
ประชาชนร่วมติดตามถ่ายทอดสดขณะ สส. ลงมติร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ในวาระ 1 ซึ่งปรากฏว่ามี สส. โหวตเห็นชอบร่างของภาคประชาชนเพียง 149 คน
ใครหนุน-คว่ำร่าง กม.นิรโทษกรรมฉบับพรรคส้ม-ประชาชน หลังสภารับหลักการ 3 ปัดตก 2 ร่าง
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
16 กรกฎาคม 2025
ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมคดีการเมืองฉบับพรรคประชาชน (ปชน.) และฉบับเครือข่ายภาคประชาชน ถูก "โหวตคว่ำ" กลางสภาผู้แทนราษฎรตามคาด หลังจากพรรคร่วมรัฐบาลย้ำจุดยืนหลายครั้งว่าจะไม่รับร่างกฎหมายที่เปิดทางให้มีการนิรโทษกรรมคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผลที่จะตามมาหลังจากนี้คือ ผู้ถูกกล่าวหา/จำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ถูกจองจำอยู่ภายในเรือนจำอย่างน้อย 32 คน จาก "นักโทษการเมือง" ทั้งหมด 51 คน ตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จะไม่ได้รับอานิสงส์เมื่อกฎหมายนิรโทษกรรมได้รับการประกาศใช้
อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทย (พท.) ชี้แจงผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของพรรคซี่งมีผู้ติดตามกว่า 9.2 แสนคน ระบุว่า "การนิรโทษกรรมครั้งนี้ ปลดบ่วงพันธนากรอย่างน้อย 3,254 ชีวิต" ประกอบด้วย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 200 คน, กลุ่ม นปช./คนเสื้อแดง 1,150 คน, กลุ่ม กปปส. 221 คน, กลุ่มราษฎร 1,683 คน
แม้ตัวแทนพรรค ปชน. และตัวแทนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน" จะใช้เวลาในช่วงสรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อโน้มน้าวใจคนในสภาให้ลงมติรับหลักการในวาระ 1 แต่ไม่อาจเปลี่ยนใจบรรดา สส. ส่วนใหญ่ได้ และทำให้ร่างเป็นอันตกไป
.webp)
ใครหนุน-คว่ำร่าง กม.นิรโทษกรรมฉบับพรรคส้ม-ประชาชน หลังสภารับหลักการ 3 ปัดตก 2 ร่าง
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
16 กรกฎาคม 2025
ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมคดีการเมืองฉบับพรรคประชาชน (ปชน.) และฉบับเครือข่ายภาคประชาชน ถูก "โหวตคว่ำ" กลางสภาผู้แทนราษฎรตามคาด หลังจากพรรคร่วมรัฐบาลย้ำจุดยืนหลายครั้งว่าจะไม่รับร่างกฎหมายที่เปิดทางให้มีการนิรโทษกรรมคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผลที่จะตามมาหลังจากนี้คือ ผู้ถูกกล่าวหา/จำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ถูกจองจำอยู่ภายในเรือนจำอย่างน้อย 32 คน จาก "นักโทษการเมือง" ทั้งหมด 51 คน ตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จะไม่ได้รับอานิสงส์เมื่อกฎหมายนิรโทษกรรมได้รับการประกาศใช้
อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทย (พท.) ชี้แจงผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของพรรคซี่งมีผู้ติดตามกว่า 9.2 แสนคน ระบุว่า "การนิรโทษกรรมครั้งนี้ ปลดบ่วงพันธนากรอย่างน้อย 3,254 ชีวิต" ประกอบด้วย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 200 คน, กลุ่ม นปช./คนเสื้อแดง 1,150 คน, กลุ่ม กปปส. 221 คน, กลุ่มราษฎร 1,683 คน
แม้ตัวแทนพรรค ปชน. และตัวแทนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน" จะใช้เวลาในช่วงสรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อโน้มน้าวใจคนในสภาให้ลงมติรับหลักการในวาระ 1 แต่ไม่อาจเปลี่ยนใจบรรดา สส. ส่วนใหญ่ได้ และทำให้ร่างเป็นอันตกไป
- สภามีมติ 319:147 ไม่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. …. เสนอโดย สส. พรรคก้าวไกลเดิม/พรรค ปชน. โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 6 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
- สภามีมติ 306:149 ไม่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน …. เสนอโดยประชาชน 36,723 คน โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 20 เสียง ไม่ลงคะแนน ไม่มี
- สภามีมติ 299:0 เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. …. เสนอโดย สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 172 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
- สภามีมติ 311:0 เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. …. เสนอโดย สส. พรรคครูไทยเพื่อประชาชนเดิม/พรรคกล้าธรรม (กธ.) โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 158 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
- สภามีมติ 311:3 เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. …. เสนอโดย สส. พรรคภูมิใจไทย (ภท.) โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 147 เสียง ไม่ลงคะแนน ไม่มี
.webp)
เปิดชื่อ 6 สส. เพื่อไทยโหวตรับร่างฉบับพรรคส้ม-ประชาชน
มติของสภาที่ออกมาไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายของสังคม เพราะนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคร่วมรัฐบาลประกาศหลายกรรมหลายวาระว่า "ห้ามแตะต้อง" คดีมาตรา 112 ซึ่ง สส. พรรครัฐบาลส่วนใหญ่ก็ลงมติตามแนวทางของพรรคต้นสังกัด
บีบีซีไทยตรวจสอบเอกสารบันทึกผลการลงมติ จัดทำโดยกลุ่มงานรายงานการประชุม สำนักรายงานการประชุมและชวเลข พบว่า คะแนนเสียงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับพรรคสีส้ม และฉบับประชาชน มีที่มา ดังนี้
ร่างฉบับพรรคประชาชน มีผู้โหวตรับหลักการ 147 เสียง
- พรรคประชาชน 139 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 143 เสียง ยกเว้น น.ส.กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.ชลบุรี ที่ย้ายไปร่วมกิจกรรมกับพรรคกล้าธรรม โหวตไม่เห็นด้วย, นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. ลาการประชุม นอกจากนี้ยังมี 2 คนขอบันทึกการโหวตเห็นชอบด้วยวาจา เนื่องจากเครื่องลงคะแนนมีปัญหาคือ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ และนายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กทม.)
- พรรคเพื่อไทย 6 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 142 เสียง โดย 6 คนที่ร่วมโหวตเห็นชอบ ประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ, นายทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ, นายสุธรรม แสงประทุม สส.บัญชีรายชื่อ, นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ
- พรรคไทยสร้างไทย 1 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 6 คนคือ นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด
- พรรคเป็นธรรม 1 เสียงเต็มคือ นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ

สแตนดี้ อานนท์ นำภา ถูกนำมาใช้ประกอบการเกาะติดผลการประชุมสภา ด้านนอกรัฐสภาย่านเกียกาย
ร่างฉบับประชาชน มีผู้โหวตรับหลักการ 149 เสียง
- พรรคประชาชน 141 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 143 เสียง (ยกเว้น น.ส.กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.ชลบุรี ที่ย้ายไปร่วมกิจกรรมกับพรรคกล้าธรรม โหวตไม่เห็นด้วย, นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. ลาการประชุม)
- พรรคเพื่อไทย 6 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 142 เสียง โดย 6 คนที่ร่วมโหวตเห็นชอบ ประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ, นายทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ, นายสุธรรม แสงประทุม สส.บัญชีรายชื่อ, นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ
- พรรคภูมิใจไทย 1 เสียง จาก สส. ทั้งหมด 69 เสียง คือ นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สส.สตูล ซึ่งต่อมาเจ้าตัวชี้แจงสื่อมวลชนว่า "เข้าใจผิด" เนื่องจากฟังไม่ชัดเจนรขณะลงมติ คิดว่าเป็นการโหวตร่างของหัวหน้าพรรค ภท.
- พรรคเป็นธรรม 1 เสียงเต็มคือ นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ
ส่วนร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสันติสุขทั้ง 3 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 พรรคอันดับ 1 ของสภาอย่างพรรค ปชน. ได้โหวต "งดออกเสียง" ยกเว้น น.ส.กฤษฎ์ที่โหวต "เห็นด้วย" ส่วน สส. พรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่โหวต "เห็นด้วย" กับทั้ง 3 ร่าง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของร่างของนายวิชัย สุดสวาท จากพรรค รทสช. ที่จะใช้เป็นร่างหลักหลังจากนี้ กลับมีคะแนน "งดออกเสียง" สูงสุดในบรรดา 5 ร่าง โดยพบว่าในคะแนนงดออกเสียง 172 เสียง มาจากเพื่อนร่วมพรรคของเขา 14 คน นำโดยนายสุชาติ ชมกลิ่น สส.บัญชีรายชื่อ แต่ สส. กลุ่มนี้โหวต "เห็นด้วย" กับร่างของนายอนุทิน ชาญวีรกูล จากพรรค ภท. และร่างของนายปรีดา บุญเพลิง จากพรรค กธ.
ขณะที่ร่างของนายอนุทิน พบว่า มี 3 สส. โหวต "ไม่เห็นด้วย" ซึ่งปรากฏว่าทั้งหมดเป็น สส. พรรค พท.ได้แก่ นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สส.นครพนม, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ

อนุทิน เป็นหนึ่งในเจ้าของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านวาระ 1
เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการประชุมสภาเมื่อ 24 ต.ค. 2567 เมื่อสภา "รับทราบ" รายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง แต่ "ตีตก" ข้อสังเกตของ กมธ. ด้วยคะแนน "ไม่เห็นชอบ" 270 ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
กมธ. ชุดดังกล่าวมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. เป็นประธาน โดยจัดให้คดีมาตรา 110 (ประทุษร้ายพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) และมาตรา 112 (หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ) เป็น "คดีที่มีความอ่อนไหว" แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าจะรวมอยู่ในกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ เพียงแต่บันทึกความเห็นของ กมธ. เอาไว้ 3 แนวทาง
ผลปรากฏว่า สส. พรรคสีแดงส่วนใหญ่ถึง 115 คนพร้อมใจกันโหวตคว่ำข้อสังเกตของ กมธ. ทั้งที่เพื่อนร่วมพรรคเป็นประธานศึกษารายงานฉบับนี้ เนื่องจากเห็นสอดคล้องกับ สส. ฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมรัฐบาลที่ยืนกรานว่า มาตรา 112 ไม่ใช่คดีการเมือง จึงต้อง "ตัดไฟแต่ต้นลม" ไม่ให้รายงานนี้กลายเป็นสารตั้งต้นที่ฝ่ายใดจะนำไปอ้างอิงเพื่อออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมการกระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 ในอนาคต
อย่างไรก็ตามมี สส. เพื่อไทย 11 คนได้โหวต "เห็นชอบ" ข้อสังเกตของ กมธ. ประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง, นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์, นายชูศักดิ์ ศิรินิล, นายทศพร เสรีรักษ์, นายประยุทธ์ ศิริพานิชน์, นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ, นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายสุธรรม แสงประทุม, นายอดิศร เพียงเกษ
แต่ในครั้งนี้ สส. ในกลุ่มอยู่เพียง 6 คนที่โหวตรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของพรรค ปชน. และภาคประชาชน
ยิ่งชีพวอน "อย่าได้ทอดทิ้ง เหยียบย่ำคนอีกหลายร้อยชีวิต"
ที่ประชุมสภาต้องใช้เวลา "ข้ามสัปดาห์" ในการผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในวาระแรก หลังจากเจ้าของร่างทั้ง 5 ร่างนำเสนอหลักการในคราวประชุมสภาเมื่อ 9 ก.ค. และเปิดให้ สส. ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นราว 4 ชม. ทว่าเมื่อถึงช่วงสรุปสาระสำคัญ ปรากฏว่านายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาสังกัดพรรค พท. ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้ชิงสั่งปิดประชุมไปเสียก่อน จึงต้องมาพิจารณากันต่อในวันนี้ (16 ก.ค.)
ก่อนการลงมติ เจ้าของร่างได้ลุกขึ้นทบทวนและสรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับของตนอีกครั้ง
นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เริ่มต้นด้วยการพูดถึงบรรยากาศตลอดการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งแม้ได้ยินคนพูดว่า "ไม่เห็นด้วย แต่เห็นใจผู้ที่อยู่ในเรือนจำ" และไม่ได้ยิน สส. คนไหนเลยที่ "ไม่อยากให้อภัยประชาชน" ที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมือง อย่างไรก็ตามมี สส. หลายคนพยายามอธิบายว่าต้องช่วยคนถูกดำเนินคดีการเมืองกลุ่มหนึ่งก่อน อย่าเอาคดีมาตรา 112 มาเป็นอุปสรรคให้การนิรโทษกรรมไม่ประสบความสำเร็จ จึงขอแสดงเหตุผลว่าทำไมไม่ควรทอดทิ้งผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112
จากนั้นเขาได้เล่าถึงเรื่องราว 3 คนธรรมดา ที่กลายเป็นผู้ต้องหา/จำเลยในคดีมาตรา 112 ได้แก่ มงคล หรือ "บัสบาส" ซึ่งถูกดำเนิน 3 คดี จากการโพสต์เฟซบุ๊ค 29 โพสต์ ศาลพิพากษาจำคุก 75 ปี ลดเหลือ 54 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ในเรือนจำ และถือสถิติคนที่ถูกลงโทษด้วยมาตรา 112 สูงที่สุดเท่าที่มีมา "ผมเชื่อว่าคนไทย 99.99% รวมถึงผมเองและทุกคนไม่รู้ว่าคนนี้โพสต์อะไร ว่าอะไร การกระทำแบบนี้ที่ไม่มีใครรับรู้เลย จะเป็นความผิดที่กระทบดับความมั่นคง และอภัยไม่ได้ยังไง"
อีกคนคือ ธิดา มีวังปลา หรือ "พยาบาลแหวน" ซึ่งถูกตั้งข้อหาคดีมาตรา 112 จากการส่งไลน์ และสุดท้ายหาหลักฐานไม่ได้จนเกิดการยกฟ้อง และยังโดนคดีในข้อหาระเบิด แต่หาหลักฐานไม่ได้ก็ยกฟ้อง แต่ถูกขังอยู่ในศาลทหารกว่า 3 ปี ซึ่งสุดท้ายก็ไม่มีความผิด ติดคุกฟรี หลังจากออกจากคุกจึงเดินสายเรียกร้องความยุติธรรม
คนสุดท้ายคือ ธเนศ ที่ส่งอีเมลหนึ่งฉบับในปี 2553 เนื้อหาในอีเมลขอให้ชาวต่างชาติช่วยคนเสื้อแดงที่กำลังถูกสังหารในระหว่างการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็นเรื่องของคน 2 คนระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ หากไม่ได้นำไปบอกที่ไหนก็ไม่มีใครรู้ แต่อีเมลของผู้รับถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แฮ็ก จึงถูกตามจับกุมตัวในระหว่างที่ถูกคุมขังก็ไม่ได้รับการประกันตัว ถูกส่งพบกับจิตแพทย์ เมื่อฟังเรื่องราวแล้วไม่เชื่อ มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตหวาดระแวง สารเคมีในสมองบางอย่างทำให้เข้าใจความจริงบางอย่างผิดไปจากข้อเท็จจริง แต่ศาลยังลงโทษจำคุก 3 ปี 8 เดือน วันนี้ธเนศรับโทษครบ แต่ยังกลับไปใช้ชีวิตโดยปกติสุขไม่ได้

ยิ่งชีพ เป็นผู้สรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน
ผอ.ไอลอว์วกกลับมาตัวเอง ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 10 คดี และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานอีก 3 คดี ก่อนบอกว่า ถ้าสภาพิจารณานิรโทษกรรมทุกร่าง เขาก็ได้อานิสงส์ไปด้วย "แต่ถ้าวันนี้จะลงมติรับบางร่างเพื่อให้ผมเดินกลับบ้านไปคนเดียว แต่จะให้อีกหลายคนที่อยู่ในเรือนจำไม่ได้ออกมา ผมขอผมยืนยันว่าผมไม่เอานะครับ นิรโทษกรรมแบบที่ท่านว่า แบบที่ได้บางคน ไม่ได้บางคน"
นายยิ่งชีพประกาศว่า เขาพร้อมจะเดินไปศาล ไปต่อสู้คดี เผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะได้รับโทษจากคำพิพากษา เพราะพร้อมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราไปชุมนุมจริง ๆ แต่ถ้าวันนี้สมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติมีเพื่อนฝูงอยู่ข้างหลังท่านที่วิงวอนให้ออกกฎหมายช่วยพวกเขา และบอกท่านว่าให้ช่วยทิ้งคนบางกลุ่มไปก่อน แล้วช่วยเฉพาะคนบางกลุ่มก่อน คนกลุ่มนั้นคือคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายและไม่กล้ายอมรับ คือตัวจริงเสียงจริงที่ตอนชุมนุมก็ทำก็ทำไป แล้วไม่กล้าเผชิญหน้ากับผลที่ตามมา และยังใช้อภิสิทธิ์ในฐานะรู้จักและสนิทกับ สส. มาขอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเอง
นักกิจกรรมการเมืองรายนี้กล่าวด้วยว่า ถ้าต้องการเห็นความสามัคคีปรองดองในประเทศชาติ โดยกำลังออกกฎหมายให้คนบางกลุ่มพ้นผิดได้ทุกข้อหาไม่ว่าจะร้ายแรงและมีโทษเท่าไร และคุมขังตีตราคนอีกลุ่มหนึ่งไปตลอด ส่วนตัวเห็นว่าเดินผิดทาง ไม่ใช่สร้างสังคมสันติสุข และเป็นการออกกฎหมายโดยเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่มอย่างชัดเจน ข้อเสนอแบบนี้ คิดว่าเป็นข้อเสนอการนิรโทษกรรมที่แย่กว่าที่หลายคนเคยคัดค้านเอาเป็นเอาตายปี 2556
"หากวันนี้ยังมีใครก็ตามที่ตัดสินไปก่อนแล้วว่าคดี 112 เป็นคดีที่น่ารังเกียจ จนไม่อาจแตะต้อง ไม่อาจไปทำอะไรได้ วันนี้พวกเรามายืนตรงนี้เพื่อยืนยันว่าคดี 112 มีมิติ มีข้อเท็จจริง มีเรื่องราวมากกว่าที่ท่านเคยทราบมา มีชีวิตและมีเลือดเนื้อของผู้คนที่อยู่ในนั้น เรามาขอวิงวอน สส. ว่าการพิจารณานิรโทษกรรมคดีที่มีมูลเหตุจูงใจจากความขัดแย้งทางการเมือง ขอท่านอย่าได้ปิดประตูตาย อย่าได้ทอดทิ้ง เหยียบย่ำคนอีกหลายร้อยชีวิต เสมือนกับว่าพวกเขาไม่เคยมีตัวตนอยู่เลย ไม่เจ็บปวดกับเหตุการณ์ช่วงที่ผ่านมา เรามาขอให้ท่านช่วยลงมติร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อเป็นการเคารพประวัติศาสตร์และเป็นการแสดงความเคารพสามัญสำนึกในใจท่านเอง" นายยิ่งชีพกล่าว ก่อนที่ร่างกฎหมายที่ประชาชนกว่า 3.6 หมื่นคนนำเสนอ จะถูกสภา "โหวตคว่ำ" ในอีกไม่กี่นาทีต่อมา
หัวหน้าพรรค ปชน. ยังหวังใช้กลไก กมธ. เปิดประตู

ณัฐพงษ์ และ ศศินันท์ ไปพบเครือข่ายภาคประชาชนหลังสภาโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 2 ฉบับ
ก่อนการลงมติ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรค ปชน. และผู้นำฝ่ายค้านในสภา แถลงข่าวเรียกร้องให้ สส. ทุกพรรคการเมืองแสดงความกล้าหาญในการลงมติเพื่อประตูให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกฉบับได้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 แม้บางพรรคไม่สะดวกใจกับการให้นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 แต่สามารถไปถกเถียงในชั้น กมธ. ได้
ข้อเสนอของผู้นำฝ่ายค้านในสภาคือ ให้ สส. แต่ละพรรคลงมติรับหลักการร่างของตัวเองและร่างที่รับหลักการได้ ส่วนร่างที่ยังเห็นต่าง ขอให้งดออกเสียง เพื่อให้ทั้ง 5 ร่างมีโอกาสสภา
"การลงมติ ไม่ใช่เวทีแสดงออกว่าเราไม่เห็นด้วยกับใคร แต่คือเวทีที่ต้องยืนยันว่าเราเห็นด้วยว่าประเทศนี้ต้องมีกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านไปได้ และไม่ใช่เวทีที่เราจะมาแสดงออกถึงความจงรักภักดี" เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกฎหมายของพรรค ปชน. และภาคประชาชนถูกคว่ำไป นายณัฐพงษ์แถลงยืนยันอีกครั้งว่า เชื่อในกระบวนการในระบบรัฐสภา และร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมที่ผ่านวาระ 1 ไปทั้ง 3 ร่าง มี 2 ใน 3 ร่าง ที่หลักการยังเปิดกว้างอยู่ โดย กมธ. สัดส่วนพรรค ปชน. พร้อมใช้กลไกทุกอย่างในชั้น กมธ. เพื่อจะเปิดประตูและเปิดกว้างในการนิรโทษกรรมเพื่อครอบคลุมทุกฝ่ายมากที่สุด เท่าที่เราจะสามารถทำได้ ยืนยันว่าจะทำหน้าที่อย่างมีวุฒิภาวะและจะไม่ละทิ้งความหวัง
https://www.bbc.com/thai/articles/cjrlg8gnww7o
ร่างของภาคประชาชน แค่ "งดออกเสียง" เขายังไม่กดงดให้เลย มันชัดจนไม่รู้อะไรแล้ว#นิรโทษกรรมประชาชน
— บัส เทวฤทธิ์ (@Bus_Te) July 16, 2025
