ประชุมวิชาการวัคซีน บอกว่าไม่อยากให้หมอฉีด Pfizer กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 เพราะจะเป็นการยอมว่า Sinovac ไม่มีประสิทธิภาพ "แล้วจะแก้ตัวยากขึ้น"
— Tarot to youuuu (@TarotYouuuu) July 4, 2021
ชีวิตประชาชนช่างมัน แต่จะเสียหน้าไม่ได้ ต้องใจทรามขนาดไหนอ่ะคนเรา pic.twitter.com/v1WNlf1zud
ในห้อง CH ยืนยันแล้วว่าเอกสารจริง คุณหมอได้รับเอกสาร ตรวจสอบแล้วว่าจริง แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เอาเอกสารมาเปิดเผย
— 🌷𝑯𝒊, 𝑻𝒆𝒅𝒅𝒚 🧸™ (@kawaii_watashi) July 4, 2021
คุณหมอฝากขอบคุณ ทางไทยรัฐที่รีบลบเอกสารให้ แจ้งว่าบอกว่ามีการสื่อสารกันนิดหน่อย คือบอกทางไทยรัฐที่เป็น in charge ไม่ทันว่าไม่ได้รีบอนุญาตให้ลง
#ClubhouseTH
รายงานจากมติชน"ประชาชนเสียชีวิตไม่ว่า แต่พวกข้าเสียหน้าไม่ได้https://t.co/l55iGW6Ons" - มิตรสหายท่านหนึ่ง
— วิวาทะ (@quote_wiwata) July 4, 2021
วันที่ 4 กรกฎาคม สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ไทยกำลังเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายตั้งแต่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนต่างเรียกร้องหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์ดังกล่าว นั้นคือวัคซีนที่พัฒนาแบบ mRNA อย่างไฟเซอร์และโมเดอร์น่า ทว่าวัคซีนที่เป็นที่คาดหวังของสาธารณชนในไทยกำลังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่ล่าช้าในการจัดหาเพื่อฉีดให้ทันก่อนที่จะมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าทั่วประเทศ
ล่าสุดแหล่งข่าว ได้เปิดเผยเอกสารบันทึกการประชุมของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย อันประกอบไปด้วย คณะกรรมการวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ2558 , คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและคณะทำงานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยวาระในประชุมนั้นคือ พิจารณาการแนวทางการให้วัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์ในไทย
สาระสำคัญของการพิจารณา ไม่เพียงประสิทธิภาพป้องกันที่สูงในกลุ่มอายุน้อยมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะมีข้อมูลผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชาย
ในส่วนข้อเสนอแนวทางพิจารณาการให้วัคซีนไฟเซอร์ คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม จะได้วัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1.5 ล้านโดส และจะได้อีก 20 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยข้อมูลในหน้า 3 ของเอกสารสรุปการประชุม ระบุถึงกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ได้แก่ กลุ่ม 1) บุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี กลุ่ม 2) กลุ่มเสี่ยงภัยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน (ผู้สูงวัย/โรคเรื้อรัง/ผู้หญิงตั้งครรถ์) และ กลุ่ม 3) บุคลากรทางการแพทย์ (HCW-Healthcare workers) ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3)
ที่ประชุมยังได้ให้ข้อเสนอแนวทางวัคซีนไฟเซอร์ โดยแบ่งเป็น
ทางเลือกที่ 1 ให้กลุ่มเป้าหมายบุคคลอายุ 12-18 ปี ในพื้นที่ระบาดหนักอย่างกทม. ปริมณฑล (นนทบุรี,ปทุมธานี,สมุทรปราการ,สมุทรสาคร) 4 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา,นราธิวาส,ยะลา,ปัตตานี) และเมืองเศรษฐกิจอย่างภูเก็ต พังงาและสมุย ซึ่งแนวทางเลือกนี้มีข้อดีที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนเร็วขึ้น แต่ก็มีข้อกังวลต่อการเกิด myocarditis
ทางเลือกที่ 2 ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ได้รับวัคซีน เช่น ผู้สูงอายุ,สตรีตั้งครรถ์,โรคเรื้อรัง ในพื้นที่ที่มีการระบาดในโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือ สร้างภูมิคุ้มกันได้เร็ว,ลดการป่วยรุนแรงกับกลุ่มเป้าหมายนี้และเพิ่มความครอบคลุม แม้จะมีข้อกังวลว่ากลุ่มเป้าหมายจะเลือกวัคซีน
ทางเลือกที่ 3 HCW(Healthcare Worker) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3) ในพื้นที่สถานพยาบาลรัฐ/เอกชนที่รับผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ โดยที่ให้ฉีดกลุ่มนี้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในการรับมือเชื้อกลายพันธุ์และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แนวหน้า แต่มีข้อกังวลในเรื่องไม่เพิ่มการครอบคลุมได้รับวัคซีน
นอกจากนี้ ข้อมูลในข้อที่ 10 ของข้อความเห็น มีหลายเสียงที่ให้มุมมองต่อการให้วัคซีนไฟเซอร์กับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าการฉีดในพื้นที่ระบาดป่วยตายก่อน สนับสนุนฉีดกลุ่ม2 และ3 แต่ 1 ในจำนวนนี้ ระบุว่า “ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงยอมรับว่า Sinovac (วัคซีนหลักที่ไทยใช้อยู่) ไม่มีผลในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น” แต่กระนั้นยังมีข้อเสนอที่ระบุ ควรให้เข็ม 3 กับบุคลากรทางการแพทย์เพราะมีความเสี่ยงสูง
สำหรับวัคซีนซิโนแวค ซึ่งไทยได้รับในปริมาณมากที่สุดและถูกใช้เป็นวัคซีนหลักของรัฐบาลในการฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนนั้น มีรายงานข่าวซึ่งออกมาในเชิงลบ ไม่เพียงในแง่ประสิทธิภาพและระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงหลังได้รับวัคซีนไปไม่นาน หรือเชิงข้อมูลวิจัยที่เปรียบเทียบกับวัคซีนยี่ห้อซึ่งซิโนแวคมีประสิทธิภาพป้องกันต่ำและไม่สามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้อีก จนปรากฎข่าวบุคลากรทางการแพทย์อย่างกรณีอินโดนีเซีย และจังหวัดเชียงรายของไทย มีบุคลากรทางการแพทย์กลับมาติดเชื้อทั้งที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส แต่วัคซีนซิโนแวคยังกลายเป็นประเด็นการเมืองวัคซีน ทั้งในแง่การจัดซื้อในราคาที่แพงกว่าหลายประเทศ การรณรงค์เชิงประชาสัมพันธ์จากฟากรัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ออกมาพูดเชิงบวกกับซิโนแวคพร้อมกับโหมข่าวเชิงลบต่อวัคซีนแบบmRNA บนโลกออนไลน์ สวนทางกับความไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของซิโนแวคที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เอกสารระบุที่ประชุมมีมติ แนวทางให้วัคซีนไฟเซอร์ในเดือน ก.ค.-ส.ค.64 โดยเห็นชอบให้วัคซีนไฟเซอร์ในระยะแรกจำนวน 1.5 ล้านโดส เดือนกรกฎาคม เป็นเข็ม 1 ทั้งหมดแก่ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือหญิงตั้งครรถ์ที่มีอายุครรถ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในพื้นที่การระบาดรุนแรงสูงสุดคือ กทม.และปริมณฑล และปัดตกข้อเสนอฉีดเป็นเข็มที่ 3 ให้บุคลาการทางการแพทย์
รวมถึงเห็นชอบคงเป้าหมายระยะที่ 1 (วัคซีนจำกัด) ระยะที่ 2 (วัคซีนเพียงพอ) ส่วนระยะที่ 3 (เข็มกระตุ้น) มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับกองโรคไม่ติดต่อ
ล่าสุด หลังเอกสารบันทึกการประชุมถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นคือ นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความเห็นต่อเอกสารนี้ทางทวิตเตอร์ว่า
นักข่าวคนที่ได้เอกสารหลุดของที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อมากำลังเล่าเรื่องนี้ว่าที่ไทยรัฐต้องลบเพราะมีรูปรายงานตัวจริง เป็นห่วงแหล่งข่าว pic.twitter.com/LjDkxCWHyL
— 𝕊𝕝𝕖𝕖𝕡𝕝𝕖𝕤𝕤 (@sleeplessbkk) July 4, 2021