ความหวัง ความฝัน ภายใต้อิสรภาพชั่วคราว ของ “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล”“ถ้ามันได้เข้าจริงๆ วันที่ 12 เราคงได้เข้าเรือนจำแล้ว เพราะกำหนดเวลาเราคือ วันที่ 12 ม.ค. ตอนสี่โมงครึ่งเป๊ะ ต้องอยู่ในเรือนจำแล้ว และจะมีอะไรต่อจากนั้นต่อ เราไม่รู้แล้ว มันก็คงมีการขอยื่นประกันต่อก็ได้”
— iLawFX (@iLawFX) January 11, 2022
อ่านต่อ https://t.co/kPDunOSxp7 pic.twitter.com/dOWIHda93u
ภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
11 มกราคม 2022
ilaw
ตามคำสั่งศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอยุธยา “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะมีอิสรภาพเพียงแค่ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ถึง 12 มกราคม2565 หลังเธอได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาเพื่อทำการสอบปลายภาค แล้วหลังจากนั้น เธออาจจะต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่อ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
นอกจากการให้อิสรภาพเพียงชั่วคราวแล้ว ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ 5 ข้อ ได้แก่
Q: หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวทำอะไรบ้าง?
ก็อยู่แต่ในห้อง ตื่นมาก็ทำการบ้าน กินข้าว ดูหนัง โทรหาเพื่อน บางทีเพื่อนก็มาหาที่ห้องบ้าง จะมาบ่อยๆ เลยแหละ เพื่อนรู้ว่าเหงา ก็จะมาอยู่ด้วยช่วงกลางคืน แล้วก็จะวนไปแบบนี้เรื่อยๆ ยกเว้น ได้ไปศาล ไปโรงพยาบาลก็ถึงจะได้ไปข้างนอก
เงื่อนไขมันคือห้ามออกนอกเคหะสถาน 24 ชั่วโมง เราก็เลือกเป็นที่นี้ (หอพัก) มันก็จะไปโรงพยาบาลได้ ไปศาลได้ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า แล้วก็ไปมอ (มหาวิทยาลัย) นอกจากนั้น ไปไม่ได้ เวลาเดินทางไปไหน แวะข้างทางไม่ได้ ไปแล้วก็ต้องตรงกลับมาเลย
ถ้าเราออกนอกเส้นทางเขาก็จะรู้ เพราะว่ามันจะผิดสังเกตว่า ทำไมอยู่ตรงนี้เป็นเวลานานจัง เขาก็อาจจะโทรมาว่าเราอยู่ไหน
ที่เลือกที่นี้ เพราะพ่อแม่ไปหาเราได้ แต่เพื่อนไปหาเรายาก ถ้าเราเลือกอยู่ที่บ้าน บ้านเราอยู่นนท์ (นนทบุรี) จากที่นี้ไปนนท์ ตรงบ้านเรามันไม่มีขนส่งสาธารณะ ค่าแท็กซี่ไปหาเราสามร้อย มันไม่มีตังหรอกเพื่อนเรา เลยอยู่นี้ดีกว่า อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยด้วย อยู่ใกล้เพื่อนด้วย
ตอนออกมา (จากเรือนจำ) เพื่อนก็ให้กำลังใจ เพื่อนทุกคนรู้ว่า สถานการณ์เราเป็นไง เพราะฉะนั้น เวลาเรียนกันหรือคุยกันมันก็จะมีความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ หรือแบบ เราเพิ่งเข้าชั้นเรียนปรึกษาเรื่องวิจัย ที่เราจะทำเทอมหน้า พอเพื่อนรู้ เพื่อนก็บอกทำด้วยกันนะ
ตั้งแต่เราโดนคดีทางการเมืองมา คณะเราน่ารัก เข้าห้องเรียนไป เพื่อนก็จะเป็นไงบ้าง นั่งด้วยกันมั้ย อยู่กลุ่มด้วยกันมั้ย ทำการบ้านทันมั้ย อะไรแบบนี้ น่ารัก (ลากเสียง) คณะเราน่ารักมากจริงๆ ไม่รู้ทำไม น่าจะเพราะอยู่คณะสังคมวิทยาฯ ก็อาจจะใช่ มันทำให้เขาเห็นอกเห็นใจคนมากขึ้น
เคยมีครั้งหนึ่ง เราไม่รู้จัก เขาทักมาทางทวิตเตอร์ แล้วเขาก็ถามเราว่า เรียนวิชานี้หรือเปล่า เขาก็เรียนวิชานี้เหมือนกัน เอาเลคเชอร์มั้ย เอาสรุปมั้ย แล้วเขาก็ให้ แล้วเรารอดเทอมก่อนๆ มาได้ เพราะเพื่อนๆ เจ้าหน้าที่คณะแล้วก็อาจารย์ช่วย
Q: เหตุผลหนึ่งที่เราขอประกันคือ เรื่องการเรียน พอออกมาแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง?
เราออกมาก็สอบเลย เราออกมาวันที่หนึ่ง แต่ตามตารางเราต้องสอบวันที่สองเช้า ดีนะอาจารย์เลื่อนไปเป็นวันที่สาม เราก็มีเวลานิดหนึ่ง (เน้นเสียง) เตรียมตัวเท่านั้นแหละ กลายเป็นสอบตามมีตามเกิด
พอมันหายไปช่วงหนึ่ง อะไรมันก็จะรู้สึกยากขึ้น ตามเพื่อนไม่ทัน หรือว่า จดตารางสอบอย่างนี้ ยังไม่ทันได้จดเลย ก็ต้องรีบดูให้ทันว่า วันไหนมีสอบบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไง มันก็ยากขึ้น แต่ก็ดีที่ออกมาทันวันสอบพอดี
แต่ที่กังวลคือ ได้ออกมาสอบช่วงนี้ มันก็แค่เทอมนี้เทอมเดียว อย่างวันพรุ่งนี้เปิดเทอมใหม่ จะให้หนูเรียนต่อมั้ยเพราะมันมีวิชาวิจัยรายบุคคลที่มันต้องทำตอนจบ ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่รู้จะจบปีไหนเหมือนกัน อาจจะจบปีห้า ปีหกแล้วแต่เขา
ถ้าไม่ได้ประกันตัว วิชาวิจัยรายบุคคลก็ต้องโยกไปเทอมหน้า ก็คือ ปีหน้า ปีห้าและ
มันไม่ใช่แค่ยาก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเราต้องมีคุยกับอาจารย์เยอะมาก มันคือ งานวิจัยที่ต้องทำเป็นเล่มวิจัย อยู่ในคุก เราอาจจะหาข้อมูลได้ อาจจะทำเรื่องคุก แต่ว่าแหล่งข้อมูลเพื่อทบทวนวรรณกรรม หรือ การเขียนรายงาน มันเป็นไปไม่ได้เลย ยังไงก็ทำไม่ได้ ถ้าไม่ได้ประกันยังไงก็คงต้องดร็อป (พักการเรียน)
ถึงไม่ใช่รายวิชานี้ แต่มันก็กระทบวิชาอื่นอยู่ดี เพราะยังไงเราก็ต้องเรียนให้มันครบหน่วยกิต คือตอนนี้มันจะเปิดเทอม จ่ายค่าเทอมไปแล้วด้วย ถ้าถามว่าอะไรที่เสียไปแล้ว ก็คือ เงิน แล้วก็โอกาสในการศึกษา จริงๆ แล้วถึงเราจะเป็นแบบ ผู้ต้องขังทางความคิด หรือเขาจะมองเราเป็นศัตรูของชาติ หรืออะไรก็ตาม แต่อย่างหนึ่งที่เราควรจะได้รับมัน ทุกคนควรจะได้รับมันคือ โอกาสทางการศึกษา ซึ่งเราแอบเห็นนะโพสต์ของประยุทธ์ มันก็แอบพูดถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกันว่า คนทุกคนควรได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม แต่มันมีต่ออีกนิดหนึ่งว่า ‘ใต้ร่มพระบารมี’ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาหมายความว่าไง ก็ไม่รู้ เขาอาจจะไม่มองเราเป็นประชาชนมั้ง
แล้วมาบอกเราว่า เราเป็นแค่เด็กจะมายุ่งการเมืองทำไม ทำไมไม่กลับไปเรียนหนังสือ แต่พอกูจะเรียนหนังสือทำไมไม่ให้กูเรียนล่ะ?
Q: การที่เราต้องเสียเวลาไปกับการถูกจองจำ มันทำให้เราสูญเสียอะไรไปบ้าง?
เรื่องชีวิตเนี้ยสำคัญ ชีวิตเราไม่ได้มีแค่เรื่องเรียน เรามีชีวิตส่วนตัว เรามีบุคคลที่เรารัก เรามีกิจกรรมที่เราอยากทำ อยากเรียนรู้ เพราะงั้น โอกาสที่มันหายไปแน่ๆ คือ สิ่งเหล่านี้มันจะหายไปเลย เพราะเราไม่ได้อยู่ข้างนอกเราทำอะไรไม่ได้ในกรงขังนั้น ใต้กำแพงนั้น มันไม่มีโอกาสได้ทำอะไรตามใจคิด ทุกอย่างมันจะถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ โดยโครงสร้างของคุกที่เขาสร้างขึ้นมา นักโทษคนอื่นอยากอ่านหนังสือยังไม่ได้อ่านเลย จะหวังอะไรกับพวกเรา
เราเคยอยากไปแลกเปลี่ยน เราเคยไปแลกเปลี่ยนตอนมัธยมและอยากไปตอนมหาลัยอีก เราเคยวางแผนว่า ปีสามจะสอบและก็จะไปฟินแลนด์ หรือ ไม่ก็นอร์เวย์ เพราะอยากไปดูชีวิตของประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ แต่ไม่ได้ไปโดนคดีการเมืองก็จบแล้ว เขาคุกก็จบแล้ว ก็ไม่ได้ไป อันนี้คือสิ่งที่เสียไปแล้วเสียดายมาก แต่มันเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในมหาลัย และเราไม่มีโอกาสได้ไปอีกแล้ว เพราะเราปีสี่แล้ว
จริงๆ เราเรียนไวโอลีน เราเคยคิดว่า เราจะแบ่งเวลาให้ตัวเองได้ไปเรียนอันนี้ต่อ แต่ท้ายที่สุดเราก็ไม่ได้ไป ไม่มีเวลา วันๆ มีแต่ขึ้นโรงขึ้นศาล เคยมีตารางเดือนหนึ่งขึ้นศาลทั้งเดือน ไม่ได้ทำอะไร แน่นอน ไปมอไม่ได้ ไม่เรียนไม่ได้
อย่างเรื่องเพื่อนที่คณะที่เราเคยนั่งเรียนด้วยกัน เราเคยนัดว่า ตอนเย็นไปกินข้าวร้านนู้นร้านนี้กัน หรือว่าไปเที่ยวกัน ส่วนตรงนั้นหายไป เพราะเราไม่มีเวลาให้เขาเลย แล้วทุกวันนี้คุยกันแค่ เอ้ย! งานอันนั้นทำยังไง ตามไม่ทัน อะไรอย่างเงี้ย ก็ยังดีที่เพื่อนก็ยังช่วยอยู่ แต่เราก็รู้สึกผิดว่า เพื่อนมีเวลาให้เรา แต่เราไม่มีเวลาให้เพื่อนเลย มันก็ทำให้แบบ แทนที่เราจะสานสัมพันธ์กันมากขึ้น หรือกระทั่งได้รู้จักคนใหม่ๆ เราก็ไม่มีโอกาสได้ทำมันเวลามันไม่พอ
หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านี้ เราได้เป็นหัวหน้าพรรคโดม จะเอาเวลาไปดูแลลูกพรรคตัวเอง ยังหาไม่ได้เลย ยังต้องลาออก และให้คนอื่นไปทำแทน เพราะเราทำหน้าที่ไม่ได้ พูดจริงๆ นะ การเป็นหัวหน้าพรรคมันเป็นสิ่งที่เราอยากทำมาก เราคิดตั้งแต่ตั้งพรรคมาว่า เราอยากเป็นหัวหน้าพรรค แล้วพอวันหนึ่งเราได้เป็นกลับทำหน้าที่ไม่ได้ มันก็ติดอยู่ในใจนะ ว่าเราอยากเป็นเอง เพื่อนก็โหวตเรา แต่เราทำไม่ได้ว่ะ และเราต้องยกตำแหน่งนั้นให้เพื่อนโดยจำเป็น ไม่งั้นพรรคก็เดินต่อไปไม่ได้
เราก็รู้สึก เสียดายจัง ชีวิตหนึ่งของวัยรุ่น ชีวิตแบบวัยรุ่นทั่วไป เหมือนตอนสมัยปีหนึ่ง เอะอะๆ ไปเที่ยว หรือ อยู่ดีๆ ตอนตีหนึ่งไปทะเลกัน ก็ไปเลย ชีวิตแบบนั้น ไม่มีแล้ว ไม่มีตั้งแต่มาทำการเมือง แต่มันยิ่งไม่มีเพราะรัฐยัดคดีความให้เรา จับขังไม่ปล่อย หรือ การมาคุกคามอะไรก็ตาม
มันก็เหมือนโดนแกล้ง เราก็รู้แหละว่าเขาแกล้ง แต่เขาก็คงทำได้แค่เนี้ย
Q: การที่เราบอกว่ารัฐกำลังแกล้งเรา ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า เขาทำอะไร ทำไปทำไม?
ถ้าเรามองดูคดีทางการเมือง จะพบว่ามันมีคดีที่มีเหตุผล กับคดีที่โคตรไร้สาระเลย มันมีทั้งสองอย่างอยู่ด้วยกันซึ่งจริงๆ แล้ว ชั้นสอบสวนเขาต้องกรองว่า เรื่องไหนควรจะไปต่อ หรือ เรื่องไหนไร้สาระเกิน ไม่ต้องไปทำคดีนี้หรอก แต่มันกลายเป็น เอาหมด
อะไรก็ตาม คดีทางการเมือง เอาหมด เอาหมด เอาหมด ให้มันไปจบที่ศาลเอา
เพราะฉะนั้นคนที่โดนคดี ทั้งๆ ที่ไม่ควร ต้องมีภาระมากขึ้น หรือบางคน ยังไม่ทันโดนคดีแต่ไปทำกิจกรรมทางการเมือง ถูกคุกคามที่บ้าน อะไรแบบนี้ อย่างน้องทีมเราก็โดนส่งจดหมายไปขู่ที่บ้าน ไปหาพ่อแม่เป็นรูปลูกตัวเอง แล้วก็ขู่ว่าระวังลูกจะเรียนไม่จบ
หรือกระทั่งบ้านพักเราเอง ที่เราอยู่ ปัจจุบันมันก็ยังอยู่ กล้องวงจรปิดแปดตัวรอบบ้าน เอาไว้ดูว่าเรามาเจอใครใครมาเจอเรา
การจับขังไม่ปล่อย การยิ่งทำซ้ำๆ จะทำให้คนมันชิน ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวคือ คนมันชินไปแล้ว กับการที่เพื่อนของเราไม่ได้ออกมา ชินแล้วกับการที่เพื่อนเราถูกขัง คือคนไม่ได้ประกัน แล้วไงอ่ะ ตอนนี้ก็อยู่ในคุก ก็ไม่ได้ประกัน แต่ไม่เป็นไรฉันยังมีความสุขดี ทั้งที่เพื่อนเราอยู่ในนั้น แมร่งโคตรทรมาน
การกระทำอะไรซ้ำๆ ซ้ำเพื่อให้คนชิน มันกลายเป็นว่า คนที่ถูกดำเนินคดีไปทั้งหมด มันจะกลายเป็นถูกทอดทิ้งเราคิดว่า มันคือสิ่งที่รัฐอยากให้มันเกิด คือ การทิ้งความสนใจเรื่องนี้ไปซะ ทั้งเรื่องอะไรก็ตาม อย่างเรื่องม็อบมันก็เห็นชัด ทำซ้ำๆ เขาไปประกาศ แล้วก็สลาย จับ ยึดของ ทำแบบนี้จนชิน ไม่รู้เราเสียลำโพงให้ตำรวจกี่ชุดแล้ว ตู้แอร์ก็เคยเสียให้ตำรวจ ไอ้พวกนี้มันเป็นทรัพยากรที่มันหาทดแทนได้ แต่มันหายาก
พูดจริงๆ เราไม่ได้มีเงินกันขนาดนั้น แค่จะหาลำโพงที เช่าไม่ได้ก็ต้องซื้อ ต้องคิดแล้วคิดอีก แทนที่จะเอาเงินของประชาชนไปใช้อย่างอื่น ใช้เพื่อสู้ต่อ ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อ แต่กลับต้องมาใช้ซื้อของเดิมๆ หรือ เช่าของเดิมๆ คือ ลำโพงที่ต้องยึดตลอดเวลา สน.นั้น ทำคอนเสิร์ตได้แล้วมั้งหนูว่า ลำโพงน่าจะพอ ขาดแค่เวที
Q: การที่รัฐละเมิดสิทธิของประชาชนจนเป็นเรื่องเคยชิน หรือ การถูกคุมขังจนผู้คนลืมมันน่ากลัวขนาดไหน?
มันน่ากลัวมาก ในนั้นมันก็อยู่ได้ตามมีตามเกิด แต่สิ่งที่ทำให้เราอยู่ไม่ได้คือ ความกระวนกระวาย ความไม่สบายใจ
อย่างตอนนี้ การเคลื่อนไหวมันไม่ได้มีอะไรมาก เราได้รับจดหมายจากเบนจา ข้อความน้อยๆ ที่บอกว่า ‘มึงอย่าทิ้งกูนะ’ โอ้โห หัวใจแทบสลาย แบบ ไม่! เพื่อนกูไม่ทิ้งมึงหรอก แต่ในสถานการณ์แบบนี้กูทำอะไรมากไม่ได้ จะจัดม็อบทีก็ต้องคิดแล้วคิดอีก จะเอาคนออกมาดีมั้ย หรือ คนพร้อมจะออกมากับเรามั้ย คนกังวลเรื่องโรคมากแค่ไหน เราก็กังวลเหมือนกัน เราก็ไม่อยากให้คนออกมาเสี่ยง คืออุปสรรคมันเยอะมาก คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญด้วย ยิ่งเข้าไปใหญ่
มันก็ยังดีที่มีพวกป้าๆ เสื้อแดงอยูหน้าเรือนจำทุกวัน เวลาเราออกมาศาลเราก็จะเห็น เราก็ยังใจชื่น แต่นอกจากนั้น มันคิดอยู่ในหัวว่า คนข้างนอกทำอะไรน้า มีกิจกรรมอะไรบ้างหรือเปล่าน้า มีตรงไหนบ้างหรือเปล่าที่เราไม่รู้
ถ้าเราสามารถไว้ใจกันได้ และเรารู้ว่าทุกคนจะไปกันต่อแน่นอน อันนั้นก็สบายใจ
Q: ในสังคมที่ถูกทำให้เคยชินกับการละเมิดสิทธิฯ เรามีเวลายังไงให้ไม่เคยชินไปกับมัน?
การชินมันเป็นเรื่องปกติ มันห้ามกันไม่ได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ ต้องย้ำตัวเองทุกวันว่า เพื่อนเราอยู่ในคุก เพื่อนเราอยู่ในนั้น ลองนับวันดูก็ได้ ว่ามันกี่วันมาแล้ว นับไปทุกวัน
11 มกราคม 2022
ilaw
ตามคำสั่งศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอยุธยา “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะมีอิสรภาพเพียงแค่ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ถึง 12 มกราคม2565 หลังเธอได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาเพื่อทำการสอบปลายภาค แล้วหลังจากนั้น เธออาจจะต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่อ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
นอกจากการให้อิสรภาพเพียงชั่วคราวแล้ว ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ 5 ข้อ ได้แก่
- ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
- ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
- ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล
- ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร
- ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
Q: หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวทำอะไรบ้าง?
ก็อยู่แต่ในห้อง ตื่นมาก็ทำการบ้าน กินข้าว ดูหนัง โทรหาเพื่อน บางทีเพื่อนก็มาหาที่ห้องบ้าง จะมาบ่อยๆ เลยแหละ เพื่อนรู้ว่าเหงา ก็จะมาอยู่ด้วยช่วงกลางคืน แล้วก็จะวนไปแบบนี้เรื่อยๆ ยกเว้น ได้ไปศาล ไปโรงพยาบาลก็ถึงจะได้ไปข้างนอก
เงื่อนไขมันคือห้ามออกนอกเคหะสถาน 24 ชั่วโมง เราก็เลือกเป็นที่นี้ (หอพัก) มันก็จะไปโรงพยาบาลได้ ไปศาลได้ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า แล้วก็ไปมอ (มหาวิทยาลัย) นอกจากนั้น ไปไม่ได้ เวลาเดินทางไปไหน แวะข้างทางไม่ได้ ไปแล้วก็ต้องตรงกลับมาเลย
ถ้าเราออกนอกเส้นทางเขาก็จะรู้ เพราะว่ามันจะผิดสังเกตว่า ทำไมอยู่ตรงนี้เป็นเวลานานจัง เขาก็อาจจะโทรมาว่าเราอยู่ไหน
ที่เลือกที่นี้ เพราะพ่อแม่ไปหาเราได้ แต่เพื่อนไปหาเรายาก ถ้าเราเลือกอยู่ที่บ้าน บ้านเราอยู่นนท์ (นนทบุรี) จากที่นี้ไปนนท์ ตรงบ้านเรามันไม่มีขนส่งสาธารณะ ค่าแท็กซี่ไปหาเราสามร้อย มันไม่มีตังหรอกเพื่อนเรา เลยอยู่นี้ดีกว่า อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยด้วย อยู่ใกล้เพื่อนด้วย
ตอนออกมา (จากเรือนจำ) เพื่อนก็ให้กำลังใจ เพื่อนทุกคนรู้ว่า สถานการณ์เราเป็นไง เพราะฉะนั้น เวลาเรียนกันหรือคุยกันมันก็จะมีความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ หรือแบบ เราเพิ่งเข้าชั้นเรียนปรึกษาเรื่องวิจัย ที่เราจะทำเทอมหน้า พอเพื่อนรู้ เพื่อนก็บอกทำด้วยกันนะ
ตั้งแต่เราโดนคดีทางการเมืองมา คณะเราน่ารัก เข้าห้องเรียนไป เพื่อนก็จะเป็นไงบ้าง นั่งด้วยกันมั้ย อยู่กลุ่มด้วยกันมั้ย ทำการบ้านทันมั้ย อะไรแบบนี้ น่ารัก (ลากเสียง) คณะเราน่ารักมากจริงๆ ไม่รู้ทำไม น่าจะเพราะอยู่คณะสังคมวิทยาฯ ก็อาจจะใช่ มันทำให้เขาเห็นอกเห็นใจคนมากขึ้น
เคยมีครั้งหนึ่ง เราไม่รู้จัก เขาทักมาทางทวิตเตอร์ แล้วเขาก็ถามเราว่า เรียนวิชานี้หรือเปล่า เขาก็เรียนวิชานี้เหมือนกัน เอาเลคเชอร์มั้ย เอาสรุปมั้ย แล้วเขาก็ให้ แล้วเรารอดเทอมก่อนๆ มาได้ เพราะเพื่อนๆ เจ้าหน้าที่คณะแล้วก็อาจารย์ช่วย
Q: เหตุผลหนึ่งที่เราขอประกันคือ เรื่องการเรียน พอออกมาแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง?
เราออกมาก็สอบเลย เราออกมาวันที่หนึ่ง แต่ตามตารางเราต้องสอบวันที่สองเช้า ดีนะอาจารย์เลื่อนไปเป็นวันที่สาม เราก็มีเวลานิดหนึ่ง (เน้นเสียง) เตรียมตัวเท่านั้นแหละ กลายเป็นสอบตามมีตามเกิด
พอมันหายไปช่วงหนึ่ง อะไรมันก็จะรู้สึกยากขึ้น ตามเพื่อนไม่ทัน หรือว่า จดตารางสอบอย่างนี้ ยังไม่ทันได้จดเลย ก็ต้องรีบดูให้ทันว่า วันไหนมีสอบบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไง มันก็ยากขึ้น แต่ก็ดีที่ออกมาทันวันสอบพอดี
แต่ที่กังวลคือ ได้ออกมาสอบช่วงนี้ มันก็แค่เทอมนี้เทอมเดียว อย่างวันพรุ่งนี้เปิดเทอมใหม่ จะให้หนูเรียนต่อมั้ยเพราะมันมีวิชาวิจัยรายบุคคลที่มันต้องทำตอนจบ ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่รู้จะจบปีไหนเหมือนกัน อาจจะจบปีห้า ปีหกแล้วแต่เขา
ถ้าไม่ได้ประกันตัว วิชาวิจัยรายบุคคลก็ต้องโยกไปเทอมหน้า ก็คือ ปีหน้า ปีห้าและ
มันไม่ใช่แค่ยาก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเราต้องมีคุยกับอาจารย์เยอะมาก มันคือ งานวิจัยที่ต้องทำเป็นเล่มวิจัย อยู่ในคุก เราอาจจะหาข้อมูลได้ อาจจะทำเรื่องคุก แต่ว่าแหล่งข้อมูลเพื่อทบทวนวรรณกรรม หรือ การเขียนรายงาน มันเป็นไปไม่ได้เลย ยังไงก็ทำไม่ได้ ถ้าไม่ได้ประกันยังไงก็คงต้องดร็อป (พักการเรียน)
ถึงไม่ใช่รายวิชานี้ แต่มันก็กระทบวิชาอื่นอยู่ดี เพราะยังไงเราก็ต้องเรียนให้มันครบหน่วยกิต คือตอนนี้มันจะเปิดเทอม จ่ายค่าเทอมไปแล้วด้วย ถ้าถามว่าอะไรที่เสียไปแล้ว ก็คือ เงิน แล้วก็โอกาสในการศึกษา จริงๆ แล้วถึงเราจะเป็นแบบ ผู้ต้องขังทางความคิด หรือเขาจะมองเราเป็นศัตรูของชาติ หรืออะไรก็ตาม แต่อย่างหนึ่งที่เราควรจะได้รับมัน ทุกคนควรจะได้รับมันคือ โอกาสทางการศึกษา ซึ่งเราแอบเห็นนะโพสต์ของประยุทธ์ มันก็แอบพูดถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกันว่า คนทุกคนควรได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม แต่มันมีต่ออีกนิดหนึ่งว่า ‘ใต้ร่มพระบารมี’ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาหมายความว่าไง ก็ไม่รู้ เขาอาจจะไม่มองเราเป็นประชาชนมั้ง
แล้วมาบอกเราว่า เราเป็นแค่เด็กจะมายุ่งการเมืองทำไม ทำไมไม่กลับไปเรียนหนังสือ แต่พอกูจะเรียนหนังสือทำไมไม่ให้กูเรียนล่ะ?
Q: การที่เราต้องเสียเวลาไปกับการถูกจองจำ มันทำให้เราสูญเสียอะไรไปบ้าง?
เรื่องชีวิตเนี้ยสำคัญ ชีวิตเราไม่ได้มีแค่เรื่องเรียน เรามีชีวิตส่วนตัว เรามีบุคคลที่เรารัก เรามีกิจกรรมที่เราอยากทำ อยากเรียนรู้ เพราะงั้น โอกาสที่มันหายไปแน่ๆ คือ สิ่งเหล่านี้มันจะหายไปเลย เพราะเราไม่ได้อยู่ข้างนอกเราทำอะไรไม่ได้ในกรงขังนั้น ใต้กำแพงนั้น มันไม่มีโอกาสได้ทำอะไรตามใจคิด ทุกอย่างมันจะถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ โดยโครงสร้างของคุกที่เขาสร้างขึ้นมา นักโทษคนอื่นอยากอ่านหนังสือยังไม่ได้อ่านเลย จะหวังอะไรกับพวกเรา
เราเคยอยากไปแลกเปลี่ยน เราเคยไปแลกเปลี่ยนตอนมัธยมและอยากไปตอนมหาลัยอีก เราเคยวางแผนว่า ปีสามจะสอบและก็จะไปฟินแลนด์ หรือ ไม่ก็นอร์เวย์ เพราะอยากไปดูชีวิตของประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ แต่ไม่ได้ไปโดนคดีการเมืองก็จบแล้ว เขาคุกก็จบแล้ว ก็ไม่ได้ไป อันนี้คือสิ่งที่เสียไปแล้วเสียดายมาก แต่มันเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในมหาลัย และเราไม่มีโอกาสได้ไปอีกแล้ว เพราะเราปีสี่แล้ว
จริงๆ เราเรียนไวโอลีน เราเคยคิดว่า เราจะแบ่งเวลาให้ตัวเองได้ไปเรียนอันนี้ต่อ แต่ท้ายที่สุดเราก็ไม่ได้ไป ไม่มีเวลา วันๆ มีแต่ขึ้นโรงขึ้นศาล เคยมีตารางเดือนหนึ่งขึ้นศาลทั้งเดือน ไม่ได้ทำอะไร แน่นอน ไปมอไม่ได้ ไม่เรียนไม่ได้
อย่างเรื่องเพื่อนที่คณะที่เราเคยนั่งเรียนด้วยกัน เราเคยนัดว่า ตอนเย็นไปกินข้าวร้านนู้นร้านนี้กัน หรือว่าไปเที่ยวกัน ส่วนตรงนั้นหายไป เพราะเราไม่มีเวลาให้เขาเลย แล้วทุกวันนี้คุยกันแค่ เอ้ย! งานอันนั้นทำยังไง ตามไม่ทัน อะไรอย่างเงี้ย ก็ยังดีที่เพื่อนก็ยังช่วยอยู่ แต่เราก็รู้สึกผิดว่า เพื่อนมีเวลาให้เรา แต่เราไม่มีเวลาให้เพื่อนเลย มันก็ทำให้แบบ แทนที่เราจะสานสัมพันธ์กันมากขึ้น หรือกระทั่งได้รู้จักคนใหม่ๆ เราก็ไม่มีโอกาสได้ทำมันเวลามันไม่พอ
หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านี้ เราได้เป็นหัวหน้าพรรคโดม จะเอาเวลาไปดูแลลูกพรรคตัวเอง ยังหาไม่ได้เลย ยังต้องลาออก และให้คนอื่นไปทำแทน เพราะเราทำหน้าที่ไม่ได้ พูดจริงๆ นะ การเป็นหัวหน้าพรรคมันเป็นสิ่งที่เราอยากทำมาก เราคิดตั้งแต่ตั้งพรรคมาว่า เราอยากเป็นหัวหน้าพรรค แล้วพอวันหนึ่งเราได้เป็นกลับทำหน้าที่ไม่ได้ มันก็ติดอยู่ในใจนะ ว่าเราอยากเป็นเอง เพื่อนก็โหวตเรา แต่เราทำไม่ได้ว่ะ และเราต้องยกตำแหน่งนั้นให้เพื่อนโดยจำเป็น ไม่งั้นพรรคก็เดินต่อไปไม่ได้
เราก็รู้สึก เสียดายจัง ชีวิตหนึ่งของวัยรุ่น ชีวิตแบบวัยรุ่นทั่วไป เหมือนตอนสมัยปีหนึ่ง เอะอะๆ ไปเที่ยว หรือ อยู่ดีๆ ตอนตีหนึ่งไปทะเลกัน ก็ไปเลย ชีวิตแบบนั้น ไม่มีแล้ว ไม่มีตั้งแต่มาทำการเมือง แต่มันยิ่งไม่มีเพราะรัฐยัดคดีความให้เรา จับขังไม่ปล่อย หรือ การมาคุกคามอะไรก็ตาม
มันก็เหมือนโดนแกล้ง เราก็รู้แหละว่าเขาแกล้ง แต่เขาก็คงทำได้แค่เนี้ย
Q: การที่เราบอกว่ารัฐกำลังแกล้งเรา ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า เขาทำอะไร ทำไปทำไม?
ถ้าเรามองดูคดีทางการเมือง จะพบว่ามันมีคดีที่มีเหตุผล กับคดีที่โคตรไร้สาระเลย มันมีทั้งสองอย่างอยู่ด้วยกันซึ่งจริงๆ แล้ว ชั้นสอบสวนเขาต้องกรองว่า เรื่องไหนควรจะไปต่อ หรือ เรื่องไหนไร้สาระเกิน ไม่ต้องไปทำคดีนี้หรอก แต่มันกลายเป็น เอาหมด
อะไรก็ตาม คดีทางการเมือง เอาหมด เอาหมด เอาหมด ให้มันไปจบที่ศาลเอา
เพราะฉะนั้นคนที่โดนคดี ทั้งๆ ที่ไม่ควร ต้องมีภาระมากขึ้น หรือบางคน ยังไม่ทันโดนคดีแต่ไปทำกิจกรรมทางการเมือง ถูกคุกคามที่บ้าน อะไรแบบนี้ อย่างน้องทีมเราก็โดนส่งจดหมายไปขู่ที่บ้าน ไปหาพ่อแม่เป็นรูปลูกตัวเอง แล้วก็ขู่ว่าระวังลูกจะเรียนไม่จบ
หรือกระทั่งบ้านพักเราเอง ที่เราอยู่ ปัจจุบันมันก็ยังอยู่ กล้องวงจรปิดแปดตัวรอบบ้าน เอาไว้ดูว่าเรามาเจอใครใครมาเจอเรา
การจับขังไม่ปล่อย การยิ่งทำซ้ำๆ จะทำให้คนมันชิน ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวคือ คนมันชินไปแล้ว กับการที่เพื่อนของเราไม่ได้ออกมา ชินแล้วกับการที่เพื่อนเราถูกขัง คือคนไม่ได้ประกัน แล้วไงอ่ะ ตอนนี้ก็อยู่ในคุก ก็ไม่ได้ประกัน แต่ไม่เป็นไรฉันยังมีความสุขดี ทั้งที่เพื่อนเราอยู่ในนั้น แมร่งโคตรทรมาน
การกระทำอะไรซ้ำๆ ซ้ำเพื่อให้คนชิน มันกลายเป็นว่า คนที่ถูกดำเนินคดีไปทั้งหมด มันจะกลายเป็นถูกทอดทิ้งเราคิดว่า มันคือสิ่งที่รัฐอยากให้มันเกิด คือ การทิ้งความสนใจเรื่องนี้ไปซะ ทั้งเรื่องอะไรก็ตาม อย่างเรื่องม็อบมันก็เห็นชัด ทำซ้ำๆ เขาไปประกาศ แล้วก็สลาย จับ ยึดของ ทำแบบนี้จนชิน ไม่รู้เราเสียลำโพงให้ตำรวจกี่ชุดแล้ว ตู้แอร์ก็เคยเสียให้ตำรวจ ไอ้พวกนี้มันเป็นทรัพยากรที่มันหาทดแทนได้ แต่มันหายาก
พูดจริงๆ เราไม่ได้มีเงินกันขนาดนั้น แค่จะหาลำโพงที เช่าไม่ได้ก็ต้องซื้อ ต้องคิดแล้วคิดอีก แทนที่จะเอาเงินของประชาชนไปใช้อย่างอื่น ใช้เพื่อสู้ต่อ ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อ แต่กลับต้องมาใช้ซื้อของเดิมๆ หรือ เช่าของเดิมๆ คือ ลำโพงที่ต้องยึดตลอดเวลา สน.นั้น ทำคอนเสิร์ตได้แล้วมั้งหนูว่า ลำโพงน่าจะพอ ขาดแค่เวที
Q: การที่รัฐละเมิดสิทธิของประชาชนจนเป็นเรื่องเคยชิน หรือ การถูกคุมขังจนผู้คนลืมมันน่ากลัวขนาดไหน?
มันน่ากลัวมาก ในนั้นมันก็อยู่ได้ตามมีตามเกิด แต่สิ่งที่ทำให้เราอยู่ไม่ได้คือ ความกระวนกระวาย ความไม่สบายใจ
อย่างตอนนี้ การเคลื่อนไหวมันไม่ได้มีอะไรมาก เราได้รับจดหมายจากเบนจา ข้อความน้อยๆ ที่บอกว่า ‘มึงอย่าทิ้งกูนะ’ โอ้โห หัวใจแทบสลาย แบบ ไม่! เพื่อนกูไม่ทิ้งมึงหรอก แต่ในสถานการณ์แบบนี้กูทำอะไรมากไม่ได้ จะจัดม็อบทีก็ต้องคิดแล้วคิดอีก จะเอาคนออกมาดีมั้ย หรือ คนพร้อมจะออกมากับเรามั้ย คนกังวลเรื่องโรคมากแค่ไหน เราก็กังวลเหมือนกัน เราก็ไม่อยากให้คนออกมาเสี่ยง คืออุปสรรคมันเยอะมาก คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญด้วย ยิ่งเข้าไปใหญ่
มันก็ยังดีที่มีพวกป้าๆ เสื้อแดงอยูหน้าเรือนจำทุกวัน เวลาเราออกมาศาลเราก็จะเห็น เราก็ยังใจชื่น แต่นอกจากนั้น มันคิดอยู่ในหัวว่า คนข้างนอกทำอะไรน้า มีกิจกรรมอะไรบ้างหรือเปล่าน้า มีตรงไหนบ้างหรือเปล่าที่เราไม่รู้
ถ้าเราสามารถไว้ใจกันได้ และเรารู้ว่าทุกคนจะไปกันต่อแน่นอน อันนั้นก็สบายใจ
Q: ในสังคมที่ถูกทำให้เคยชินกับการละเมิดสิทธิฯ เรามีเวลายังไงให้ไม่เคยชินไปกับมัน?
การชินมันเป็นเรื่องปกติ มันห้ามกันไม่ได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ ต้องย้ำตัวเองทุกวันว่า เพื่อนเราอยู่ในคุก เพื่อนเราอยู่ในนั้น ลองนับวันดูก็ได้ ว่ามันกี่วันมาแล้ว นับไปทุกวัน
มันอยู่ที่ใจคนจริงๆ ว่า ใจของพวกเรามันอยู่ด้วยกันแค่ไหน ถ้ามันอยู่ด้วยกันจริงๆ มันเป็นสหาย ยังไงมันอยู่ในใจทุกวันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม มันคิดอยู่ในหัวตลอดว่า เพื่อนเราอยู่ในคุก เพื่อนเราอยู่ในคุก เราจะมีความสุขได้ขนาดไหนกันเชียว เราจะกินข้าวกันได้อร่อยขนาดไหนกันเชียว เราจะหลับได้สบายขนาดไหนกันเชียว ในเมื่อหัวเราคิดอยู่เรื่องเดียว คือ เพื่อนเราอยู่ในคุกตลอดเวลา
มันต้องเชื่อใจกันว่า เขาจะไม่ลืมเรา เขาจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้คนไม่ลืมและให้เราได้ออกมา มันต้องเชื่อใจกัน และเราก็พยายามจะเชื่อใจทุกคน
Q: สิ่งที่อยากให้คนภายนอกทำเพื่อคนข้างในคืออะไร
เราอยากให้คนพูดถึงเราทุกวัน ไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม พูดกับเพื่อน พูดกับพ่อ พูดในที่ทำงาน พูดในโซเชียล ให้มันอยู่ในชีวิตประจำวันไป แค่นี้เราก็ดีใจแล้ว หรือกระทั่งจะมายืนหยุดขังที่ศาลฎีกา เข้าร่วมกิจกรรมที่มีข้อเรียกร้องของพวกเรา ถ้าเราเห็น เราก็คงจะดีใจ
อีกกิจกรรมที่เราอยากให้คนทำคือ เขียนจดหมาย ถึงเราจะไม่ได้เข้า เราก็อยากให้ทุกคนเขียนจดหมายถึงทุกคนที่ยังอยู่ มันทำให้ใจชื้นขึ้น เพราะจดหมายมันเก็บได้ เราเก็บไว้ในห้องได้ เราเก็บไว้อ่านในวันที่มันเครียดมันท้อ มันเหงา พอหยิบจดหมายทุกคนขึ้นมาอ่าน มันก็ใจฟูขึ้น แต่ว่าแบบ จดหมายมันเข้ายากอยู่แล้ว แล้วยิ่งมาน้อย จำนวนมันก็ยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยความไม่มีระบบของเรือนจำ มันทำให้ไม่ได้จดหมายจากทุกคนเพราะมันต้องผ่านการตรวจสอบก่อน อะไรที่มันผ่านด่านมาได้ มันก็จะมาถึงเรา
อย่างตอนที่เราได้เมื่อรอบที่แล้ว เราเก็บไว้เป็นปึกเลย เราก็เอามาอ่านทุกวัน บางทีเพื่อนก็ขออ่านบ้างก็มี มันใจชื้นจริงๆ เลยอยากให้ทุกคนเขียนถึงเพื่อนเรากัน เป็นกำลังใจ
Q: ตลอดการต่อสู้ของเรามีสิ่งที่ต้องจ่ายมหาศาล ยังมีคำถามเรื่องคุ้มไม่คุ้มอยู่มั้ย?
เอาจริงๆ ตอนนี้มันเลยจุดคุ้มไปแล้ว มันมีแต่ความคิดว่าต้องไปต่อ แต่ไปต่อยังไงอีกเรื่องหนึ่งนะ เรื่องนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน ไม่ใช่ว่าเราคิดได้คนเดียว แต่ในส่วนของเรา ทุกคนก็จะบอกว่า รุ้งทำมาเยอะแล้ว พักบ้างก็ได้ให้คนอื่นทำบ้างก็ได้ ถามว่าเราอยากทำมั้ย เราก็คงอยากทำแหละ เราก็อยากพักบ้าง แต่ว่าพอเราพักจริงๆ เราพักไม่ได้เว้ย เราไปต่อไม่ได้
เราหวังจริง เราหวังจริงๆ เราอยากให้มันเกิดขึ้น เราอยากให้ข้อเรียกร้องมันสำเร็จ เพราะงั้น เราคิดว่า ทุกๆ คนมันต้อง ถ้าไม่ได้ทำงานก็ต้องคิดว่า จะทำอะไรต่อ เราเลิกคิดเรื่องคุ้มไม่คุ้มไปแล้ว เราคิดแต่ว่า เราจะไปยังไงกันต่อ ให้มันสำเร็จ
เอาจริงๆ ก็ อยากให้ทุกคนออกมาทำด้วยกันเหมือนกัน ตอนนี้ กลุ่มขบวนการเราก็มี แต่ว่า อย่างหนึ่งที่เราคิดคือ กลุ่มนี้ก็ยังอยู่ แต่วันหนึ่งมันจะยังอยู่หรือไม่อยู่ก็ได้ แต่ประชาชนทุกคนยังไงก็ยังอยู่ที่ไหนสักที บางทีถ้าเราทำงานกลุ่มกัน หมายถึงแบบ ถ้าประชาชนทุกคนไว้ใจให้เราเป็นคนคิดแผนให้ แล้วเราส่งต่อแผนให้เขา โอเคเราคิดให้แล้วนะ ไปทำ เพิ่มแนวร่วม หรืออะไรก็ตาม เราคิดว่าแมร่งเวิร์คนะ
ในช่วงขณะนี้ ที่ทุกคนอยากทำอะไรของตัวเองอยู่แล้ว ทุกคนอยากมีส่วนร่วมทางการเมือง ทุกคนอยากมีสิทธิมีเสียงในการทำอะไรก็ตาม ทุกคนอยากแอคชั่นเอง เราก็ไม่รู้ว่าทำไง แต่ถ้ามันมีวันหนึ่งที่เราคุยกันได้ว่า เดี๋ยวตรงนี้ๆ ไปทำอย่างนี้นะ มีอะไรบอกมาเดี๋ยวเราคิดให้ ถ้าในขบวนของเรามันมีแนวร่วมเพิ่ม มันมีคนมาเพิ่ม มันอาจจะวุ่นวายหน่อย แต่เราว่ามันดี มันยั่งยืนกว่า
Q: ความหวัง หรือ ความคาดหวังของเราในปี 2565 มีอะไรบ้าง
มันจะสายมูหน่อย แต่เราเชื่อคำทำนายปี 65 เรื่องการเปลี่ยนแปลงใหญ่ คือ เราไม่รู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงยังไง แม่หมอก็ตอบไม่ได้ว่าเปลี่ยนอะไร แต่ว่า เปลี่ยนไม่เปลี่ยน สุดท้ายเราคิดว่า ดวงมันไม่ได้นำเรา แต่เราอ่ะนำดวงเพราะงั้น ถ้าอยากให้มันเปลี่ยน ทุกคนก็ต้องช่วยกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคาดหวังก็คือ สิ่งนั้นแหละ
ณ ปีนี้ ขบวนการเคลื่อนไหวจะสามารถรวมคนได้มากแค่ไหน หรือ อาจจะสามารถสร้างสรรค์รูปแบบในการเรียกร้องแบบใหม่ที่ไม่ใช่แบบการมาชุมนุมบนท้องถนนแบบเดียวก็ได้ อะไรแบบเนี้ย มันอาจจะมีอะไรใหม่ๆขึ้นมา ตอนนี้มันก็มีเทคโนโลยีก้าวหน้า เราว่า อะไรพวกนี้ มันเป็นอะไรที่คาดหวังได้
และอีกสิ่งหนึ่งที่เราคาดหวังก็คือ เราคงคาดหวังว่าเพื่อนเราได้ปล่อยนั้นแหละ แล้วก็การเลือกตั้งเนี้ย อยากให้มันชัดเจนขึ้น คือ เราก็ลุ้น ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เราก็รอ ว่า โอเค กลิ่นมาแหละ แต่ว่าเมื่อไร เมื่อไรกันที่เราจะได้ใช้เสียงของเรา ร่วมลงคะแนนกันเพื่อล้มเผด็จการ
อย่างหนึ่งที่เราคาดหวังและขอให้มันเป็นมากๆ คือ เราดูสถิติทุกๆ ปี การมาใช้สิทธิเลือกตั้งมันจะอยู่ที่ประมาณ70% ไม่เคยเกิน 75% ตั้งแต่ปี 48 อีก 30% ไปไหน แล้วลองคิดดูว่า ถ้า 30% นั้นมาลงคะแนนให้ฝ่ายประชาธิปไตย โอ้ย อีเหี้ย! เราชนะไปตั้งแต่ปี 62 แล้ว เพราะฉะนั้น ความหวังมันอยู่ที่การเลือกตั้งครั้งถัดไปใครจะบอกว่ามันไกลตัวก็บอกไปเถอะ ไม่ มันไม่ไกล ถึงมันจะไม่ใช่แบบในต้นปีนี้หรือในปีนี้ แต่ในอีก 15 เดือนมันจะมาถึง หมดวาระยังไงก็ต้องเลือกตั้งใหม่ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเริ่มคิดกันได้แล้วว่าจะเอายังไง กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวก็เหมือนกัน ประชาชนก็ดี ต้องเริ่มคิดแล้วว่า ในสนามครั้งถัดไปที่จะมาถึงจะทำยังไงได้บ้าง เพื่อจะทำให้ฝั่งประชาธิปไตยมันชนะ หรืออย่างน้อยก็ขอ 270 ที่นั่ง ขอแค่นั้น
ถ้าเราคาดหวังในอะไรไม่ได้ เราคาดหวัง 375 ที่นั่งไม่ได้ ก็ขอแค่ 270 ที่นั่ง
Q: ตัวเลขจำนวน ส.ส. 270 ที่นั่ง มันสำคัญยังไง?
ตัวเลข 270 เราไม่รู้ว่ามันจะมีเพิ่มหรือเปล่า แต่มันเกิน 250 (จำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) มาแล้ว มันก็มีความหนักแน่นระดับหนึ่งเวลาจะพูดอะไรพร้อมๆ กัน คือ เราอยากให้มันเยอะกว่านั้นแหละ นี่เป็นขั้นต่ำ แต่เยอะกว่านั้นได้ก็ดี เราคิดว่าทุกคนต้องช่วยกันคิดว่า จะทำยังไง
แค่อยากให้รู้ว่าการเลือกตั้งครั้งถัดไปสำคัญ และอยากให้ช่วยกันทำให้เปอร์เซ็นของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า 80% ให้ได้
มีลูกบอกลูก มีหลานบอกหลาน มีเพื่อนบอกเพื่อน
เราไม่รู้ว่าคนกลุ่มนั้นเป็นใคร กลุ่มคนที่ไม่ได้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ถ้าเขารู้ตัวเอง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ที่มันจะมาถึง ออกมาให้หน่อย ได้โปรด ออกมาเถอะ แล้วกาฝั่งประชาธิปไตย
Q: ช่วยขยายความคำว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” หน่อย นโยบายขั้นต่ำมันต้องมีอะไรบ้าง?
เราว่าขั้นต่ำคือ อะไรที่เป็นมรดกมาจากการรัฐประหาร อันที่หนึ่ง แต่ในเรื่องถัดๆ ไป เราคิดว่ามันจะต้องมีเวทีในการแสดงวิสัยทัศน์ของแต่ละพรรค หรือกระทั่งว่า มีการถามถึงเรื่องการยกเลิก 112 อย่างน้อยเรื่องนั้น เราคิดว่า เขาควรจะตอบทุกประเด็นให้ชัดเจนให้ได้ และให้ประชาชนร่วมกันตัดสินว่า พรรคไหนที่ควรเลือก และพรรคไหนที่อย่าไปเลือกมัน
Q: ช่วยขยายความคำว่า “ไม่เอา มรดกคสช.” หน่อย รูปธรรมมีอะไรบ้าง?
ต้องพยายามที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องไม่สนับสนุนผู้คนที่เป็นองคาพยพของคณะรัฐประหาร เช่น ก็แน่นอนประยุทธ์ ประวิตร หรือใครก็ตามที่มันเป็นเพื่อนกัน ใครจะมาขึ้นสู่อำนาจอีกไม่เอา ไม่โหวตนายกฯ ที่มาจากเพื่อนพ้องญาติมิตรของพวกเผด็จการ ไม่เอา
แล้วก็เราคาดหวังในนโยบายในการหาเสียงของพรรคใดก็ตาม จะพรรคไหนก็เลือกกันเอาแล้วกัน คือ ข้อเรียกร้องบนท้องถนนสำคัญ ควรที่จะให้ความสำคัญ และทำเป็นนโยบายสำหรับประชาชนตรงนี้ด้วย เพราะว่า เวลาจะเลือกตั้งคุณไม่สามารถทิ้งเสียงใดเสียงหนึ่งได้ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นก็อยากบอกว่า กลุ่มพวกเราสำคัญเหมือนกัน อย่าละทิ้งพวกเรา อย่าเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของเรา เพราะว่า เราคิดว่า เราก็อุดมการณ์คล้ายกัน หรืออุดมการณ์เดียวกันด้วยซ้ำ เราแค่อยากให้บ้านเมืองนี้มันดีขึ้น ซึ่งเราคิดว่า พวกคุณก็คงเหมือนกัน
ถ้าพวกคุณฟังแล้วคิดว่าเป็นตัวเอง ก็คงเป็นคนนั้น เพราะงั้น เราคิดว่าช่วยหน่อยเถอะ แล้วในช่วงที่เป็นสนามเลือกตั้ง ขบวนการเคลื่อนไหวก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้คนออกมาใช้เสียงเลือกตั้งเพิ่มขึ้น หรือทำให้เลือกได้ง่ายขึ้นว่าจะเลือกใครไม่เลือกใคร
Q: เหตุการณ์ในวันที่ 12 มกราคม 2565 หลังครบกำหนดระยะเวลาปล่อยตัวชั่วคราว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ เราจะยื่นขยายระยะเวลาก่อน แต่เราก็ทำของเรา ถ้ามันได้เข้าจริงๆ วันที่ 12 เราคงได้เข้าเรือนจำแล้ว เพราะกำหนเวลาเราคือ 12 ตอนสี่โมงครึ่งเป๊ะ ต้องอยู่ในเรือนจำแล้ว และจะมีอะไรต่อจากนั้นต่อ เราไม่รู้แล้ว มันก็คงมีการขอยื่นประกันต่อก็ได้
แต่ถ้าไม่ได้ เพื่อนเราก็อยู่มานานแล้ว จะห้าเดือนแล้ว เพราะงั้น เราก็ไม่ได้คิดว่า ถ้าเข้าไปอีก แล้วมันจะออกมาง่าย คราวนี้มันอาจจะยาวมากก็ได้ เราก็ไม่ได้อยากคาดหวังอะไรเยอะ เพราะงั้น ถ้าเราเข้าไปไม่ต้องมองหาคนข้างใน มองหาคนที่อยู่ข้างนอกเลย ไม่ต้องมองหาคนข้างใน มองหากลุ่มคนที่ยังเคลื่อนไหวอยู่เลย แล้วไปร่วมกับพวกเขา ไม่ต้องมาห่วงเรามากก็ได้ แต่ว่าไปสู้ต่อเถอะ
Q: การให้เหตุผลกับศาลเพื่อขอขยายระยะเวลาในการปล่อยตัวชั่วคราวคืออะไร?
เรื่องแรกก็คือ เรื่องเรียนนี่แหละค่ะ โดยเฉพาะเรื่องวิชาวิจัย เพราะวิจัยอันนี้มันจะต้องทำทั้งเทอม ถ้าให้ได้แค่ชั่วหนึ่งก็ทำมันไม่ได้ ถ้าไม่ให้ทั้งเทอม ไม่สามารถทำได้ แล้วก็ยื่นเรื่องสุขภาพของเราด้วย เพราะเราเพิ่งค้นพบว่าเราเป็นซึมเศร้า เพราะงั้นก็อยากได้รักษาตัว เราไม่อยากเป็นหนักมากกว่านี้เหมือนกัน ก็คงให้เหตุผลประมาณนี้เราไม่ได้มีเหตุผลอะไรไปมากกว่านี้ที่จะขอ เราขอแค่เรื่องเรียนกับเรื่องสุขภาพ
เรามองว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ได้ประกันตัวอีก เรามองงี้ แต่ผู้มีอำนาจที่บังคับใช้กฎหมายก็สามารถกระทำได้ต่างๆ นานา แต่เราคาดหวังแค่ว่า ลองมองเราให้เป็นแค่เด็กนักศึกษาคนหนึ่ง เราไม่ใช่แกนนำตลอดเวลา อย่างศาล ศาลก็เห็นเวลาอยู่ในห้องพิจารณา เราเป็นยังไงรู้หมด มันชัดเจนอยู่แล้วว่าเราเป็นคนยังไง
อย่างเรื่องเงื่อนไข(ประกันตัว) เอาจริงก็ไม่เคยผิด ไอ้ที่ถอนประกันรอบที่แล้ว ที่เราบอกผิดเงื่อนไข พอดูจริงๆมันจะผิดได้ยังไง แต่มันเหมือนจำเป็นที่จะต้องผิดสำหรับเขาให้ได้
แต่จริงๆ ต้องย้ำนะว่า เงื่อนไขเหล่านี้พรากเสรีภาพในการแสดงออกของเราไป มันละเมิดสิทธิของเราอย่างชัดเจน ต้องย้ำตรงนี้ชัดๆ เลยว่า มันละเมิดสิทธิเรา แต่บางทีเราก็ต้องแลกมัน เราต้องมีอิสรภาพด้วย จะได้ทำอย่างอื่น อยู่ในคุกไม่เคยเป็นประโยชน์
เราเชื่อเรื่องการพูดคุยกัน หากสามารถหาพื้นที่ให้พวกเราประชาชนธรรมดากับผู้มีอำนาจได้คุยกัน เราคิดว่ามันคงจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ฟังกันมากขึ้น ได้เข้าใจกันมากขึ้น หรือกระทั่งได้หาทางออกร่วมกัน
ที่คนออกมาชุมนุมกันขนาดนี้ ที่คนออกมาชุมนุม มาเรียกร้อง มาพูดจนโดนคดีกันขนาดนี้ เพราะมันขาดพื้นที่ในการแสดงออก มันจึงจำเป็นสำหรับพวกเรา พวกเขา ที่จะต้องออกไปชุมนุมกันบนท้องถนน ต้องทำกิจกรรมอะไรบ่อยๆ กันขึ้นมา เพราะมันไม่เคยมีการได้รับฟัง แต่ถ้ามันมี และบ้านเมืองเราเป็นปกติมากกว่านี้ เราอาจจะไม่มีการชุมนุมเลยก็ได้ เพราะปัญหาทุกอย่างมันคงจะได้คลี่คลาย