วันพุธ, กรกฎาคม 02, 2568

ก็ไม่ยอมแก้ รัฐธรรมนูญนี้ไง - ย้ำอีกครั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคือองค์กรอิสระที่ไม่อิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจมากไป


Daisy Cherrene
7 hours ago
·
สส.ไอติม บอกแล้วบอกอีกตั้งแต่ปี 66 แล้วว่าให้ร่าง รธน ใหม่ เลือกตั้ง สสร 100% ก็ไม่เอา ยื้อแล้วยื้ออีก แค่เรื่องประชามติก็มีปัญหา ผ่านไป 2 ปี ยังทำอะไรไม่ได้ แล้วเป็นไงล่ะ วันนี้โดนสอย ถ้าเชื่อไอติม ป่านนี้ได้ รธน ใหม่ฉบับประชาชนแล้ว ไม่ต้องเจอนิติสงคราม
.....


https://www.facebook.com/watch/?v=303857762089075







บีบีซีไทย - BBC Thai
12 hours ago
·
เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองวันนี้ (1 ก.ค. 68) จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว หลังมีมติเอกฉันท์รับคำร้องของ สว. ที่กล่าวหาผู้นำรัฐบาลฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีปรากฏ "คลิปเสียง" สนทนากับผู้นำกัมพูชา ทำให้ย้อนหลังไปถึงการชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2567 ซึ่งศาลฯ ได้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทย 2 เหตุการณ์
.
สองเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือน ส.ค. 2567 ได้แก่ คำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล (กก.) จาก "คดีล้มล้างการปกครอง" และการถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก "ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" จากการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเป็น รมต.
.
ในเวลานั้น รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อ่านความหมายของทั้งสองกรณี โดยนักวิชาการด้านนิติศาสตร์อย่าง รศ.ดร.มุนินมองว่า ทั้งสองกรณีเป็นการ “ทำลายดุลความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย 3 องค์กร” ขณะที่ รศ.ดร.ประจักษ์ ชี้ว่า สังคมการเมืองไทยกำลังเผชิญกับสภาวะของ “ตุลาการธิปไตย” ที่เป็นความต่อเนื่องจากการรัฐประหารในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
.
บีบีซีไทยชวนย้อนอ่านบทความที่ตีพิมพ์เมื่อเกือบหนึ่งปีก่อน ซึ่งวิเคราะห์การใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้ ได้ที่ลิงก์นี้ https://bbc.in/400cFYK