วันพุธ, มกราคม 19, 2565

‘When she opens the door…ความหวังย่อมเกิดขึ้น’ ภาพ เบนจา อะปัญ วาดโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ถูกประมูลไป ในราคา 3.3 ล้านบาท เงินมอบให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน


Sarayut Tangprasert
16h ·
‘When she opens the door…’
ภาพ เบนจา อะปัญ วาดโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ถูกประมูลไป ในราคา 3.3 ล้านบาท
เงินจำนวนนี้เมื่อหักให้เจ้าของแพลตฟอร์ม 30% แล้ว ธนาธรจะมอบให้กับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เพิ่มเติม:
รู้ความหมายของรูป ‘When she opens the door…’
ก่อนประมูล NFT1 x AEK THANATHORN
ผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก เบนจา อะปัญ เป็นผลงานที่เห็นผู้หญิงได้กำลังเปิดประตูออกมาจากห้องที่เต็มไปด้วยความมืด ถือตะเกียงสว่างซึ่งแสดงถึงสัญญาณแห่งความหวัง

This is my first portrait inspired by Benja Apan. A girl that opens the door to a dark room, holding a bright lamp that represents a beacon of hope.
https://app.nft1.market/
#NFT1XAEKTHANATHORN #NFT1 #AEKTHANATHORN #NFT1MARKET


Great Oil Painting portraits and Models By A Polish Artist

Damian Lechoszest 

Born in 1976 in Raciborz, Poland. At first his great interest was drawing. From the early childhood he liked to copy various characters of comics and fairy tales. His childish sketches were so good that many people from his nearest neighborhood were very astonished. At the first school years he took part in many artistic high-level competitions. His artistic works were often rewarded and got good opinions of critics.

His great artistic talent, especially a gift for drawing, was observed by Marek Czechowicz, plastic art teacher in primary school in Baborów. Czechowicz’s creative activity was the first serious artistic inspiration. Czechowicz was also the first person who helped talented young man to deepen his knowledge of practical skills in oil painting. He taught Damian Lechoszest in his own private painter’s studio.
 
Damian graduated University of Technology in Opole in 2002. During the studies he attended the practical painting classes in Liceum Plastyczne in Opole. For many years he improved not only his practical skills but also theoretical knowledge. His sharp, analytic and inquiring mind tried to understand the impact of the painting on the onlookers. He also tried to know how the human eye was reacting and recording to visual stimuli and how the human mind created comprehensive image. That is why he studied biology, psychology and physiology of vision consulting his private library of nearly 4000 books.

Damian mainly paints portraits and portrayed models are very strikingly similar with the use unusual insight and analytic attitude. Works are sold all over the world including Czech Republic, Germany, Russia, Great Britain, Ireland, France and USA. One of his paintings Portrait of John Paul II hangs in famous Pauline Monastery of Jasna Góra in Poland.
The artist, his wife Ela and two children Jasiek and Lukasz live in Baborow, little town in the south of Poland.

Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
January 11 at 10:04 PM ·

[ ศิลปะดิจิทัล และ NFT ของผม ]
ผมสนใจเรื่องนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ มาโดยตลอด เพราะเชื่อว่านวัตกรรมเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงโลก และระบบการเงินอย่างถึงรากถึงโคนในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า
.
หลายคนสงสัยว่า NFT คืออะไร และผลงานของผมเป็นอย่างไร?
.
NFT คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตั้งอยู่บนบล็อกเชน เหมือน bitcoin หรือคริปโตอื่นๆ แต่ bitcoin และเหรียญคริปโตอื่นๆ ทุกเหรียญของมันมีลักษณะเหมือนกันและมูลค่าเท่ากัน (นั่นคือ fungible) คล้ายเหรียญบาทในโลกจริงที่ทุกเหรียญเท่ากัน
แต่ NFT ไม่ใช่ NFT ทุกตัวไม่เหมือนกัน
.
NFT คือเหรียญที่เก็บข้อมูลเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร เงื่อนไขการทำธุรกรรมหรือการถือครอง หรือข้อมูลอื่นๆ แต่ละ NFT เก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน (และจึงมีลักษณะ non-fungible) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำซ้ำได้ และเก็บได้ในกระเป๋าตังค์เดียว
.
ลักษณะสำคัญของ NFT คือ มันสามารถเก็บข้อมูลการถือครอง ผู้ถือครอง ราคาที่ใช้เปลี่ยนมือ เงื่อนไขการถือครองหรือเงื่อนไขการซื้อขาย และข้อมูลอื่นๆที่กำหนด ไว้ในตัวมันได้ ไม่มีใครสามารถเข้าไปลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นได้ การบังคับใช้เป็นไปเองด้วยระบบที่ผู้ใช้ควบคุมกันเอง ไม่ต้องผ่านตัวแทนรัฐใดๆ
.
NFT ถูกใช้มากในศิลปะดิจิทัล ตลาดศิลปะดิจิทัลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในปีที่ผ่านมา และราคาของ NFT ก็เติบโตขึ้นมาก The Guardian สำนักข่าวใหญ่ของโลกรายงานไว้เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่าตลาด NFT ทั่วโลกมีขนาดถึง 22,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว งานของศิลปินชื่อ Beeple ประมูลได้ราคาถึง 69 ล้านดอลลาร์ (2,200 ล้านบาท)
.
NFT ซื้อขายกันด้วยคริปโตสกุลต่างๆ หลังจากที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ผู้เป็นเจ้าของจะนำมาประมูลบนออนไลน์ ตลาดประมูล NFT มือหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดคือ Nifty Gateway หรือ Foundation หลักจากการประมูล ใครได้ถือครอง NFT ก็สามารถนำมาขายต่อได้ อาจเรียกได้ว่าตลาดมือสอง ตลาดมือสองของ NFT ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น Opensea
.
ไม่นานมานี้ ชุดสะสมรูปการ์ตูนลิงดิจิทัล 10,000 รูปของ NFT ชื่อ Bored Ape Yacht Club ประมูลราคาได้รวมกันถึง 26 ล้านดอลลาร์ (800 กว่าล้านบาท) ชุดสะสมรูปลิงนี้ได้รับความนิยมมาก คนที่ประมูลได้นำรูปเหล่านี้ไปใส่เป็นหน้าโปรไฟล์ของตัวเองในเฟซบุ๊ก หรือในโซเชียลมีเดียอื่น
.
บริษัทโค้ก ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มอันดับต้นของโลก สร้างสินค้า NFT ที่สามารถนำไปใช้ใน Decentraland -เมตาเวิร์สที่ใหญ่ที่สุดในโลก- เช่น เสื้อแจ็กเก็ต ให้คนที่ใช้ชีวิตในจักรวาลนั้นซื้อ โค้กขายสินค้าเหล่านี้ได้ถึงเกือบ 20 ล้านบาท
.
ภาพยนตร์ The Matrix ภาคล่าสุดที่ผ่านมา มีการให้แฟนๆ สามารถซื้อและสร้างอวตาร Matrix NFT ของตัวเองจำนวน 100,000 ชิ้น ชิ้นละ 1,500 บาท ในวันเปิดตัวมีผู้รอซื้อถึง 330,000 คน
.
บริษัทเกมออนไลน์บางแห่งเริ่มใช้ NFT ในเกมแล้วเช่นกัน Axie Infinity เกมออนไลน์จากเวียดนามสร้างเกมจาก Ethereum ในเกม ผู้เล่นสร้าง ต่อสู้ สะสม ซื้อขาย ตัวละครสัตว์ประหลาดตัวเล็กน่ารัก ตัวละครสัตว์เหล่านั้นเป็น NFT บริษัทได้รับความนิยมอย่างมากและสร้างมูลค่าบริษัทได้มากถึง 3 พันล้านดอลลาร์ หรือ 120,000 ล้านบาท
.
ศิลปินรายเล็กสามารถใช้ประโยชน์จาก NFT ได้เช่นกัน เพราะโดยทั่วไปศิลปินส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากการขายผลงานของตนเองในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว หากผู้ซื้อนำผลงานของศิลปินนั้นไปขายทอดที่สองหรือทอดที่สามในราคาที่สูงขึ้น ศิลปินคนนั้นจะไม่ได้ส่วนแบ่งจากการขายรอบต่อๆไปเลย แต่ถ้าผลงานนั้นถูกสร้างเป็น NFT ศิลปินจะสามารถเขียนเงื่อนไขในการซื้อขายครั้งต่อๆ ไป ไว้ใน Smart contract หรือสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งเป็นกลไลของบล็อกเชนได้ เมื่อเกิดการซื้อขายครั้งต่อๆ ไป ศิลปินก็จะได้ส่วนแบ่งนี้ ตามสัญญาโดยไม่มีการโกง เพราะระบบจะทำงานให้โดยอัตโนมัติ
.
ในอนาคต NFT สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้หลายอย่าง นอกจากงานศิลปะ ในเมตาเวิร์ส หรือในเกมออนไลน์แล้ว ในอนาคต โฉนดที่ดิน, ตั๋วคอนเสิร์ต, เอกสารสำคัญ ภาพถ่ายช่วงเวลาประวัติศาสตร์, เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีของคนสำคัญ ก็สามารถเก็บในรูปแบบ NFT ได้
.
มีสองเหตุผลที่ผมตัดสินใจทำ NFT ของตัวเองขึ้นมา
.
เหตุผลแรกคือ: การลงมือทำด้วยตนเอง
.
ผมพูดเรื่อง Digital Transformation, NFT, Blockchain, DeFi, และ Cryptocurrency หลายครั้งในหลายโอกาส ในฐานะที่ผมเป็นบุคคลที่นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับทิศทางของประเทศและสาธารณะอย่างต่อเนื่อง วิธีที่จะทำให้เราเข้าใจมันได้ดีที่สุด เพื่อนำมาอธิบาย และ/หรือใช้ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับดิจิทัล คือการลงมือทดลองด้วยตนเอง
.
เหตุผลที่สองคือ: NFT1 เป็นสตาร์ทอัพเจ้าใหม่
.
รูปแบบธุรกิจของบริษัทคือการเป็นตลาดประมูล NFT ออนไลน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของประเทศไทย ผมเห็นคนรุ่นใหม่หลายคนที่ทำงานอยู่ที่นี่ และอยากสนับสนุนให้บริษัทของเขาประสบความสำเร็จ อยากเห็นบริษัทที่คนไทยมีส่วนร่วมได้เติบโตไปพร้อมกับการเกิดขึ้นของตลาดเทคโนโลยีใหม่ จึงร่วมมือกับพวกเขานำงานศิลปะของผมไปขาย
.
ผลงานของผมที่ประมูลใน NFT1 มีทั้งสิ้น 3 ชิ้น 2 ชิ้นตั้งอยู่บนบล็อกเชนตระกูล Binance หรือ BSC (Binance Smart Chain) ประมูลด้วยคริปโต Binance Coin (BNB) และอีกชิ้นใช้บนระบบ Polygon ที่เชื่อมโยงกับ Ethereum และประมูลด้วยคริปโต Matic
.
ผมเป็นนักวาดภาพมือสมัครเล่นมาก ผลงานมีเพียงไม่ถึง 20 ชิ้น และแต่ละชิ้นก็ไม่ได้สวยงามเหมือนศิลปินอาชีพ ผมเริ่มทำงานศิลปะในช่วงโควิดที่ต้องอยู่กับบ้านเป็นเวลานาน เมื่อเริ่มไปรูปถึงสองรูป เริ่มติดใจในบรรยากาศของการวาดรูป และตั้งใจมากขึ้น ผมฝึกฝนจาก Youtube เป็นหลัก วาดภาพเพื่อผ่อนคลาย ได้เดินทางในห้วงคำนึงของตนเอง เป็นเจ้านายธรรมชาติในโลกจินตนาการของเรา วาดเพื่อตัวตนภายในของตัวเอง ไม่ได้คิดจะวาดเพื่อการพาณิชย์ หรือวาดให้ถึงระดับชั้นครู
.
ชิ้นแรก: “When She Opens the Door”
.
เป็นงานชิ้นแรกของผมที่วาดรูปบุคคล จึงไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ ก่อนหน้านี้ผมวาดแต่ธรรมชาติมาตลอด งานนี้วาดเพื่อเบนจา อะปัญ หญิงสาวในรูป เปิดประตู ถือตะเกียงส่องสว่างขับไล่ความมืดมิด วาดครั้งแรกด้วยสีอคริลิค ลงบนผ้าใบ จากนั้น จึงนำต้นฉบับมาสร้างเป็น NFT ผู้ที่ประมูลได้จะได้ภาพจริงไปด้วย รายได้จากภาพนี้จะนำไปบริจาคให้ "ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน" เพื่อให้พวกเขาทำงานเป็นตัวแทนของนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป งานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Damian Lechoszest ที่วาดภาพคนและบรรยากาศก่อนสมัยใหม่ไว้หลายภาพ
.
ชิ้นที่สอง: “Silence”
.
เป็นภาพวาดที่ใช้โปรแกรม ProCreate วาด จึงเป็นงานศิลปะดิจิทัลตั้งแต่เริ่มแรก หลังจากการวาดภาพด้วยสีจริงสักพัก ผมอยากลองวาดภาพดิจิทัลบ้าง ซึ่งลูกสาวผมเป็นครูผู้สอนให้ใช้ Procreate สร้างงานศิลปะ โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่างานศิลปะดิจิทัลทำได้ง่ายกว่า และสะดวกกว่างานศิลปะจริง มีเพียง iPad หนึ่งเครื่อง ไม่ต้องผสมสี ไม่ต้องล้างพู่กัน ก็ลงมือวาดภาพได้ นับเป็นการปลดปล่อยศิลปะให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ขาดก็แต่อารมณ์ความรู้สึกของการวาดภาพจริง ภาพนี้ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดของ @colorbyfeliks โดยรายได้จากภาพนี้จะนำไปบริจาคให้มูลนิธิคณะก้าวหน้าใช้ทำกิจกรรมต่อไป
.
ชิ้นที่สาม: “The sky is angry, so is the traveler”
.
ผมวาดภาพนี้ด้วยสีคริลิค ลงบนผ้าใบ เมื่อเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2563 ในช่วงที่สถานการณ์การเมืองในไทยกำลังร้อนแรง เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุสลายการชุมนุม สีที่ใช้ฉูดฉาด เข้ากับความรู้สึกผมและสถานการณ์การเมืองตอนนั้น
รายได้จากภาพนี้ จะมอบให้กับ iLAW เพื่อให้พวกเขาได้นำไปใช้เกี่ยวกับกฎหมายเพื่อประชาชนต่อไป โดยผู้ที่ประมูลชนะ จะได้ผลงานจริงไปด้วย
.
ชวนทุกท่านไปดู NFT1 และติดตามการประมูลของผมได้ที่ ลิงก์: https://app.nft1.market
เหลือเวลาอีก 5 วันจึงจะปิดการประมูล
.
ผมตื่นเต้นกับการสร้าง NFT ของตัวเองมาก แต่มีเรื่องหนักใจอยู่หนึ่งเรื่องคือการที่รัฐจะเก็บภาษีจากกำไรคริปโต ผมไม่มีปัญหาใดๆ กับการจ่ายภาษี ในฐานะผู้เสียภาษีอย่างครบถ้วนมาตั้งแต่สมัยทำธุรกิจ แต่ผมเชื่อว่ารัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ จะเห็นว่าวงการคริปโตและ NFT คืออนาคตของเศรษฐกิจการเงินโลก และออกนโยบายที่ดึงดูด ส่งเสริมการลงทุน การเติบโตของธุรกิจนี้ มากกว่าเห็นมันเป็นเพียงช่องทางเก็บภาษีเข้าคลังเพิ่ม