วันเสาร์, กรกฎาคม 12, 2568

เรื่องพิษของ Blue dragon "มังกรทะเลสีน้ำเงิน" อันตรายแค่ไหน มีคนสรุปให้ฟัง


Tensia
8 hours ago
·
เนื่องจากมีคนสอบถามเรื่องพิษของ Blue dragon ที่กำลังเป็นไวรัลช่วงนี้ เลยสรุปมาให้อ่านกันค่ะ
.
1. Blue dragon เป็น sea slug ประเภทหนึ่ง ที่พบได้ในมหาสมุทรอินเดียได้บ่อยคือ Glaucus atlanticus (ในภาพ) กับ Glaucus marginatus อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหอยพวกทาก (Phylum: Mollusca) ค่ะ
.
2. น้องสีสวยแต่อันตราย เพราะปลายขน (Cerata) จะมีถุง Cnidosac ที่บรรจุโครงสร้างยิงเข็มพิษนามว่า Nematocyst ที่พร้อมยิงได้ทันทีหากสัมผัส
.
3. ประเด็นสำคัญคือ ปืนยิงพิษนี้น้องไม่ได้สร้างเอง แต่อาศัยเก็บมาจากพวกสัตว์กลุ่มแมงกะพรุน (Siphonophore) เช่น แมงกะพรุนหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man o’ War) ซึ่งน้องจะใช้ Cerata จับแล้วกิน ย่อยเอาเซลล์ที่คลุมปืนยิงออก (cnidocyte) แล้วเก็บเฉพาะปืนยิงพิษไปใส่ปลายขน
.
4. แถมถุงที่เก็บ มันยังให้พิษที่เข้มข้นกว่าเจ้าตัวแมงกะพรุนอีก ทำให้สัตว์เล็กๆ ที่โดนไปคือแทบขิต นิ่งเป็นอัมพาตได้เลยค่ะ แล้วน้องก็จับกินสบายๆ
หากมนุษย์ไปสัมผัส ความดันที่กระทำต่อ cnidosac จะเหมือนเปิดสวิตช์เคมี ส่งไปให้ปืนยิงพิษที่ไปขโมยมานั้น ยิงตัวเข็มออกไป ปักผิวหนังเราแล้วฉีดพิษเข้าไป ดั่งหลอดฉีดยา (เดี๋ยวแปะภาพไว้ข้างล่าง) แต่หลายครั้งตัวปืนยืงพิษก็เกาะอยู่เฉยๆ ยังไม่ได้เกิดกลไกยิงเข้าไปค่ะ
.
5. มาถึงจุดที่ถามกันมาแล้วค่ะ พิษมันมีอะไรบ้าง คือพิษมันจะรันไปตาม nematocyst เลยค่ะ คือ
Phospholipase A2: ย่อยเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวหนังที่มนุษย์สัมผัสเกิดเซลล์ตาย แล้วกระตุ้นการอักเสบรุนแรงได้ ซึ่งจริงๆ ตัวนี้ก็พบในพิษงูนะ
Metalloprotease: จะทำงานร่วมกับตัวย่อยเซลล์ อันนี้คือตัวย่อยเส้นใยระหว่างเซลล์ค่ะ ทำให้คอมโบกับข้างบนแล้ว เนื้อเยื่อเสียหายเยอะ
กลุ่มพิษเจาะเซลล์โดยเฉพาะ เช่น actinoporins, jellyfish toxin ฯลฯ อันนี้แล้วแต่ว่าไปกินตัวไหนมา แต่หลักการคล้ายกันคือ ไปติดตั้งบนผิวเซลล์เยื่อแล้วล้อมตัวเป็นรู ให้เซลล์เป้าหมายมีสารน้ำรั่วออกมาหรือทะลักเข้าจนตาย
กลุ่ม Neurotoxin: อันนี้เป็นของหากินของน้องเลย คือตัวพิษจะปิดประตูสร้างกระแสไฟฟ้าค่ะ (พวกช่องเกลือแร่ เช่น sodium channel) ทำให้เซลล์ประสาทเหยื่อไม่สามารถสร้างสัญญาณประสาทได้ อัมพาต ชา ไปเลย แต่ข่าวดีคือตัวพิษนี้มันไม่ได้รุนแรงสำหรับสัตว์ใหญ่อย่างมนุษย์ค่ะ เทียบแล้วเบากว่า Tetrodotoxin ของพวกปลาปักเป้า (ซึ่งปลาก็ไม่ได้สร้างเช่นกัน)
กลุ่มสารก่ออักเสบ เช่น serotonin, histamine, bradykinin: พวกนี้คอยขยายหลอดเลือด ทำให้สารน้ำรั่ว
.
6. ทำให้อาการหลักคือ
ผิวหนังบวมแดงได้ เพราะเจอกลุ่มเอนไซม์ย่อยเซลล์ย่อยเส้นใย ทำให้หนังกำพร้า-หนังแท้ เซลล์ตายลอกได้
ผื่นลมพิษผุดขึ้นมา เพราะเจอสาร histamine โดยตรง
ปวดแสบปวดร้อนมาก เพราะเซลล์ที่ตายปล่อยสารกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวด free nerve ending ที่ผิวหนัง
หากโดนเข้ามาเยอะ ตัวพิษจะเริ่มเข้าเลือดเยอะขึ้น เริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะกระตุ้นศูนย์อาเจียนที่ก้านสมอง บางคนโดน neurotoxin เยอะขึ้น เริ่มมีผลต่อกล้ามเนื้อหายใจ หายใจลำบาก
คนที่ซวยมากๆ คือแพ้โปรตีนในตัวพิษค่ะ ซึ่งเจอได้บ่อยเพราะโครงสร้างโปรตีนมันใหญ่ และเราไม่ค่อยรู้จัก (คล้ายกับแพ้พิษงูนั่นแหละ) ดังนั้นเหล่าเม็ดเลือดขาว mast cell จะปลดปล่อยสารก่ออักเสบรุนแรงมาก จนหลอดลมตีบ หายใจไม่ออก แน่นอก, หลอดเลือดขยายจนความดันตก เกิดภาวะแพ้แบบรุนแรง anaphylaxis เสียชีวิตได้
.
7. คนที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มคนที่มีร่างกายไม่พร้อมสำหรับการรับมือกับพิษที่เข้าสู่เลือด เช่น เด็กเล็ก คนแก่ หรือมีโรคหัวใจ/โรคทางเดินหายใจเดิม คือถ้าเกิดแพ้รุนแรงมา จะเพิ่มอัตราเสียชีวิตสูงขึ้นค่ะ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=122253206318214982&set=a.122099461634214982




https://x.com/ThaiPBS/status/1943698242459648128