประเทศไทย
สำหรับผมแล้ว ๔ วิกฤติดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยกลไกตลาดแต่เป็นความตั้งใจให้เกิดขึ้น ลองนึกดูสิครับมีรัฐบาลที่ไหนที่แก้กฎหมายให้ทำลายสิ่งแวดล้อมได้มากขนาดนี้ ลองไปดูกิจการในเขตเศรษฐกิจสิครับพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นบริษัทไหนจะได้เช่าในราคาถูก มีนโยบายไหนบ้างที่เป็นการสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตจริงให้กับคนไทย เท่าที่ผมเห็นก็เป็นประชานิยมที่ไม่ต่างกับรัฐบาลก่อน จะต่างก็แค่รัฐบาลนี้แก้กฎหมายให้ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างถูกกฎหมาย
บริษัทประชารัฐสามัคคีประเทศไทยคือคำอธิบายทั้งหมดพวกเขาจะทำงานหน้าฉากคือการทำนโยบายสงเคราะห์ชุมชน ส่วนหลังฉากหุ้นส่วนเขาทำอะไรกัน ลองเดากันดูสิครับ
ส่งท้ายว่า .... วิกฤติทั้ง ๔ นี้มีการพูดถึงกันมานานและค่อยๆเกิดให้เราเห็น แต่หลังจากนี้มันจะทวีความรุนแรงอีกหลายเท่าเพราะอำนาจที่มันเบ็ดเสร็จ จำได้ไหมครับ นักการเมืองไม่กล้าทำหลายอย่างเพราะเกรงประชาชน ส่วนทหารไม่เกรงประชาชน กลุ่มทุนเลยชอบมากกับความเร็วแบบนี้ จึงอย่าได้แปลกใจว่าทำไมบรรดาบรรษัทขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดจึง
'กอดคอกับรัฐบาลทหาร'