วันพุธ, กรกฎาคม 07, 2564

หายนะหลายอย่างในประเทศนี้มีต้นตอที่ระบอบห่วยของคนเพียงคนเดียว



sirote klampaiboon
@sirotek


หายนะหลายอย่างในประเทศนี้มีต้นตอที่ระบอบห่วยของคนเพียงคนเดียว "พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2562 มีการยกเลิกระบบต่ออายุใบอนุญาตโรงงาน ทำให้โรงงานไม่ถูกตรวจสอบความปลอดภัยทุกๆ 5 ปี โรงงานขนาดเล็กหลายหมื่นแห่งไม่อยู่ภายใต้การกำกับของกฎหมาย สามารถตั้งโรงงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง


iLaw
Yesterday at 10:41 AM ·

ปี 2562 สนช. แก้ พ.ร.บ.โรงงาน เอื้อนายทุน-ยกเลิกระบบต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี
.
จากกรณีเกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ทำให้ประชาชนเกิดคำถามต่อมาตรการดูแลความปลอดภัยของชุมชน โดยเฉพาะ พ.ร.บ.โรงงาน ปี 2562 ซึ่งออกในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ
.
โดย พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับดังกล่าว มีการปรับเปลี่ยนและตัดบางมาตราของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับเดิม) อย่างเช่น การปลดล็อคให้โรงงานที่ใช้เครื่องจักรขนาดต่ำกว่า 50 แรงม้าขึ้นไปหรือกิจการที่มีคนงานต่ำกว่า 50 คน ไม่ถูกจัดเป็นโรงงานภายใต้การกำกับดูแลกฎหมายโรงงาน แต่จะอยู่ภายใต้การดูแลของข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ พ.ร.บ. สาธารณะสุข พ.ศ 2535 แทนซึ่งสามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมืองหรือทำเลที่ตั้ง
.
โดยผลที่อาจจะตามมาของการแก้ไขดังกล่าว คือ การทำให้บางโรงงานที่ใช้เครื่องจักรขนาดเล็กและมีคนจำนวนไม่มาก แต่เป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงและกระทบกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น กิจการคัดแยกของเสีย กิจการหล่อหลอม กิจการรีไซเคิลของเสีย การจัดเก็บสารเคมีอันตราย หลุดรอดจากการตรวจสอบ
.
อีกทั้ง ยังเอื้อโรงงานขนาดใหญ่สามารถตั้งโรงงานได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการ รวมถึง อาจทำให้เกิดการลัดขั้นตอนการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA/ EHIA) ซึ่งทำให้เกิดความหละหลวมในการตรวจสอบและขาดการพิจารณาถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งโรงงาน และผลกระทบอื่นๆ
.
นอกจากนี้ ภายใต้ พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับใหม่ ยังมีการยกเลิกระบบการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุก 5 ปี ทั้งๆ ที่ การกำหนดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการทุก 5 ปี เป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นการให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบสภาพโรงงาน เครื่องจักร รวมถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่ใกล้ว่าสามารถดำเนินการเปิดต่อไปได้หรือไม่
.
อ่านสรุปกฎหมายโรงงานได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5163