วันเสาร์, กรกฎาคม 03, 2564

ดูกราฟจำนวนผู้ติดโควิดในปะเทดไทยในแต่ละวันแล้วกุเหม่อเลย



The Momentum
@themomentumco


#แอสตร้าเซเนก้า พลาดเป้า ต้องเติม #ซิโนแวคเพิ่มเดือนละ 5 ล้านโดส ส่วน #ไฟเซอร์ ยังมาไม่ทันไตรมาส 3 รายละเอียด http://bit.ly/365SJav
.....

The Momentum
15h ·

AZ พลาดเป้า ต้องเติมซิโนแวคเพิ่มเดือนละ 5 ล้านโดส
ส่วนไฟเซอร์ยังมาไม่ทันไตรมาส 3
.
วันนี้ (2 กรกฎาคม 2564) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา ‘วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร’ ว่า บริษัทแอสตร้าเซเนก้าได้แจ้งมาแล้วว่าจะไม่สามารถจัดส่งวัคซีนได้ตามแผน คือ 10 ล้านโดสต่อเดือน เนื่องจากกำลังการผลิตของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จะอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านโดสต่อเดือน ยังไม่เต็มขีดความสามารถการผลิต โดยใน 16 ล้านโดสต่อเดือนยังต้องส่งให้กับประเทศอื่นด้วย เพราะต้องจัดส่งอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมตามนโยบายของบริษัทแอสตร้าเซเนก้าทั่วโลก ทำให้ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมนี้ ไทยจะได้รับวัคซีนจากแอสตร้าเซเนก้าอยู่ที่เดือนละ 5-6 ล้านโดสต่อเดือนเท่านั้น ทำให้ต้องหาวัคซีนชนิดอื่นเข้ามาเพิ่มเติม โดยตัวเลือกที่ดีที่สุดที่สามารถส่งให้ได้ในเวลานี้ คือซิโนแวค วัคซีนประเภทเชื้อตายของประเทศจีน ให้มีวัคซีนในมืออยู่ที่ 10 ล้านโดสต่อเดือนให้ได้
.
ทั้งนี้ ในสัญญาการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลกับแอสตร้าเซเนก้านั้น ไม่ได้ระบุจำนวน โดยกรมควบคุมโรคได้ส่งเฉพาะแผนการจัดฉีดวัคซีนว่าอยู่ที่ 10 ล้านโดสต่อเดือน ซึ่งบริษัทไม่ได้ปฏิเสธ โดยสัญญาจัดซื้อ ระบุเพียงกรอบกว้างๆ ไว้ที่ 61 ล้านโดสต่อปีเท่านั้น
.
ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติกล่าวอีกว่า สำหรับกำลังการฉีดวัคซีน 10 ล้านโดสต่อเดือนนั้น ไทยสามารถทำได้แน่ แต่ปริมาณของวัคซีนในมือคือปัจจัยสำคัญ เพราะฉะนั้น ซิโนแวคจึงเข้ามาด้วยเหตุผลที่ว่า ไทยมีวัคซีนจำกัด และจะสามารถใช้ได้ในช่วงเวลาเร่งด่วน
.
ขณะที่ข้อเสนอห้ามส่งออกวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้านั้น นายแพทย์นครกล่าวว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะจะกระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นๆ ที่สั่งซื้อวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าเช่นกัน ซึ่งสุดท้าย คนในประเทศนั้นๆ จะไม่ได้โกรธแค่รัฐบาลที่ห้ามส่งออก แต่จะโกรธคนไทยทั้งประเทศ และจะเกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมา
.
ส่วนการจัดหาวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์และโมเดอร์นานั้น ยังคงมีความพยายามในการจัดหา แต่เมื่อส่งใบจองไปยังบริษัทผู้ผลิตแล้ว ได้รับคำตอบว่าคงเป็นไปได้ยากที่จะจัดส่งในไตรมาส 3 ของปีนี้ จึงคาดว่าจะได้ของทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นาในไตรมาส 4 คือตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 20 ล้านโดส แต่ยืนยันว่าจองไว้แล้ว
.
ทั้งนี้สัญญาจองเป็นสัญญาที่มีลักษณะเสียเปรียบ จึงต้องปรึกษากับคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ทำให้เกิดความล่าช้าไปบ้าง และทำให้ได้รับวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านที่จองไปก่อนหน้านี้
.
“ต้องยอมรับว่าเราจองได้ช้ากว่าเขา เราจองแล้ว พูดคุยแล้ว แต่กระบวนการมันใช้เวลา เมื่อจองได้ช้ากว่า ก็ต้องยอมรับ”
.
เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์การจัดการวัคซีนจึงต้องเป็นไปเพื่อลดการป่วยหนักและการเสียชีวิตในช่วง 2 เดือนนี้ โดยเร่งฉีดไปยังผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เพื่อลดภาระในระบบบริการทางการแพทย์ ซึ่งวัคซีนที่มีในมือคือซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้านั้น สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้
.
นายแพทย์ คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา และที่ปรึกษาด้านวิชาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต โดยคาดว่ามีสายพันธุ์เดลตาระบาดในกรุงเทพฯ แล้วกว่า 40% ทำให้เดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพียงเดือนเดียวถึง 992 คน ด้วยแนวโน้มลักษณะนี้ เดือนกรกฎาคมจะมีผู้เสียชีวิต 1,400 คน เดือนสิงหาคม 2,000 คน เดือนกันยายนจะอยู่ที่ 2,800 คน และเดือนนี้เดือนเดียว ผู้เสียชีวิตเพียง 900 คน ระบบก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้แล้ว หากเป็นอย่างนี้ต่อไปจะไม่สามารถไปรอดได้อย่างแน่นอน
.
นายแพทย์คำนวณให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า ปัจจุบัน 80% ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถปกป้องคนกลุ่มนี้ได้ ก็จะสามารถลดการป่วยหนักได้ และลดการเสียชีวิตได้ รวมถึงอยู่ในวิสัยที่จะสามารถแก้ปัญหา เพราะต้องไม่ลืมว่า ในคนสูงอายุถ้าติด 100 คน จะตาย 10 คน แต่ถ้าคนอายุ 20-40 ติดเชื้อ 1,000 คน อาจตายแค่คนเดียว จึงต้องระดมฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
.
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์เดิม ไทยจะฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคม แต่ภายหลังมีการปรับเปลี่ยนให้ฉีดในพื้นที่ระบาด โรงงาน ชุมชน เพื่อให้เปิดโรงเรียนหรือให้แหล่งท่องเที่ยวได้ ซึ่งโดยความคิดดังกล่าวเป็นความคิดที่ดี แต่จะทำอย่างนั้นได้ ไทยต้องมีวัคซีนมากพอ และต้องมีการฉีดอย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์จริงที่ต้องยอมรับก็คือ ณ ขณะนี้ ไม่มีประเทศไหนที่มีวัคซีนไม่จำกัด กระทั่ง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือยุโรป ผู้ผลิต ก็ไม่มียุทธศาสตร์ฉีดปูพรมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ จึงต้องฉีดวัคซีนเพื่อลดการป่วยและการเสียชีวิตก่อน
.
“ที่ผ่านมาเราฉีดได้เดือนละ 10 ล้านโดสก็จริง แต่ฉีดผู้สูงอายุได้แค่ 10% หากยังเป็นอย่างนี้ เดือนกรกฎาคมจะได้ 20% เดือนสิงหาคมได้ 30% เดือนกันยายนได้ 40% เราอาจจะใช้เวลา 7-8 เดือน จึงจะป้องกันคนสูงอายุได้ ซึ่งจะมีวิกฤตเตียงและคนเสียชีวิตอยู่เรื่อยๆ”
.
เพราะฉะนั้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ควรระดมฉีดวัคซีนลงไปยังผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 17.5 ล้านคนให้ได้ เพื่อลดการเสียชีวิตเดือนละหลักพันให้เหลือเดือนละ 600-700 คน หรือประมาณวันละ 20 คน เพื่อให้อยู่ในวิสัยที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ และทำให้ระบบสาธารณสุขเดินหน้าต่อไปได้ ไม่วิกฤตเช่นนี้
.
“ตอนนี้ ผู้บริหาร นายกรัฐมนตรี ศบค. รัฐมนตรี ผู้ว่าฯ จะได้โควตาวัคซีนไป ขึ้นกับว่าจะฉีดให้ใครก่อน ถ้าฉีดหลายจุดมุ่งหมาย จำนวนผู้ป่วยจะเกิน เราจะรับไม่ไหว แต่ถ้าทุกคนเห็นตรงกันว่าเอาให้คนแก่ พ่อแม่ ลุงป้าตายาย คนที่มีโรค วิชาการพิสูจน์แล้ว ถ้าทำแบบนี้วัคซีนเพียงพอ เผื่อแผ่ให้กับแรงงานต่างชาติ ถ้าฉีดเสมอหน้าก็จะมีความยุติธรรม ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องเยียวยา เพียงแต่เปลี่ยนยุทธศาสตร์วัคซีนและการกระจายวัคซีน ก็จะแก้ปัญหาได้”
.
ขณะที่นายแพทย์ ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อมูลของไทย พบว่าวัคซีนซิโนแวค ไม่ว่าจะเป็นผลการทดสอบในเชียงราย ภูเก็ต หรือของกรมควบคุมโรค พบว่ามีประสิทธิผลในชีวิตจริง 71-90% และคนที่ติดโรคก็มีอาการน้อย สามารถลดอัตราการป่วยหนักและอัตราการเสียชีวิตได้ ส่วนที่หลายคนกังวลเรื่องสายพันธุ์เดลตา และมีข่าวว่าแพทย์ป่วยหลังฉีดวัคซีน และมีบางรายเสียชีวิตจากสายพันธุ์เดลตา แม้ได้รับวัคซีนครบแล้ว ได้ข้อมูลล่าสุดมาจากการศึกษาวัคซีนซิโนแวคกับสายพันธุ์เดลตาในกวางโจว ประเทศจีนว่า สามารถลดอาการปอดอักเสบได้ 73% และยังลดการเสียชีวิตได้ถึง 95% ที่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนนั้นคือสายพันธุ์เบตา ที่มาจากแอฟริกาใต้
.
“โดยสรุป ซิโนแวคเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ กันป่วย กันตาย แม้ว่ายังมีคนติดอยู่บ้างหลังจากฉีดวัคซีนที่ครบ ยังเป็นได้อยู่ ข้อดีก็คือใช้ได้ แม้จะเปียกปอนนิดหน่อยก็ไม่ว่ากัน”
.
ส่วนแอสตร้าเซเนก้านั้น พบว่าสามารถสู้กับสายพันธุ์เดลตาได้ โดยตอนที่ประเทศอินเดียมีการระบาดหนัก พบว่าแอสตร้าเซเนก้ามีประสิทธิผลถึง 97% ลดการตายและการเจ็บหนักไปมาก โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับวัคซีน mRNA ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา แต่ที่ยังสู้ไม่ได้ก็คือสายพันธุ์เบตา
.
ทั้งนี้ ในทางการแพทย์ยังถือว่าซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้ายังใช้ได้ แต่หากถามว่าซิโนแวคด้อยกว่าแอสตร้าเซเนก้าหรือไม่ ก็จะพบว่า หากดูตัวเลขจริงๆ หลังฉีดแอสตร้าเซเนก้า ภูมิคุ้มกันของแอสตร้าเซเนก้าจะขึ้นสูงกว่าและเร็วกว่า แต่ร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อโรคไม่ได้อยู่กับเรื่องภูมิคุ้มกันอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับเซลล์ในร่างกายว่าสู้ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้น อาการที่พบว่าป่วยหนักหรือเสียชีวิต ซิโนแวคก็สู้ได้เช่นกัน และผลข้างเคียงของเชื้อตายก็ค่อนข้างต่ำ ต่างจากผลข้างเคียงของ mRNA ที่สูงกว่า
.
ภาพ: กระทรวงสาธารณสุข