Punsak Srithep
6h
#มิตรสหายท่านนั้น
Yesterday
ทนายหญิงจะใส่กางเกงว่าความได้แล้ว? ย้อนไทม์ไลน์ สภาทนายความ-เนติฯ ไม่แก้ข้อบังคับแต่งกาย
.
แม้หลายอาชีพจะให้ผู้หญิงสามารถสวมใส่กางเกงขณะทำงานได้ แต่บางอาชีพก็ยังมีกรอบกำหนดการแต่งกายโดยยึดโยงกับเพศกำหนด อาชีพทนายความ ก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่ยังมีกรอบในการแต่งกายอยู่ จะเห็นได้จากข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 20 กำหนดให้ในเวลาว่าความ ทนายความหญิงต้องใส่กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังส่งผลต่อเส้นทางอาชีพของทนายความด้วย เพราะการฝ่าฝืนข้อบังคับ เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มีโทษสามสถาน คือ ภาคทัณฑ์ ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
.
ถึงแม้ข้อบังคับดังกล่าวจะใช้มากว่า 36 ปีโดยที่ยังกำหนดเครื่องแต่งกายทนายแบ่งแยกตามเพศ แต่แนวโน้มกฎระเบียบดังกล่าวอาจจะถูกแก้ไขในอนาคต เพราะเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) วินิจฉัยว่าการใช้ข้อบังคับ หรือการกำหนดวิธีปฏิบัติของสภาทนายความ และเนติบัณฑิตยสภา (เนติฯ) เข้าลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 จึงมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ขัดแย้งกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อรับรองสิทธิทนายความหญิงให้สามารถสวมกางเกงหรือกระโปรงเมื่อสวมเสื้อครุยขณะว่าความในศาลได้
.
ย้อนมหากาพย์ต่อสู้ 2 ปี สภาทนายความ เนติฯ ไร้วี่แววแก้ข้อบังคับแต่งกาย
.
ข้อเสนอปลดล็อกข้อจำกัดการแต่งกายทนายความสำหรับการว่าความในศาล ไม่ได้เพิ่งมีในปี 2565 ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เคยทำแคมเปญเปิดให้ทนายความมาร่วมลงชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ (ข้อบังคับฯ) และเมื่อ 10 มิถุนายน 2563 ทนายความจากสนส. ก็เข้าพบตัวแทนสภาทนายความ เพื่อยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อทนายความ 126 คน เสนอให้แก้ไขข้อบังคับฯ เป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ที่กำหนดให้ทนายความไม่น้อยกว่า 100 คนมีสิทธิเสนอขอให้คณะกรรมการสภาทนายความพิจารณาแก้ไขข้อบังคับฯ ได้
.
หากพิจารณาจากอาชีพที่ใกล้เคียงกันอย่างข้าราชการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2556 ก็ยังให้ข้าราชการอัยการหญิงสวมกางเกงปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ดี สภาทนายความก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะแก้ไขข้อบังคับฯ อย่างจริงจัง เพราะต่อมาเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563 สภาทนายความทำหนังสือตอบกลับมายังสนส. ใจความว่า เรื่องการแต่งกายทนายความหญิงตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกาย ข้อ 20 (2) กำหนดไว้ว่าทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพ ไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น เนื่องจากในข้อบังคับฯ ดังกล่าวมิได้ห้ามทนายความหญิงมิให้สวมใส่กางเกงว่าความไว้ ในชั้นนี้เห็นว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรในการแก้ไขข้อบังคับฯ
.
ขยับมาช่วงต้นปี 2564 เมื่อวันที่ 26 มกราคม สนส. ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและสภาทนายความ ขอให้ประกาศแนวปฏิบัติว่าตามที่สภาทนายความตีความว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ทนายความหญิงสวมใส่กางเกงในการว่าความ ดังนั้น ทนายความหญิงสามารถแต่งกายโดยสวมใส่กางเกงว่าความในศาลได้ แต่ทางฟากศาลก็ไม่ได้ประกาศแนวปฏิบัติให้รับกับความเห็นของสภาทนายความนัก จะเห็นได้จากหนังสือตอบกลับของสำนักประธานศาลฎีกา เมื่อ 14 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีใจความว่า การแต่งกายของบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความในเวลาว่าความนั้น หากบุคคลนั้นมีสิทธิสวมครุยเนติบัณฑิต ย่อมต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย ตามข้อ 20 (4) ของข้อบังคับฯ รวมทั้งต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 17 แห่งข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ด้วย
.
หากไปดู ข้อบังคับเนติฯ ข้อ 17 ก็จะพบว่า ข้อบังคับดังกล่าวก็กำหนดการแต่งกายยึดโยงกับเพศเช่นกัน โดยกำหนดให้สมาชิกเนติฯ ที่เป็นหญิง แต่งกายแบบสากลนิยม “กระโปรง” สีขาว กรมท่า ดำ หรือสีอื่นซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรง รองหุ้มส้นสีขาว น้ำตาล สีดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย ซึ่งก็เป็นการกำหนดที่ไม่ได้แตกต่างจากข้อบังคับฯ ของสภาทนายความมากนัก
.
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่องค์กร “เสาหลัก” แห่งวิชาชีพกฎหมาย ยังไร้ทีท่าว่าจะขยับ กลุ่มทนายความด้านสิทธิก็ใช้อีกหนึ่งกลไก อาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ วลพ. เพื่อให้วินิจฉัยหรือมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ แก้ไขข้อบังคับ ให้การแต่งกายไม่ต้องกำหนดเพศ ใช้ข้อความที่เป็นกลางทางเพศ
.
ทนายหญิงร้องวลพ. เหตุผู้พิพากษาตรวจใส่กระโปรงหรือไม่แม้ว่าความออนไลน์
.
กลไกการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ วลพ. เริ่มต้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565 จิดาภา คงวัฒนกุล ซึ่งเป็นผู้ร้อง เป็นทนายความที่มีเพศกำหนดหญิง ประสบกับปัญหาที่ผู้พิพากษาคอยตรวจตราว่าเธอสวมใส่กระโปรงขณะว่าความหรือไม่ และจดบันทึกเกี่ยวกับการแต่งกายทนายความในรายงานกระบวนการพิจารณา
.
เรื่องราวที่นำมาสู่การร้องเรียน เริ่มเมื่อ 4 เมษายน 2565 จิดาภาทำหน้าที่เป็นทนายความในคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรสาคร มีผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้สอบถามผู้ร้องว่าสวมกางเกงมาว่าความหรือไม่ และผู้พิพากษาในคดีดังกล่าวได้เรียกไปสอบถาม อีกทั้งยังบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “ทนายโจทก์เป็นผู้หญิงสวมกางเกงมาศาลจึงให้มีหนังสือแจ้งและสอบถามสภาทนายความว่าเป็นการกระทำที่ปฏิบัติตามมรรยาทสภาทนายความหรือไม่ เพื่อจะได้มีคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”
.
27 พฤษภาคม 2565 จิดาภาไปว่าความคดีศาลจังหวัดสมุทรสาครเช่นเดิม ศาลก็ยังบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “เนื่องจากในวันนัดพิจารณาเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานวันที่ 4 เมษายน 2565 ทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงสวมกางเกงขณะปฏิบัติหน้าที่และศาลได้มีหนังสือแจ้งสภาทนายความแล้วจึงกำชับทนายโจทก์ให้แต่งกายให้ถูกต้องตามข้อบังคับสภาทนายความ และข้อบังคับเนติฯ แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์หากตรวจสอบพบว่าทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงสวมกางเกงขณะปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งก็จะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไป”
.
ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 แม้จะเป็นการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้พิพากษาก็แจ้งให้จิดาภาลุกขึ้นเพื่อตรวจสอบการแต่งกาย และบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “เนื่องจากในวันนัดพิจารณาและวันสืบพยานวันที่ 4 เมษายน 2565 ทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงแต่งกายโดยสวมกางเกงขณะสวมชุดครุยปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ในวันนี้จึงให้ทนายโจทก์ลุกขึ้นเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการแต่งกายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทนายโจทก์แต่งกายโดยสวมกระโปรงจึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป”
.
ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการ วลพ. ก็ได้เปิดให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง คือสภาทนายความ และเนติฯ ทำคำให้การเพื่อแก้ต่างด้วย ส่วนคำให้การของสภาทนายความ มีใจความว่า ผู้ที่จะเป็นสมาชิกสภาทนายความต้องเป็นสมาชิกเนติฯ การกำหนดข้อบังคับจึงเชื่องโยงกัน การบังคับใช้หลักเกณฑ์ของทั้งสองหน่วยงานจึงไม่อาจแยกจากกันได้ ซึ่งข้อบังคับของหน่วยงานทั้งสองก็กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งกายของสมาชิกโดยแบ่งแยกตามเพศชายและเพศหญิง แต่เหตุของการกำหนดข้อบังคับฯ ก็สืบเนื่องมาจากการทำงานของทนายความจะมีผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและทรัพย์สินประชาชน การใช้อำนาจดูแลทนายความจึงต้องเคร่งครัดเพื่อให้ทนายความอยู่ในกรอบของมรรยาทและจริยธรรม แต่สภาทนายความก็ไม่ได้ออกข้อบังคับห้ามมิให้ชายหรือหญิงเพศใดเพศหนึ่งประกอบวิชาชีพทนายความและเข้ารับฝึกอบรมวิชาว่าความ เพื่อประโยชน์ในการปกครองผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับการแต่งกาย จึงไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศแต่อย่างใด
.
ด้านเนติฯ ทำคำให้การมีใจความว่า ตั้งแต่อดีต ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ จะสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในการปฏิบัติหน้าที่ในศาล ซึ่งต่างจากผู้สำเร็จสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องสวมเสื้อครุยขณะปฏิบัติหน้าที่ การที่ผู้ร้องขอให้แก้ไขข้อบังคับเนติฯ ลบเงื่อนไขการแต่งกายออก ให้ทนายความหญิงซึ่งเป็นสมาชิกเนติฯ สามารถสวมกางเกงไปว่าความที่ศาลได้ ไม่น่าจะเป็นการเหมาะสมด้วยประเพณีและวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน เพราะในการพิจารณาคดีในศาล ผู้พิพากษา อัยการ ก็ยังแต่งกายตามหลักเกณฑ์ โดยการปฏิบัติหน้าที่ในศาล เป็นการปฏิบัติหน้าที่เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ การที่ทนายความหญิงจะสวมกางเกงในห้องพิจารณาจึงไม่เหมาะสม หากเนติฯ แก้ข้อบังคับดังกล่าว ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรเนติบัณฑิต ก็จะมีเนติบัณฑิตอ้างสิทธิขอสวมกางเกงเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานประกาศนียบัตรได้
.
คณะกรรมการ วลพ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นดังกล่าว เกี่ยวกับสิทธิในการแต่งกาย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 กำหนดให้ความแตกต่างในเรื่อง “เพศ” ไม่เป็นเหตุที่จะนำมาปฏิบัติต่อบุคคลแตกต่างกัน ทุกคนไม่ว่าเพศชายหรือหญิงย่อมมีสิทธิแต่งกายตามที่ประสงค์ การที่ข้อบังคับสภาทนายความและเนติฯ กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งกายของสมาชิกสำหรับเพศชายหรือหญิง เข้าลักษณะแบ่งแยก กีดกัน จำกัดสิทธิการแต่งกาย จากข้อบังคับทั้งสองฉบับ ที่กำหนดให้ทนายความหญิงต้องสวมกระโปรงเท่านั้นในเวลาสวมครุยว่าความ โดยไม่สามารถสวมกางเกงที่มีลักษณะสุภาพได้ เป็นการกำหนดกฎที่กีดกันและจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้สิทธิแต่งกายของทนายความหญิง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศหญิง ซึ่งถือว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” จึงมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ขัดแย้งกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อรับรองสิทธิทนายความหญิงให้สามารถสวมกางเกงหรือกระโปรงเมื่อสวมเสื้อครุยขณะว่าความในศาลได้ เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และให้ดำเนินการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ โดยการดำเนินการ ต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
.
ยังต้องจับตาต่อ สภาทนายความ เนติฯ จะปลดล็อกข้อบังคับแต่งกายหรือไม่
.
ถึงแม้ว่าคณะกรรมการ วลพ. จะมีคำวินิจฉัยแล้ว แต่ในทางกฎหมาย สภาทนายความและเนติฯ สามารถใช้กลไกของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ หากเห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ
.
ซึ่งก่อนหน้าที่คณะกรรมการ วลพ. จะมีคำวินิจฉัยนี้ สภาทนายความก็เคยฟ้องคณะกรรมการ วลพ. ต่อศาลปกครองกลางมาแล้ว เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1726/2565 จากรายงานข่าวของเวิร์คพอยต์ทูเดย์ คาดการณ์ว่ามูลเหตุการฟ้อง สืบเนื่องจากคณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยให้สภาทนายความ ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติเพื่อรับรองสิทธิของบุคคลที่มีการแสดงออกทางเพศแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดให้สามารถแต่งกายตามเพศสภาพของตนได้ สืบเนื่องจากนักกฎหมายหญิงข้ามเพศได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ วลพ.
.
จากทีท่าของสภาทนายความที่ผ่านมา อาจจะยังชี้ชัดไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าสภาทนายความจะดำเนินการแก้ไขข้อบังคับฯ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงต้องจับตากันต่อไปว่า สภาทนายความรวมถึงเนติฯ จะแก้ไขข้อบังคับเรื่องการแต่งกาย ปลดล็อกข้อจำกัดที่ยึดโยงกับเพศหรือไม่
.
.
.
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6330
ทนายหญิงจะใส่กางเกงว่าความได้แล้ว? ย้อนไทม์ไลน์ สภาทนายความ-เนติฯ ไม่แก้ข้อบังคับแต่งกาย
.
แม้หลายอาชีพจะให้ผู้หญิงสามารถสวมใส่กางเกงขณะทำงานได้ แต่บางอาชีพก็ยังมีกรอบกำหนดการแต่งกายโดยยึดโยงกับเพศกำหนด อาชีพทนายความ ก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่ยังมีกรอบในการแต่งกายอยู่ จะเห็นได้จากข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 20 กำหนดให้ในเวลาว่าความ ทนายความหญิงต้องใส่กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังส่งผลต่อเส้นทางอาชีพของทนายความด้วย เพราะการฝ่าฝืนข้อบังคับ เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มีโทษสามสถาน คือ ภาคทัณฑ์ ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
.
ถึงแม้ข้อบังคับดังกล่าวจะใช้มากว่า 36 ปีโดยที่ยังกำหนดเครื่องแต่งกายทนายแบ่งแยกตามเพศ แต่แนวโน้มกฎระเบียบดังกล่าวอาจจะถูกแก้ไขในอนาคต เพราะเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) วินิจฉัยว่าการใช้ข้อบังคับ หรือการกำหนดวิธีปฏิบัติของสภาทนายความ และเนติบัณฑิตยสภา (เนติฯ) เข้าลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 จึงมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ขัดแย้งกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อรับรองสิทธิทนายความหญิงให้สามารถสวมกางเกงหรือกระโปรงเมื่อสวมเสื้อครุยขณะว่าความในศาลได้
.
ย้อนมหากาพย์ต่อสู้ 2 ปี สภาทนายความ เนติฯ ไร้วี่แววแก้ข้อบังคับแต่งกาย
.
ข้อเสนอปลดล็อกข้อจำกัดการแต่งกายทนายความสำหรับการว่าความในศาล ไม่ได้เพิ่งมีในปี 2565 ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เคยทำแคมเปญเปิดให้ทนายความมาร่วมลงชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ (ข้อบังคับฯ) และเมื่อ 10 มิถุนายน 2563 ทนายความจากสนส. ก็เข้าพบตัวแทนสภาทนายความ เพื่อยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อทนายความ 126 คน เสนอให้แก้ไขข้อบังคับฯ เป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ที่กำหนดให้ทนายความไม่น้อยกว่า 100 คนมีสิทธิเสนอขอให้คณะกรรมการสภาทนายความพิจารณาแก้ไขข้อบังคับฯ ได้
.
หากพิจารณาจากอาชีพที่ใกล้เคียงกันอย่างข้าราชการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2556 ก็ยังให้ข้าราชการอัยการหญิงสวมกางเกงปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ดี สภาทนายความก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะแก้ไขข้อบังคับฯ อย่างจริงจัง เพราะต่อมาเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563 สภาทนายความทำหนังสือตอบกลับมายังสนส. ใจความว่า เรื่องการแต่งกายทนายความหญิงตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกาย ข้อ 20 (2) กำหนดไว้ว่าทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพ ไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น เนื่องจากในข้อบังคับฯ ดังกล่าวมิได้ห้ามทนายความหญิงมิให้สวมใส่กางเกงว่าความไว้ ในชั้นนี้เห็นว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรในการแก้ไขข้อบังคับฯ
.
ขยับมาช่วงต้นปี 2564 เมื่อวันที่ 26 มกราคม สนส. ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและสภาทนายความ ขอให้ประกาศแนวปฏิบัติว่าตามที่สภาทนายความตีความว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ทนายความหญิงสวมใส่กางเกงในการว่าความ ดังนั้น ทนายความหญิงสามารถแต่งกายโดยสวมใส่กางเกงว่าความในศาลได้ แต่ทางฟากศาลก็ไม่ได้ประกาศแนวปฏิบัติให้รับกับความเห็นของสภาทนายความนัก จะเห็นได้จากหนังสือตอบกลับของสำนักประธานศาลฎีกา เมื่อ 14 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีใจความว่า การแต่งกายของบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความในเวลาว่าความนั้น หากบุคคลนั้นมีสิทธิสวมครุยเนติบัณฑิต ย่อมต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย ตามข้อ 20 (4) ของข้อบังคับฯ รวมทั้งต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 17 แห่งข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ด้วย
.
หากไปดู ข้อบังคับเนติฯ ข้อ 17 ก็จะพบว่า ข้อบังคับดังกล่าวก็กำหนดการแต่งกายยึดโยงกับเพศเช่นกัน โดยกำหนดให้สมาชิกเนติฯ ที่เป็นหญิง แต่งกายแบบสากลนิยม “กระโปรง” สีขาว กรมท่า ดำ หรือสีอื่นซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรง รองหุ้มส้นสีขาว น้ำตาล สีดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย ซึ่งก็เป็นการกำหนดที่ไม่ได้แตกต่างจากข้อบังคับฯ ของสภาทนายความมากนัก
.
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่องค์กร “เสาหลัก” แห่งวิชาชีพกฎหมาย ยังไร้ทีท่าว่าจะขยับ กลุ่มทนายความด้านสิทธิก็ใช้อีกหนึ่งกลไก อาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ วลพ. เพื่อให้วินิจฉัยหรือมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ แก้ไขข้อบังคับ ให้การแต่งกายไม่ต้องกำหนดเพศ ใช้ข้อความที่เป็นกลางทางเพศ
.
ทนายหญิงร้องวลพ. เหตุผู้พิพากษาตรวจใส่กระโปรงหรือไม่แม้ว่าความออนไลน์
.
กลไกการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ วลพ. เริ่มต้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565 จิดาภา คงวัฒนกุล ซึ่งเป็นผู้ร้อง เป็นทนายความที่มีเพศกำหนดหญิง ประสบกับปัญหาที่ผู้พิพากษาคอยตรวจตราว่าเธอสวมใส่กระโปรงขณะว่าความหรือไม่ และจดบันทึกเกี่ยวกับการแต่งกายทนายความในรายงานกระบวนการพิจารณา
.
เรื่องราวที่นำมาสู่การร้องเรียน เริ่มเมื่อ 4 เมษายน 2565 จิดาภาทำหน้าที่เป็นทนายความในคดีที่ศาลจังหวัดสมุทรสาคร มีผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้สอบถามผู้ร้องว่าสวมกางเกงมาว่าความหรือไม่ และผู้พิพากษาในคดีดังกล่าวได้เรียกไปสอบถาม อีกทั้งยังบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “ทนายโจทก์เป็นผู้หญิงสวมกางเกงมาศาลจึงให้มีหนังสือแจ้งและสอบถามสภาทนายความว่าเป็นการกระทำที่ปฏิบัติตามมรรยาทสภาทนายความหรือไม่ เพื่อจะได้มีคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”
.
27 พฤษภาคม 2565 จิดาภาไปว่าความคดีศาลจังหวัดสมุทรสาครเช่นเดิม ศาลก็ยังบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “เนื่องจากในวันนัดพิจารณาเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานวันที่ 4 เมษายน 2565 ทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงสวมกางเกงขณะปฏิบัติหน้าที่และศาลได้มีหนังสือแจ้งสภาทนายความแล้วจึงกำชับทนายโจทก์ให้แต่งกายให้ถูกต้องตามข้อบังคับสภาทนายความ และข้อบังคับเนติฯ แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์หากตรวจสอบพบว่าทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงสวมกางเกงขณะปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งก็จะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไป”
.
ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 แม้จะเป็นการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้พิพากษาก็แจ้งให้จิดาภาลุกขึ้นเพื่อตรวจสอบการแต่งกาย และบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “เนื่องจากในวันนัดพิจารณาและวันสืบพยานวันที่ 4 เมษายน 2565 ทนายโจทก์ซึ่งเป็นผู้หญิงแต่งกายโดยสวมกางเกงขณะสวมชุดครุยปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ในวันนี้จึงให้ทนายโจทก์ลุกขึ้นเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการแต่งกายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทนายโจทก์แต่งกายโดยสวมกระโปรงจึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป”
.
ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการ วลพ. ก็ได้เปิดให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง คือสภาทนายความ และเนติฯ ทำคำให้การเพื่อแก้ต่างด้วย ส่วนคำให้การของสภาทนายความ มีใจความว่า ผู้ที่จะเป็นสมาชิกสภาทนายความต้องเป็นสมาชิกเนติฯ การกำหนดข้อบังคับจึงเชื่องโยงกัน การบังคับใช้หลักเกณฑ์ของทั้งสองหน่วยงานจึงไม่อาจแยกจากกันได้ ซึ่งข้อบังคับของหน่วยงานทั้งสองก็กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งกายของสมาชิกโดยแบ่งแยกตามเพศชายและเพศหญิง แต่เหตุของการกำหนดข้อบังคับฯ ก็สืบเนื่องมาจากการทำงานของทนายความจะมีผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและทรัพย์สินประชาชน การใช้อำนาจดูแลทนายความจึงต้องเคร่งครัดเพื่อให้ทนายความอยู่ในกรอบของมรรยาทและจริยธรรม แต่สภาทนายความก็ไม่ได้ออกข้อบังคับห้ามมิให้ชายหรือหญิงเพศใดเพศหนึ่งประกอบวิชาชีพทนายความและเข้ารับฝึกอบรมวิชาว่าความ เพื่อประโยชน์ในการปกครองผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับการแต่งกาย จึงไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศแต่อย่างใด
.
ด้านเนติฯ ทำคำให้การมีใจความว่า ตั้งแต่อดีต ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ จะสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในการปฏิบัติหน้าที่ในศาล ซึ่งต่างจากผู้สำเร็จสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องสวมเสื้อครุยขณะปฏิบัติหน้าที่ การที่ผู้ร้องขอให้แก้ไขข้อบังคับเนติฯ ลบเงื่อนไขการแต่งกายออก ให้ทนายความหญิงซึ่งเป็นสมาชิกเนติฯ สามารถสวมกางเกงไปว่าความที่ศาลได้ ไม่น่าจะเป็นการเหมาะสมด้วยประเพณีและวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน เพราะในการพิจารณาคดีในศาล ผู้พิพากษา อัยการ ก็ยังแต่งกายตามหลักเกณฑ์ โดยการปฏิบัติหน้าที่ในศาล เป็นการปฏิบัติหน้าที่เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ การที่ทนายความหญิงจะสวมกางเกงในห้องพิจารณาจึงไม่เหมาะสม หากเนติฯ แก้ข้อบังคับดังกล่าว ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรเนติบัณฑิต ก็จะมีเนติบัณฑิตอ้างสิทธิขอสวมกางเกงเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานประกาศนียบัตรได้
.
คณะกรรมการ วลพ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นดังกล่าว เกี่ยวกับสิทธิในการแต่งกาย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 กำหนดให้ความแตกต่างในเรื่อง “เพศ” ไม่เป็นเหตุที่จะนำมาปฏิบัติต่อบุคคลแตกต่างกัน ทุกคนไม่ว่าเพศชายหรือหญิงย่อมมีสิทธิแต่งกายตามที่ประสงค์ การที่ข้อบังคับสภาทนายความและเนติฯ กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งกายของสมาชิกสำหรับเพศชายหรือหญิง เข้าลักษณะแบ่งแยก กีดกัน จำกัดสิทธิการแต่งกาย จากข้อบังคับทั้งสองฉบับ ที่กำหนดให้ทนายความหญิงต้องสวมกระโปรงเท่านั้นในเวลาสวมครุยว่าความ โดยไม่สามารถสวมกางเกงที่มีลักษณะสุภาพได้ เป็นการกำหนดกฎที่กีดกันและจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้สิทธิแต่งกายของทนายความหญิง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศหญิง ซึ่งถือว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” จึงมีคำสั่งให้สภาทนายความและเนติฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ขัดแย้งกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อรับรองสิทธิทนายความหญิงให้สามารถสวมกางเกงหรือกระโปรงเมื่อสวมเสื้อครุยขณะว่าความในศาลได้ เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และให้ดำเนินการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ โดยการดำเนินการ ต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
.
ยังต้องจับตาต่อ สภาทนายความ เนติฯ จะปลดล็อกข้อบังคับแต่งกายหรือไม่
.
ถึงแม้ว่าคณะกรรมการ วลพ. จะมีคำวินิจฉัยแล้ว แต่ในทางกฎหมาย สภาทนายความและเนติฯ สามารถใช้กลไกของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ หากเห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ
.
ซึ่งก่อนหน้าที่คณะกรรมการ วลพ. จะมีคำวินิจฉัยนี้ สภาทนายความก็เคยฟ้องคณะกรรมการ วลพ. ต่อศาลปกครองกลางมาแล้ว เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1726/2565 จากรายงานข่าวของเวิร์คพอยต์ทูเดย์ คาดการณ์ว่ามูลเหตุการฟ้อง สืบเนื่องจากคณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยให้สภาทนายความ ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ กฎระเบียบ ประกาศ หรือแนวปฏิบัติเพื่อรับรองสิทธิของบุคคลที่มีการแสดงออกทางเพศแตกต่างจากเพศโดยกำเนิดให้สามารถแต่งกายตามเพศสภาพของตนได้ สืบเนื่องจากนักกฎหมายหญิงข้ามเพศได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ วลพ.
.
จากทีท่าของสภาทนายความที่ผ่านมา อาจจะยังชี้ชัดไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าสภาทนายความจะดำเนินการแก้ไขข้อบังคับฯ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงต้องจับตากันต่อไปว่า สภาทนายความรวมถึงเนติฯ จะแก้ไขข้อบังคับเรื่องการแต่งกาย ปลดล็อกข้อจำกัดที่ยึดโยงกับเพศหรือไม่
.
.
.
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6330