ใครยังไม่เข้าใจว่าร่างนิรโทษกรรมของรวมไทยสร้างชาติรวมคดีอะไรบ้าง หรือไม่รวมบ้าง ดูบัญชีแนบท้ายประกาศเค้าทำรายการมาแล้วตามนี้นะครับ อ่านเองได้เลย แต่ว่า คนไม่เคยเปิดประมวลกฎหมายอาญาอาจจะเห็นเลขแล้วไม่รู้จัก
— ยิ่งชีพ (เป๋า) (@yingcheep) July 17, 2025
แต่ถ้าอยากได้กราฟฟิคที่สรุปแล้วคืออันที่อยู่ข้างล่างครับ https://t.co/Hq6y8PxsuC pic.twitter.com/lGj7AT7wf9
ไอ้พวกที่พูดว่า คนโดน112 มีไม่กี่ร้อย ไม่ถึง 1% ของคนไทย ดังนั้น ไม่ต้องพิจารณาเรื่องนิรโทษกรรมหรอก
— ยิ่งชีพ (เป๋า) (@yingcheep) July 17, 2025
ขอให้ทราบว่า คนโดนคดียุคเสื้อเหลือง, กปปส. มีอย่างละประมาณ 200 มีน้อยกว่ามาก งั้นไม่ต้องนิรโทษกรรมเลยเนอะ เพราะไม่ถึง 1% เลย
งั้นคว่ำร่างหมดเลยเนอะ เอาปะ
ผมโอเคนะ

Yingcheep Atchanont
3 hours ago
·
นี่คือตัวเลขที่เราต้องการและอยากให้สังคมได้รู้ครับ
วันนี้ให้สัมภาษณ์ไปหลายรายการแล้วแต่ว่าเพิ่งได้อ่านงานนี้ตอนดึกเมื่อมาถึงบ้านแล้ว
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
17 hours ago
·
ผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองในยุคหลังปี 2563 จำนวนกว่า 1,218 คน อาจไม่ได้ประโยชน์จากร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 3 ร่าง ที่สภารับรอง
.
.
หลังจากวันที่ 16 ก.ค. 2568 สภามีการลงมติผ่านความเห็นชอบในวาระแรกต่อร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองจำนวน 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ที่เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (เดิม) และพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่รับหลักการใน 2 ร่าง คือร่างของพรรคก้าวไกล (เดิม) และเครือข่าย #นิรโทษกรรมประชาชน
.
เพจเฟซบุ๊กของพรรคเพื่อไทย มีการนำเสนอข้อมูลว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้ จะ “ปลดบ่วงพันธนาการ” ครอบคลุมคดีการเมืองตั้งแต่ปี 2548 -2565 อย่างน้อย 3,254 ชีวิต และมีการยกตัวเลขสถิติของผู้ถูกดำเนินคดีจากช่วงสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงต่าง ๆ ประกอบ โดยข้อมูลบางส่วนเป็นระบุว่ามาจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในยุคการชุมนุมหลังปี 2563 ระบุว่ามีจำนวนผู้จะได้ “ปลดบ่วงพันธนาการ” กว่า 1,683 คน แต่การใช้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปอย่างมาก โดยมีประเด็นข้อสังเกตดังนี้
.
.

.
ในร่างกฎหมายของพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคกล้าธรรม นั้นมีความผิดแนบท้ายจำนวน 12 ข้อ เช่นเดียวกัน ส่วนร่างของพรรคภูมิใจไทย มีการเพิ่มข้อหาตาม พ.ร.บ.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 เข้ามาอีกหนึ่งข้อหา
.
โดยไม่ต้องพูดถึงมาตรา 112 บัญชีแนบท้ายของทั้งสามร่างดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมความผิดอีกหลายข้อหาที่มีผู้ชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองถูกกล่าวหา อาทิ เช่น ความผิดฐานดูหมิ่นศาล, ความผิดฐานทำให้ทรัพย์สาธารณะเสียหาย (ม.360), ความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, ความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ, ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ, ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ, ความผิดตาม พ.ร.บ.ยุทธภัณฑ์ หรือความผิดลหุโทษอีกบางส่วน เป็นต้น
.
ยกตัวอย่างสถานการณ์คดีในบางข้อกล่าวหา ที่มีการใช้กล่าวหาต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองในยุคหลังปี 2563 อาทิเช่น
.
– คดีตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่ในช่วงสถานการณ์โควิด มีการนำมากล่าวหาต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองคู่ไปกับข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกดำเนินคดีไม่น้อยกว่า 423 คน ใน 124 คดี หากมีการนิรโทษกรรมเฉพาะข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามร่างกฎหมายทั้งสามฉบับ แต่หากยังมีข้อหาตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ อยู่ ผู้ถูกกล่าวหาก็ยังต้องต่อสู้คดีต่อไป
.
– คดีข้อหาลหุโทษ อย่าง พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ ซึ่งมีผู้ถูกดำเนินคดีไม่น้อยกว่า 456 คน หรือข้อหากีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ซึ่งมีผู้ถูกดำเนินคดีไม่น้อยกว่า 289 คน
.
– คดีเกี่ยวกับวัตถุระเบิด ซึ่งพบว่ามีผู้ถูกกล่าวหาจากการชุมนุมในช่วงทะลุแก๊สปี 2564-65 จากการครอบครองระเบิดปิงปองหรือระเบิดประดิษฐ์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 75 คน ใน 53 คดี โดยคดีลักษณะนี้ในหลายกรณี ได้ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญาอีกด้วย
.
หากมีการนิรโทษกรรมโดยไม่ได้ครอบคลุมข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีชุมนุมทางการเมือง อาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่มีคดีจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาในหลายข้อหา มีบางข้อกล่าวหาเข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรม แต่บางข้อหาก็ยังค้างคาอยู่ ต้องต่อสู้คดีต่อไป
.
นอกจากนั้น สถิติที่พรรคเพื่อไทยนำเสนอนั้น อ้างอิงถึงเดือนมีนาคม 2568 แต่ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งสามฉบับที่สภารับรองนั้น กำหนดช่วงเวลาของการนิรโทษกรรมถึงปี 2565 เท่านั้น ทำให้มีอีกหลายคดีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาในช่วงปี 2566 จนถึงปัจจุบัน จะตกหล่นไป อาทิ คดีตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย, คดีละเมิดอำนาจศาลของนักกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงปีดังกล่าว เป็นต้น
.

.
แม้คดีเหล่านี้บางส่วนจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่หากเทียบกับจำนวนคดีจากการชุมนุมในยุคก่อนหน้า ทั้งช่วงการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง หรือ กปปส. ยังมีคดีค้างอยู่จนถึงปัจจุบันจำนวนไม่มากนัก แต่สัดส่วนของคดีที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบันล้วนเป็นสถานการณ์คดีที่เกิดขึ้นในยุคปี 2563 เป็นต้นมา
.
และแม้ในชั้นกรรมมาธิการและการพิจารณาร่างกฎหมายในวาระต่อไป จะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด รวมทั้งบัญชีข้อกล่าวหาแนบท้ายร่างกฎหมายดังกล่าวได้ แต่ความไม่ครอบคลุมของบัญชีข้อกล่าวหาที่ร่างกฎหมายทั้งสามร่างบัญญัติไว้ตั้งแต่ต้นนี้ ก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการร่างกฎหมาย ที่ออกแบบโดยคิดถึงคดีจากการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมบางฝักฝ่ายเป็นหลักเท่านั้น แต่ไม่ได้พิจารณาให้ถ้วนทั่วถึงสถานการณ์คดีทางการเมืองที่เกิดขึ้นในทุกช่วงเวลา
.
.

.
หากพิจารณาความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนประกาศ/คำสั่งของ คสช. เรื่องการชุมนุมทางการเมือง ก็มีผู้ถูกดำเนินคดีอีกไม่น้อยกว่า 428 คน แล้ว รวมทั้งในช่วงเวลานี้ ยังมีคดีที่มีปัญหาการนำพลเรือนขึ้นพิจารณาในศาลทหาร ทำให้ไม่ได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม
.
การละเลยที่จะพิจารณาถึงสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงดังกล่าว ราวกับช่วงเวลานี้ล่องหนหายไปจากปัญหาการนิรโทษกรรมทางการเมือง จึงสะท้อนถึงปัญหาการออกแบบร่างกฎหมายทั้งสามร่างตั้งแต่ต้น
.
.

.
ขณะเดียวผู้ถูกคุมขังอีกหลายคน ที่ถูกกล่าวหาในคดีเกี่ยวกับการครอบครองหรือขว้างปาวัตถุระเบิด อย่างระเบิดปิงปอง ในช่วงการชุมนุมทะลุแก๊สที่ดินแดง รวมทั้งคดีของคนเสื้อแดงในช่วงการชุมนุมปี 2553-57 ที่มีข้อกล่าวหานี้ ก็จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากร่างกฎหมายดังกล่าว หากไม่มีการเพิ่มเติมข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในเรื่องนี้
.
นอกจากนั้นกลุ่มผู้ต้องขัง ยังพบว่ามีกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง และอาจมีข้อหาเกี่ยวข้องกับอาวุธ ก็จะไม่เข้าข่ายการได้รับการนิรโทษกรรมตามบัญชีแนบท้ายของร่างกฎหมายดังกล่าวแบบที่เป็นอยู่เช่นกัน
.
.

.
โดยหากพิจารณาเพียงตัวเลขคดีมาตรา 112 ที่ขึ้นสู่ศาลยุติธรรม ในระยะปี 2548 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่ามีไม่น้อยกว่า 1,493 คดี มากกว่าอีกหลายข้อหา ทำให้พอคาดหมายได้ว่ายอดจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีจากข้อหานี้มีจำนวนหลักพันคนในช่วงระยะสองทศวรรษที่ผ่านมา
.
แต่ทั้งนี้ตัวเลขโดยหน่วยงานรัฐ ต้องแยกแยะในรายละเอียดต่อไปว่า มีคดีเกี่ยวข้องกับจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองเท่าไร เพราะคดีมาตรา 112 บางส่วนมีลักษณะที่ถูกกล่าวหาเป็นเรื่องการแอบอ้างหาประโยชน์อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าข่ายคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
.
แต่โดยภาพรวมแล้ว ไม่สามารถกล่าวได้เลยว่าผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นเพียง “คดีส่วนน้อย” หรือ “คนกลุ่มน้อย” หากเทียบคดีในข้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง
.
.

.
ในการถูกดำเนินคดีของประชาชนแต่ละคนนั้น มีเลือดเนื้อและชีวิตของมนุษย์อยู่ในนั้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่สถิติตัวเลขจำนวนคดี ในหลายคดี แม้ไม่ถึงขั้นติดคุก แต่การมีภาระคดี ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ถูกกล่าวหา ทั้งภาระค่าใช้จ่าย เวลาในการต่อสู้คดี ผลกระทบต่อหน้าที่การงาน โอกาสในการเรียน สภาพจิตใจ หรือญาติมิตรบุคคลแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบไปด้วย การเร่งเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังต่างหาก คือการคืนความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นต่อผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองทุกคน
.
รวมทั้งองค์กรในกระบวนการยุติธรรมเอง ก็มีต้นทุนจากการนำมาใช้ดำเนินคดีเหล่านี้ ทั้งเวลาและภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปอันมาจากภาษีของประชาชน แทนที่จะใช้เวลากับคดีประเภทอื่น ๆ ของสังคม
.
การนิรโทษกรรมที่ไม่ครอบคลุมคดีจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองให้ครบถ้วนอย่างแท้จริง แต่เลือกปฏิบัติเฉพาะบางกลุ่มบางฝ่าย จะยิ่งส่งผลถึงทั้งสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งต่อกระบวนการยุติธรรม ต่อความขัดแย้งทางการเมือง และต่อการสร้างความ “สันติสุข” หรือ “ปรองดอง” ในสังคมไทยต่อไป
.
.

https://tlhr2014.com/archives/76880
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1147020187268450&set=a.656922399611567