วันศุกร์, กรกฎาคม 25, 2568

ฝ่ายใดได้ประโยชน์จากการตอบโต้ทางทหารครั้งล่าสุด ? ... ไม่มี... สงครามเล็ก สงครามใหญ่ สงครามไหนๆ ประชาชนก็พ่ายแพ้ No one wins in war 🌑


Chumpol Wan
7 hours ago
·
สงครามเล็ก
สงครามใหญ่
สงครามไหนๆ
ประชาชนก็พ่ายแพ้
ไม่มีชนชั้นนำ ไม่มีสงคราม
ไม่มีสงคราม ไม่มีคราบน้ำตา
ไม่มีคน ไม่มีสงคราม ไม่มีคราบน้ำตา
No one wins in war

https://www.facebook.com/photo/?fbid=24172675375700976&set=a.400787883316392
.....

ฝ่ายใดได้ประโยชน์จากการตอบโต้ทางทหารครั้งล่าสุด

ทั้งนายวิชานาและนายแมทธิวเห็นตรงกันว่า ไม่มีประเทศใดได้ประโยชน์จากเหตุปะทะครั้งนี้ และน่าเศร้าที่ประชาชนตามแนวชายแดนกลับได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมากที่สุด

"ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาถูกกระทบกระเทือนจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นและการปิดพรมแดนที่ยืดเยื้อมาหลายเดือน บางคนถึงกับต้องสูญเสียชีวิตไปแล้ว" นายแมทธิว กล่าว

ด้าน นายวีร็อก อู กล่าวว่าจากสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปได้อย่างมากที่กัมพูชาจะเดินหน้าผลักดันให้ข้อพิพาทชายแดนกับไทยกลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเขาเชื่อว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะอยู่ข้างกัมพูชา

กลยุทธ์นี้รวมถึงการเรียกร้องให้มีคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย หรือการยื่นเรื่องต่อองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

"กัมพูชาจะพยายามดึงประเด็นเข้าสู่เวทีโลกแน่นอน เพราะเราเป็นรัฐเล็กกว่า และเราก็เชื่อว่ากฎหมายระหว่างประเทศอยู่ฝ่ายเรา" นายวีร็อกกล่าว

เขายังระบุว่า ความแตกแยกภายในของไทย และการที่แต่ละฝ่ายไม่ไว้วางใจกันเอง ทั้งทางการเมืองและกองทัพ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการลดความตึงเครียดและหาทางประนีประนอม พร้อมระบุว่าเป้าหมายหลักของกัมพูชาคือการนำสถานการณ์กลับสู่จุดเดิมก่อนเกิดความขัดแย้ง โดยใช้วิกฤตครั้งนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมบนเวทีระหว่างประเทศ

"ผมคิดว่ากัมพูชาจะชนะในเป้าหมายนั้น" นายวีร็อก กล่าว

เหตุการณ์กำลังมุ่งหน้าไปทางทิศใด

นายวิชานา นักวิชาการจากกัมพูชา ประเมินว่าสถานการณ์อาจยกระดับจากกรณีพิพาทพื้นที่ชายแดนทางบกไปสู่กรณีพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีปในทะเล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อพิพาทของทั้งสองประเทศ

ขณะที่ นายแมทธิว มองว่าหากเหตุปะทะยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ "มีแนวโน้มว่ากัมพูชาจะได้รับความสูญเสียอย่างหนัก หากการสู้รบยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากความได้เปรียบทางทหารอยู่ที่ฝ่ายไทย"

ผู้เชี่ยวชาญจาก ICG เสนอว่าทั้งสองประเทศควรดำเนินมาตรการลดความตึงเครียด และแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ด้วยวิธีการสันติ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียชีวิตเพิ่มเติม

ด้าน นายวีร็อก ชี้ว่าสิ่งที่ควรทำตอนนี้คือการหยุดยิงชั่วคราว แล้วกลับไปสู่การเจรจา โดยอาจเริ่มต้นจากการเปิด-ปิดด่านชายแดน

"แค่เปิดด่านกลับมาให้เป็นเหมือนเดิม กัมพูชาก็ให้สัญญามาหลายครั้งแล้วว่า ถ้าฝั่งไทยเปิด ฝั่งกัมพูชาจะเปิดภายใน 5 ชั่วโมงอย่างเร็วที่สุด นี่เป็นทางออกที่ง่ายมาก ไม่ต้องมีการเจรจาอะไรซับซ้อนด้วยซ้ำ" เขาบอก

อย่างไรก็ดี ทางการไทยยืนยันมาเสมอว่าไม่มีนโยบายปิดด่าน โดย พล.ร.ต.สุรสันติ คงสิริ โฆษกศูนย์เฉพาะกิจชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) บอกว่า "ที่ผ่านมาเป็นการควบคุมด่านต่าง ๆ ที่เข้มข้นขึ้น" โดยเฉพาะการจำกัดจำนวนคน และการจำกัดเวลาการเข้า-ออก

นักวิเคราะห์จากกัมพูชายังเสนอเพิ่มเติมด้วยว่าทั้งสองประเทศควรกลับไปสู่สถานะเดิมที่เคยเป็นมา นั่นคือการลาดตระเวนร่วมกันในพื้นที่พิพาททั้ง 4 แห่ง ซึ่งทำกันมาเกิน 15 ปีแล้ว

"อย่างน้อยมันก็ช่วยลดความตึงเครียดลงได้มาก" นายวีร็อก บอกกับบีบีซีไทย
.....

ส่วนหนึ่งของบทความ
วิเคราะห์ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เหตุใดจึงยกระดับสู่ความรุนแรงอย่างมากในวันเดียว
บีบีซีไทย

อ่านบทความเต็มที่
https://www.bbc.com/thai/articles/c2ezek0p10jo