ในขณะที่ทั่วโลกต่อต้านสถานีตำรวจลับของจีน ตร.ไทยจัดอบรม มอบชุดเครื่องแบบ และตราสัญลักษณ์ให้คนจีนที่ผ่านการอบรม 3 วัน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ มันจะได้เหรอ? https://t.co/vFLT7WeKhl pic.twitter.com/RgjW7k388i
— Pipob (@pipob69) January 2, 2025
บีบีซีไทย
อัยการสหรัฐฯ ได้จับกุมชายสองคนในนครนิวยอร์ก ฐานตั้ง “สถานีตำรวจลับ” ในย่านไชนาทาวน์ของแมนฮัตตัน
อัยการเปิดเผยว่า หลู เจียนหวัง วัย 61 ปี และ เฉิน จินปิง วัย 59 ถูกแจ้งข้อหาทำการสมรู้ร่วมคิดเพื่อปฏิบัติตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนโดยไม่ได้แจ้งต่อทางการสหรัฐฯ และในข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
พวกเขามีกำหนดขึ้นศาลรัฐบาลกลางในบรูคลิน ภายในวันนี้ (18 เม.ย.)
รัฐบาลจีนปฏิเสธไม่ได้จัดตั้งสถานีตำรวจเช่นนี้ โดยอ้างว่า เป็น “ศูนย์บริการ” สำหรับชาวจีนโพ้นทะเล
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า “นายหลิวแห่งบร็องซ์” และ “นายเฉินแห่งแมนฮัตตัน” ร่วมกันจัดตั้งสถานีตำรวจสำหรับชาวจีนในสหรัฐฯ ตามคำสั่งของกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของรัฐบาลจีน
สถานีตำรวจลับแห่งนี้ ถูกปิดลงช่วงฤดูใบไม้ร่วง เมื่อปี 2022 หลังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกสำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ สืบสวน
“คดีนี้เปิดโปงถึงการกระทำของรัฐบาลจีนที่ละเมิดอธิปไตยของสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งสถานีตำรวจลับใจกลางนครนิวยอร์ก” บรีออน เพียซ อัยการในบรูคลิน กล่าว
สถานีตำรวจลับจีน คืออะไร ?
รัฐบาลสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศเชื่อว่า จีนมีสถานีตำรวจลับอย่างน้อย 100 แห่งใน 53 ประเทศทั่วโลก รวมถึงสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์
“รัฐบาลจีนกระทำการล้ำเส้น จนยากที่จะยอมรับได้ เราจะพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนที่อาศัยในประเทศของเรา จากภัยคุกคามจากการกดขี่ของเผด็จการ” ผู้ช่วยอัยการสูงสุด นายแมทธิว โอลเซน จากแผนกความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าว
ตามข้อมูลของอัยการสหรัฐฯ นายหลู เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายของจีน และได้รับการชักชวนให้มาช่วยรัฐบาลจีน ดำเนิน “การกระทำที่กดขี่” ในสหรัฐฯ เริ่มตั้งแต่ปี 2015 นั่นรวมถึงการคุกคามผู้เห็นต่างที่อาศัยในสหรัฐฯ ด้วย
อัยการสหรัฐฯ ได้จับกุมชายสองคนในนครนิวยอร์ก ฐานตั้ง “สถานีตำรวจลับ” ในย่านไชนาทาวน์ของแมนฮัตตัน
อัยการเปิดเผยว่า หลู เจียนหวัง วัย 61 ปี และ เฉิน จินปิง วัย 59 ถูกแจ้งข้อหาทำการสมรู้ร่วมคิดเพื่อปฏิบัติตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนโดยไม่ได้แจ้งต่อทางการสหรัฐฯ และในข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
พวกเขามีกำหนดขึ้นศาลรัฐบาลกลางในบรูคลิน ภายในวันนี้ (18 เม.ย.)
รัฐบาลจีนปฏิเสธไม่ได้จัดตั้งสถานีตำรวจเช่นนี้ โดยอ้างว่า เป็น “ศูนย์บริการ” สำหรับชาวจีนโพ้นทะเล
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า “นายหลิวแห่งบร็องซ์” และ “นายเฉินแห่งแมนฮัตตัน” ร่วมกันจัดตั้งสถานีตำรวจสำหรับชาวจีนในสหรัฐฯ ตามคำสั่งของกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของรัฐบาลจีน
สถานีตำรวจลับแห่งนี้ ถูกปิดลงช่วงฤดูใบไม้ร่วง เมื่อปี 2022 หลังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกสำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ สืบสวน
“คดีนี้เปิดโปงถึงการกระทำของรัฐบาลจีนที่ละเมิดอธิปไตยของสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งสถานีตำรวจลับใจกลางนครนิวยอร์ก” บรีออน เพียซ อัยการในบรูคลิน กล่าว
สถานีตำรวจลับจีน คืออะไร ?
รัฐบาลสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศเชื่อว่า จีนมีสถานีตำรวจลับอย่างน้อย 100 แห่งใน 53 ประเทศทั่วโลก รวมถึงสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์
“รัฐบาลจีนกระทำการล้ำเส้น จนยากที่จะยอมรับได้ เราจะพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนที่อาศัยในประเทศของเรา จากภัยคุกคามจากการกดขี่ของเผด็จการ” ผู้ช่วยอัยการสูงสุด นายแมทธิว โอลเซน จากแผนกความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าว
ตามข้อมูลของอัยการสหรัฐฯ นายหลู เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายของจีน และได้รับการชักชวนให้มาช่วยรัฐบาลจีน ดำเนิน “การกระทำที่กดขี่” ในสหรัฐฯ เริ่มตั้งแต่ปี 2015 นั่นรวมถึงการคุกคามผู้เห็นต่างที่อาศัยในสหรัฐฯ ด้วย
นายหลู ออกมาจากศาลบรูคลิน
เมื่อปี 2018 นายหลูเผชิญข้อกล่าวหาว่า พยายามผลักดันให้ชาวจีนที่ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐฯ กลับไปประเทศจีน รวมถึงการรังควาน ข่มขู่ คุกคาม บุคคลและครอบครัวที่อาศัยในจีนและสหรัฐฯ ไม่เพียงเท่านั้น อัยการสหรัฐฯ ระบุว่า นายหลูถูกชักชวนจากกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน เพื่อควานหานักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน อย่างไรก็ดี นายหลูปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีเหล่านี้
ทางการสหรัฐฯ ได้สอบปากคำนายหลู และนายเฉิน เมื่อเดือน ต.ค. 2022 หลังเอฟบีไอดำเนินการตรวจค้นสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นสถานีตำรวจลับ โดยมีการยึดโทรศัพท์มือถือไป
นายหลูและนายเฉินยอมรับว่า ได้ลบข้อมูลการติดต่อกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ซึ่งอัยการสหรัฐฯ เชื่อว่า อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการลับในแผ่นดินสหรัฐฯ
หากศาลตัดสินว่านายหลูและนายเฉินมีความผิดจริง พวกเขาอาจต้องโทษจำคุกถึง 25 ปี
จีนชี้ เป็นเพียง “ศูนย์บริการ”
สถานทูตจีนในสหรัฐฯ และแคนาดา ระบุว่า สถานที่ที่เป็น “ศูนย์บริการโพ้นทะเล” ถูกเปิดขึ้นในช่วงที่โลกเผชิญการระบาดของโควิด เป้าประสงค์ของสถานีเหล่านี้ คือ สนับสนุนชาวจีนที่อยู่ในต่างประเทศ อาทิ การต่อใบขับขี่ และปัญหาอื่น ๆ
แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่า จีนใช้สถานีโพ้นทะเลเหล่านี้ เพื่อข่มขู่และสังเกตการณ์ชาวจีนที่อาศัยในต่างประเทศ
ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลจีนได้ลงนามในข้อตกลงทวิภาคีด้านการตรวจการของตำรวจในต่างประเทศ กับรัฐบาลหลายประเทศ นับแต่ปี 2015 รวมถึงประเทศอิตาลีด้วย
ช่วงปี 2016-2018 ตำรวจอิตาลีได้ดำเนินการตรวจการร่วมกับตำรวจจีนหลายครั้ง รวมถึงในกรุงโรม และเมืองมิลาน ก่อนขยายไปยังอีกหลายเมือง
เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งขึ้นและมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสเปน เพื่อสังเกตการณ์กรณีบังคับสูญหายในจีน ระบุว่า พบหลักฐานว่ามีการติดระบบกล้องวงจรปิดตามชุมชนของชาวจีน ที่อ้างว่า “เพื่อป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
นายหลูในศาล
ประเทศที่มีสถานีตำรวจลับของจีนอยู่
ในปี 2016 ตำรวจอิตาลีระบุว่า การร่วมมือกับตำรวจจีน จะนำไปสู่ “ความร่วมมือในระดับสากลมากขึ้น รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากร เพื่อจัดการกับกลุ่มอาชญากรและก่อการร้าย ที่มุ่งทำร้ายประเทศต่าง ๆ” และในตอนนี้ เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ ตรวจพบว่า มีสถานีตำรวจลับจีนอยู่ในอิตาลี 11 แห่ง รวมถึงในเมืองเวนิส และปราโต อีกด้วย
สถานีตำรวจจีนแห่งหนึ่งในกรุงโรม ถึงกับจัดพิธีเปิดโดยมีเจ้าหน้าที่อิตาลีเข้าร่วมด้วยในปี 2018 อ้างอิงจากวิดีโอที่โพสต์บนเว็บไซต์ของจีน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างตำรวจสองประเทศ
ไม่เพียงเท่านั้น ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า จีนได้ดำเนินข้อตกลงในลักษณะคล้ายกันกับประเทศโครเอเชีย และเซอร์เบีย ระหว่างปี 2018-2019 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน
ตามข้อมูลของ เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ สถานีตำรวจลับ (และไม่ลับในบางประเทศ) ตั้งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในทวีปเอเชียด้วย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา (2 แห่ง) ญี่ปุ่น (1) เกาหลีใต้ (1) เมียนมา (2) บรูไนดารุสซาลาม (1) แต่ยังตรวจไม่พบว่ามีในประเทศไทยหรือไม่
https://www.bbc.com/thai/articles/cekrkmlgdr8o
.
ประเทศที่มีสถานีตำรวจลับของจีนอยู่
ในปี 2016 ตำรวจอิตาลีระบุว่า การร่วมมือกับตำรวจจีน จะนำไปสู่ “ความร่วมมือในระดับสากลมากขึ้น รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากร เพื่อจัดการกับกลุ่มอาชญากรและก่อการร้าย ที่มุ่งทำร้ายประเทศต่าง ๆ” และในตอนนี้ เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ ตรวจพบว่า มีสถานีตำรวจลับจีนอยู่ในอิตาลี 11 แห่ง รวมถึงในเมืองเวนิส และปราโต อีกด้วย
สถานีตำรวจจีนแห่งหนึ่งในกรุงโรม ถึงกับจัดพิธีเปิดโดยมีเจ้าหน้าที่อิตาลีเข้าร่วมด้วยในปี 2018 อ้างอิงจากวิดีโอที่โพสต์บนเว็บไซต์ของจีน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างตำรวจสองประเทศ
ไม่เพียงเท่านั้น ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า จีนได้ดำเนินข้อตกลงในลักษณะคล้ายกันกับประเทศโครเอเชีย และเซอร์เบีย ระหว่างปี 2018-2019 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน
ตามข้อมูลของ เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ สถานีตำรวจลับ (และไม่ลับในบางประเทศ) ตั้งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในทวีปเอเชียด้วย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา (2 แห่ง) ญี่ปุ่น (1) เกาหลีใต้ (1) เมียนมา (2) บรูไนดารุสซาลาม (1) แต่ยังตรวจไม่พบว่ามีในประเทศไทยหรือไม่
https://www.bbc.com/thai/articles/cekrkmlgdr8o
.
https://x.com/pipob69/status/1874723676823970008