ลาไปอ่านหนังสือ
1d
"ให้คนดีปกครองบ้านเมือง" เล่มนี้ พาเราย้อนกลับไปยังฉากทัศน์ของปมที่ก่อให้เกิดวลีของคำว่า "คนดี"
ช่วงเวลาของ กปปส. และภารกิจที่สร้างความชอบธรรมให้กับทุกการกระทำ
"การผลักและด้อยค่าความเป็นคน และยกเอาตัวเองเป็นคนดีนั้น ก่อให้เราเห็นภาพความรุนแรงที่ผ่านความเห็นชอบ และไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด"
อีกผลายครั้งที่เราเห็นว่า
"คนบางคนมีพฤติกรรมที่ย้อนแย้งและขัดกับภาพลักษณ์ที่ผ่านมา"
หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นเสมือนกระจกส่องให้เห็นถึงความขัดแย้งทาง "ความคิด" ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
- ความรุนแรงทางศีลธรรม คล้ายกับการปกป้องสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้นมา เพราะมีความเชื่อว่า "แบบนั้นแหละถูกต้อง"
- การลดทอนความเป็นมนุษย์ เป็นการสร้างให้เห็นว่า "กลุ่มคนบางกลุ่มเป็นคนต่ำและน้อยกว่าเรา" ดังนั้นจึงมีเหตุผลรองรับการกระทำที่อาจจะรุนแรงกับคนบางคนได้
นี่ยังไม่นับรวม การอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว แบบบิดเบี้ยว หรือโค้งงอจากความเป็นจริงอีก
ดังนั้น มันจึงกลายเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ตอกย้ำให้เห็นว่า "คนดี" ที่หยิบยกเอาขึ้นมานั้น อาจจะไม่ใช่คำตอบของปัญหาที่หยั่งรากลึกมาอย่างยาวนานก็เป็นได้
เมื่อหมุนเวลามายังอนาคตแล้ว เราอาจจะพบว่า
คนที่เป็นฝ่ายที่ยกย่องคนดี หรือเป็นฝ่ายที่แต่งองค์ทรงเครื่องให้ก็ดี เคยรับผิดชอบต่อ "คนดีที่คราบหลุดลอก" บ้างหรือไม่??
หรือเพียงแค่แอบมองเงียบๆ
หรือพยายามแก้ต่างให้
หรือน้ำท่วมปาก
หรือกำลังรอให้คนลืมเรื่องราวเหล่านี้ไป หลังจากนั้นก็มองหา "คนดีชุบทอง" คนใหม่ขึ้นมาอีก
"ตรรกะที่พังพินาศ" สะท้อนความผิดเพี้ยนและบิดเบี้ยวในสังคม
และตอกย้ำให้เห็นว่า "คนดี" ดีจริงหรือ???
หรือจะว่าไปสังคมหลายแห่ง รวมถึงองค์กรต่างๆ ต้องการ "คนดี" หรือ "คนที่ทำประโยชน์" แก่สังคมหรือองค์กรต่างๆ มากกว่ากัน
ในอุดมคติ ทุกคนคงอยากได้ทั้งสองอย่าง แต่เมื่อตั้งอยู่ในชีวิตจริง ก็ขอเลือกอย่างหลัง แล้วปล่อยให้กระบวนการในระบบตรวจสอบดีกว่าได้ "คนดี" ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
ฟ้าเดียวกัน
----------
ช่วงนี้โพสของเพจไม่สามารถเข้าถึงเพื่อนๆ ได้ ยังไงก็ฝากแวะเข้ามาที่เพจหน่อยนะครับ
เพจมี ig แล้วครับ
https://instagram.com/reading_vacation9
ขอบคุณครับ