#VoiceOnline #VoiceTV
ที่สุดแห่งปี "ปฏิรูป = ล้มล้าง ?" ‘ใบตองแห้ง’ คุยกับ ’วรเจตน์’
Premiered Dec 30, 2021
Atukkit Sawangsuk
8h ·
...ศาลพูดถึงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า แม้คณะราษฎรจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็ยังให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีการเรียกระบอบการปกครองนี้ว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
:
การที่ศาลอ้างแบบนี้เหมือนกับว่า ศาลเข้าใจว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวระบอบประชาธิปไตย กับ ส่วนประมุขของรัฐ มันคือการผนวกระบอบการปกครองกับรูปแบบของรัฐเข้าไว้ด้วยกัน ...ถ้าความเข้าใจเป็นแบบนี้ แปลว่า การกระทำใดๆ ก็ตามที่คงประชาธิปไตยเอาไว้ในทางระบอบและคงสถานะความเป็นประมุขของรัฐเอาไว้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ จะถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือล้มล้างการปกครอง
:
ถ้าศาลเห็นว่า 2 ส่วนนี้เมื่อมาผสมกันแล้ว มันไม่ได้ mix กันแบบเพียวๆ อย่างที่ผมพูด คือ ระบอบประชาธิปไตยอันหนึ่ง กับอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุขอันหนึ่ง เมื่อผนวกรวมกันมันส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ในแง่ที่ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นอาจจะกระทบต่อตัวประชาธิปไตยด้วย แปลว่าระบอบนี้มีลักษณะบางเพิ่มเติมขึ้นมาจากระบอบประชาธิปไตยปกติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐที่ประเทศอื่นเขาก็มี มีลักษณะแบบไทยที่เมื่อเพิ่มคำว่า "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แล้ว พระราชสถานะ พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์นั้นกระทบกระเทือนหรือทำให้ตัวระบอบประชาธิปไตย มันไม่เป็นเหมือนที่คนอื่นเขาเป็น ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเขียนว่าแค่ไหนบ้าง เราจะได้รู้ว่าแค่ไหน และรู้ว่าถ้าไปเปลี่ยนอันนี้จะกระทบกับตัวระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แน่นอน ถึงจุดหนึ่ง เราอาจถามว่ายังใช้ชื่อระบอบประชาธิปไตยได้หรือเปล่าหรือว่าไม่ได้แล้ว เพราะไม่อย่างนั้นมันจะงงมาก
:
สมมติเราเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ สมมติว่าฝ่ายการเมืองแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวายมาก มีคนเสนอว่าควรถวายพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ ยังมีระบบเลือกตั้งอยู่ มี ส.ส.เหมือนเดิม แต่ฝ่ายบริหารนั้นให้พระมหากษัตริย์ตั้งนายกรัฐมนตรีเองตามพระราชอัธยาศัย นายกฯ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา นายกฯ รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ส่วนสภายังมีอำนาจในการออกกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจในการควบคุมอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกฯ สมมติเป็นระบอบแบบนี้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือเปล่า อันนี้เป็นการเพิ่มพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์นะ ให้พระองค์ตั้งนายกฯ เอง ไม่ต้องมีคนลงนามรับสนองเลย เราจะตอบว่าเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เราต้องเห็นลักษณะสำคัญของตัวระบอบนี้ ถึงจะตอบได้ว่าเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ซึ่งน่าเสียดายว่าเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนในคำวินิจฉัย
.........................................
(ผมว่าถ้าเขียนขนาดนั้น ให้กษัตริย์ตั้งนายกฯ เอง แต่ยังมีเลือกตั้ง มีสภา ศาลรัฐธรรมนูญก็จะบอกว่าเป็น "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข")
Atukkit Sawangsuk
8h ·
มีแง่มุมขำๆ ที่ อ.วรเจตน์ตั้งข้อสังเกต
คือคำวินิจฉัยกลางนั้น ไม่ได้เขียนอธิบายเหตุผลอย่างเป็นระบบ
เพราะมันเป็นการเขียนโดยไปเอาคำวินิจฉัยของตุลาการ 4-5 คน ที่มี signature มากองรวมๆ กัน
อันนี้ อ.แนะนำว่าให้ไปอ่านคำวินิจฉัยกลาง แล้วอ่านคำวินิจฉัยแต่ละคน
จะเห็นชัดเลยว่าตัดของใครมาแปะต่อกัน
.....................................
"จากการอ่านความเห็นส่วนตนของตุลาการทุกคนแล้ว ผมพบว่าตัวคำวินิจฉัยที่เป็นของกลาง เกิดจากการเอาของแต่ละคนมาประกอบสร้างรวมกัน มีตุลาการ 4-5 คนที่มีซิกเนเจอร์ในคำวินิจฉัย เอามาประโยคหนึ่งบ้าง ห้าประโยคบ้างอยู่ในคำวินิจฉัยกลาง พอเป็นแบบนี้มันเลยไม่มีแกนกลางในการเชื่อมตัวคำวินิจฉัยให้มันมีเหตุผลในทางนิติศาสตร์หรือในทางระบบให้มันมีความหนักแน่นเพียงพอ"
...
Thrapong Wisetthawan
ปท ไทยเป็นปท เดียวในโลก ที่พยายามรักษากษัตริย์นิยมไว้อย่างเหนียวแน่น โดยพยายามผสมสูตรให้เข้ากับ ปชต สากลให้ได้ และคำตัดสินของตลก หนนี้ ยิ่งทำให้ ปชต อันมีกษัตริย์เป็นประมุข ดูคลุมเครืออย่างมีนัยยะสำคัญ คนไทยจึงตกในสภาพอึดอัดดังที่เป็นอยู่ กลไกรัฐ กลไกสังคม มีรากฐานการปกครองที่ขัดแย้งกันเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปท ป่วยอย่างชัดเจน และโครงสร้างเหลื่อมล้ำยิ่งทำให้คนชั้นล่างจนยิ่งขึ้น ขณะที่พวกอีลิทไม่อาจหยุดกอบโกยจากโครงสร้างเหลื่อมล้ำต่อไปโดยไม่สะดุดสักนิด เขาทำนองเราจะโตแบบเดี้ยงๆ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือไม่
ที่สุดแห่งปี "ปฏิรูป = ล้มล้าง ?" ‘ใบตองแห้ง’ คุยกับ ’วรเจตน์’
Premiered Dec 30, 2021
Atukkit Sawangsuk
8h ·
...ศาลพูดถึงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า แม้คณะราษฎรจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็ยังให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีการเรียกระบอบการปกครองนี้ว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
:
การที่ศาลอ้างแบบนี้เหมือนกับว่า ศาลเข้าใจว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวระบอบประชาธิปไตย กับ ส่วนประมุขของรัฐ มันคือการผนวกระบอบการปกครองกับรูปแบบของรัฐเข้าไว้ด้วยกัน ...ถ้าความเข้าใจเป็นแบบนี้ แปลว่า การกระทำใดๆ ก็ตามที่คงประชาธิปไตยเอาไว้ในทางระบอบและคงสถานะความเป็นประมุขของรัฐเอาไว้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ จะถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือล้มล้างการปกครอง
:
ถ้าศาลเห็นว่า 2 ส่วนนี้เมื่อมาผสมกันแล้ว มันไม่ได้ mix กันแบบเพียวๆ อย่างที่ผมพูด คือ ระบอบประชาธิปไตยอันหนึ่ง กับอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุขอันหนึ่ง เมื่อผนวกรวมกันมันส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ในแง่ที่ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นอาจจะกระทบต่อตัวประชาธิปไตยด้วย แปลว่าระบอบนี้มีลักษณะบางเพิ่มเติมขึ้นมาจากระบอบประชาธิปไตยปกติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐที่ประเทศอื่นเขาก็มี มีลักษณะแบบไทยที่เมื่อเพิ่มคำว่า "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แล้ว พระราชสถานะ พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์นั้นกระทบกระเทือนหรือทำให้ตัวระบอบประชาธิปไตย มันไม่เป็นเหมือนที่คนอื่นเขาเป็น ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเขียนว่าแค่ไหนบ้าง เราจะได้รู้ว่าแค่ไหน และรู้ว่าถ้าไปเปลี่ยนอันนี้จะกระทบกับตัวระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แน่นอน ถึงจุดหนึ่ง เราอาจถามว่ายังใช้ชื่อระบอบประชาธิปไตยได้หรือเปล่าหรือว่าไม่ได้แล้ว เพราะไม่อย่างนั้นมันจะงงมาก
:
สมมติเราเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ สมมติว่าฝ่ายการเมืองแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวายมาก มีคนเสนอว่าควรถวายพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ ยังมีระบบเลือกตั้งอยู่ มี ส.ส.เหมือนเดิม แต่ฝ่ายบริหารนั้นให้พระมหากษัตริย์ตั้งนายกรัฐมนตรีเองตามพระราชอัธยาศัย นายกฯ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา นายกฯ รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ส่วนสภายังมีอำนาจในการออกกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจในการควบคุมอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกฯ สมมติเป็นระบอบแบบนี้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือเปล่า อันนี้เป็นการเพิ่มพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์นะ ให้พระองค์ตั้งนายกฯ เอง ไม่ต้องมีคนลงนามรับสนองเลย เราจะตอบว่าเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เราต้องเห็นลักษณะสำคัญของตัวระบอบนี้ ถึงจะตอบได้ว่าเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ซึ่งน่าเสียดายว่าเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนในคำวินิจฉัย
.........................................
(ผมว่าถ้าเขียนขนาดนั้น ให้กษัตริย์ตั้งนายกฯ เอง แต่ยังมีเลือกตั้ง มีสภา ศาลรัฐธรรมนูญก็จะบอกว่าเป็น "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข")
Atukkit Sawangsuk
8h ·
มีแง่มุมขำๆ ที่ อ.วรเจตน์ตั้งข้อสังเกต
คือคำวินิจฉัยกลางนั้น ไม่ได้เขียนอธิบายเหตุผลอย่างเป็นระบบ
เพราะมันเป็นการเขียนโดยไปเอาคำวินิจฉัยของตุลาการ 4-5 คน ที่มี signature มากองรวมๆ กัน
อันนี้ อ.แนะนำว่าให้ไปอ่านคำวินิจฉัยกลาง แล้วอ่านคำวินิจฉัยแต่ละคน
จะเห็นชัดเลยว่าตัดของใครมาแปะต่อกัน
.....................................
"จากการอ่านความเห็นส่วนตนของตุลาการทุกคนแล้ว ผมพบว่าตัวคำวินิจฉัยที่เป็นของกลาง เกิดจากการเอาของแต่ละคนมาประกอบสร้างรวมกัน มีตุลาการ 4-5 คนที่มีซิกเนเจอร์ในคำวินิจฉัย เอามาประโยคหนึ่งบ้าง ห้าประโยคบ้างอยู่ในคำวินิจฉัยกลาง พอเป็นแบบนี้มันเลยไม่มีแกนกลางในการเชื่อมตัวคำวินิจฉัยให้มันมีเหตุผลในทางนิติศาสตร์หรือในทางระบบให้มันมีความหนักแน่นเพียงพอ"
...
Thrapong Wisetthawan
ปท ไทยเป็นปท เดียวในโลก ที่พยายามรักษากษัตริย์นิยมไว้อย่างเหนียวแน่น โดยพยายามผสมสูตรให้เข้ากับ ปชต สากลให้ได้ และคำตัดสินของตลก หนนี้ ยิ่งทำให้ ปชต อันมีกษัตริย์เป็นประมุข ดูคลุมเครืออย่างมีนัยยะสำคัญ คนไทยจึงตกในสภาพอึดอัดดังที่เป็นอยู่ กลไกรัฐ กลไกสังคม มีรากฐานการปกครองที่ขัดแย้งกันเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปท ป่วยอย่างชัดเจน และโครงสร้างเหลื่อมล้ำยิ่งทำให้คนชั้นล่างจนยิ่งขึ้น ขณะที่พวกอีลิทไม่อาจหยุดกอบโกยจากโครงสร้างเหลื่อมล้ำต่อไปโดยไม่สะดุดสักนิด เขาทำนองเราจะโตแบบเดี้ยงๆ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือไม่