วันศุกร์, กรกฎาคม 09, 2564

ประยุทธ์และคณะทำงาน อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่ ปชช ส่วนใหญ่ของประเทศเกลียดชัง ไม่ศรัทธา ไม่เชื่อมั่น "ไล่ออก-ลาออก-ยุบสภา" ความเป็นไปได้หากพรรคร่วมถอนตัว



Thairath_News
@Thairath_News

ชาวเน็ตกว่าแสนคน โหวต 87.3% ไม่เคยเชื่อมั่นในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ 
#ไทยรัฐออนไลน์ ทำโพลในหัวข้อ "คุณ (ยัง) เชื่อมั่นในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่?" มีจำนวนผู้ร่วมโหวตผ่านทวิตเตอร์ 101,144 โหวต  
เชื่อมั่น 1.8%  
ไม่เคยเชื่อมั่น 87.3% 
ไม่เชื่อมั่นแล้ว 10.9%
.....
 
.....

เมื่อ 8 ก.ค. 2564 
โดย iLaw

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศไทยกำลังใกล้ภาวะวิกฤติไปทุกขณะ ทั้งจากจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรายวันที่พุ่งสูงขึ้น หรือการที่เตียงผู้ป่วยฉุกเฉินไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาการจัดหาวัคซีนล่าช้าและด้อยประสิทธิภาพ นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นรายวัน ซึ่งสะท้อนถึงภาวะ "รัฐล้มเหลว" ที่ประชาชนต้องออกมาพึ่งพากันเอง ด้วยเหตุนี้ จึงมีกระแสเรียกร้องให้ "เปลี่ยนม้าศึก" หรือเปลี่ยนตัวผู้นำรัฐบาล เพราะไม่เชื่อมั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถรับมือกับวิกฤติได้

อย่างไรก็ดี การจะ "เปลี่ยนม้าศึก" ได้หรือไม่ได้ เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งคือ "ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล" โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย หากว่าพรรคทั้งสองตัดสินใจถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลก็จะส่งผลให้ฐานที่มั่นในสภาผู้แทนราษฎรของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่นคลอน จนอาจจะนำไปสู่การแสดงความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีด้วยการลาออก หรือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายกรัฐมนตรี จนต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หรือไม่ก็อาจจะนำไปสู่การยุบสภาเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้งว่า ต้องการให้ใครเป็นรัฐบาล

"พรรคร่วมรัฐบาล" ฐานที่มั่นของ "นายกฯ" ในสภาผู้แทนฯ

ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ในมาตรา 272 กำหนดให้การให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า "กึ่งหนึ่ง" ของสมาชิกรัฐสภา หรือหมายความว่าต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า 376 เสียง ทั้งนี้ แม้ว่า พรรคพลังประชารัฐจะได้เปรียบเนื่องจากมีเสียงของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สนับสนุน แต่ทว่า พรรคที่จัดตั้งรัฐบาลก็จำเป็นจะต้องมีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ ไม่น้อยกว่า 250 คน อยู่ดี เพื่อเป็นหลักประกันว่า รัฐบาลจะสามารถผ่านกฎหมายสำคัญๆ ได้ อาทิ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ เป็นหลักประกันว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะไม่ถูกลงมติไม่ไว้วางใจ

หลังการเลือกตั้งในปี 2562 สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ได้ทำลายสถิติเป็นครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการมีพรรคการเมืองมากถึง 27 พรรคในสภา แต่ทว่า ก็ไม่มีพรรคไหนครองเสียงข้างมากเกิน "กึ่งหนึ่ง" ของสภา ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็น "รัฐบาลผสม" ที่มีพรรคร่วมรัฐบาลถึง 20 พรรค และมีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 253 คน ซึ่งประกอบไปด้วย
  • พลังประชารัฐ 115 คน
  • ประชาธิปัตย์ 52 คน
  • ภูมิใจไทย 51 คน
  • ชาติไทยพัฒนา 10 คน
  • รวมพลังประชาชาติไทย 5 คน
  • พลังท้องถิ่นไท 3 คน
  • ชาติพัฒนา 3 คน
  • รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง
  • ประชาชนปฏิรูป 1 คน
  • พรรคเล็ก 11 คน ได้แก่ พลังชาติไทย, ประชาภิวัฒน์, ไทยศรีวิไลย์, พลังไทยรักไทย, ครูไทยเพื่อประชาชน, ประชานิยม, ประชาธรรมไทย, พลเมืองไทย, ประชาธิปไตยใหม่, พลังธรรมใหม่, ไทรักธรรม
ทั้งนี้ หากดูจากจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรค จะพบว่า พรรคพลังประชารัฐที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาลมี ส.ส. เพียง 115 คน และแม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะได้รับเสียงสนับสนุนอย่างถล่มทลายจาก ส.ว. ที่ตัวเองเป็นคนเลือกมาถึง 249 เสียงในการดำรงตำแหน่งนายกฯ แต่ถ้าไม่มีเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ อนาคตของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ ก็อาจจะไม่มั่นคง

ต่อมาในปี 2564 หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทั้งกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ และการเลือกตั้งซ่อมในหลายเขต ทำให้จำนวนที่นั่งในสภาเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านที่เหลือ ส.ส. เพียง 212 คน ในขณะที่พรรครัฐบาลมี ส.ส. เพิ่มมากขึ้น รวมเป็น 271 คน ดังนี้
  • พลังประชารัฐ 119 คน
  • ภูมิใจไทย 61 คน
  • ประชาธิปัตย์ 48 คน
  • ชาติไทยพัฒนา 12 คน
  • รวมพลังประชาชาติไทย 5 คน
  • พลังท้องถิ่นไท 5 คน
  • เศรษฐกิจใหม่ 5 คน
  • ชาติพัฒนา 4 คน
  • รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 คน
  • พรรคเล็ก 10 คน ได้แก่ พลังชาติไทย, ประชาภิวัฒน์, พลังไทยรักไทย, ครูไทยเพื่อประชาชน, ประชานิยม, พลเมืองไทย, ประชาธิปไตยใหม่, พลังธรรมใหม่, ประชาธรรมไทย, ไทรักธรรม
แม้ว่าเสียงของพรรครัฐบาลจะเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่า หากพรรคพลังประชารัฐ ไม่มีเสียงสนับสนุนจาก พรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลก็จะมีเสียงน้อยกว่าพรรคฝ่ายค้านในทันที ดังนั้น การถอนตัวของสองพรรคขนาดกลางจะทำให้ความมั่นคงของรัฐบาล และเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่นคลอน



"ไล่ออก-ลาออก-ยุบสภา" ความเป็นไปได้หลังพรรคร่วมถอนตัว

แม้ว่าการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาลจะไม่ได้มีผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทันที แต่มันก็สร้างแรงกดดันที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้สามลักษณะ ได้แก่

หนึ่ง นายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออก

ถ้าหากว่าพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ถอนตัว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐจะมีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพของรัฐบาล เพราะจะทำให้กฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภา ดังนั้น ผู้ที่ต้องแสดงความรับผิดชอบ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำรัฐบาล ที่อาจจะต้อง "ลาออก"

สอง นายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจ

ถ้าหากว่าพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ถอนตัว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐจะมีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ดังนั้น ถ้ามีการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ก็มีแนวโน้มว่าสภาผู้แทนราษฎรอาจจะมีมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นผลให้นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือ ไม่ต่างจากการถูกสภา "ไล่ออก"

สาม นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภา

ถ้าหากว่าพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ถอนตัว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐจะมีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ฝ่ายบริหารหรือนายกรัฐมนตรีใช้ตอบโต้ได้คือ "การยุบสภา" เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่และให้ประชาชนกลับไปตัดสินใจในคูหาเลือกตั้งอีกครั้งว่ายังให้การสนับสนุนพรรคที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอยู่หรือเปล่า

ประยุทธ์ลาออก เปิดทางว่าที่นายกฯ​ คนต่อไป

อย่างไรก็ดี ถ้านายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออก หรือ ต้องพ้นจากตำแหน่งไปเพราะถูกลงมติไม่ไว้วางใจ ผลที่ตามมาคือ คณะรัฐมนตรีทั้งชุดต้องพ้นไปจากตำแหน่งด้วย อีกทั้ง สภาผู้แทนราษฎรต้องมีการเสนอผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกฯ คนใหม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ได้กำหนดให้ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะต้องเป็นคนที่อยู่ใน "บัญชีนายกฯ" ที่พรรคการเมืองเสนอ และพรรคการเมืองนั้นจะต้องมี ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

โดยผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการดำรงตำแหน่งนายกฯ เท่าที่เหลืออยู่ ได้แก่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์, ชัชชาติ สิทธิพันธ์ และ ชัยเกษม นิติศิริ จากพรรคเพื่อไทย หรือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ หรือ อนุทิน ชาญวีรกูล จากพรรคภูมิใจไทย และถ้าหากรัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกฯ จากบัญชีดังกล่าวได้ รัฐสภาก็สามารถเลือก "นายกฯ คนนอก" หรือ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีนายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอ แต่รัฐสภาต้องเห็นชอบด้วยกับวิธีการดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา

นอกจากนี้ ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ยังกำหนดให้ การให้ความเห็นชอบนายกฯ ในระหว่างห้าปีแรกนับตั้งแต่มีสภาชุดแรก ให้กระทำในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา หรือหมายความว่า นายกฯ จะต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือไม่น้อยกว่า 375 เสียง แถมเสียงข้างมากที่สุดในสภา หรือประมาณ 250 เสียง ยังเป็นของ ส.ว. ที่มาจาก คสช.

.....
Thanapol Eawsakul
11h ·
ทางรอดประยุทธ์ จันทร์โอชา และ 3 ป. ตอนนี้คือการหาทาลงอย่างไรไม่ให้ถูกเช็คบิล
ณ นาที่นี้ใครคิดว่าเลือกตั้งครั้งหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
จะมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐอีกบ้างครับ
สิ่งที่ 3 ป.ต้องทำตอนนี้คือ ลงจากหลังเสืออย่างไรไม่ให้ถูกเช็คบิล
คือไปรีบเจรจาแต่เนิ่น ๆ กับพรรคการเมืองขั้วตรงข้ามว่า
เลือกตั้งครั้งหน้า 3 ป.จะวางมือแลกกับการไม่เช็คบิล
แต่ถ้ายังเล่นการเมืองแบบ เดินหน้าเต็มที่ ก็เตรีบมตัวเลย อย่างน้อยก็ถู฿กยึดทรัพย์ เพราะแผลแต่ละคนมากเหลือเกิน