
ดร.พอล แชมเบอร์ส ได้รับหนังสือเดินทางคืนที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่กี่ชั่วโมงก่อนออกจากประเทศไทย
วศินี พบูประภาพ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
"[เสรีภาพทางวิชาการ] ไทยหดตัวลง" ดร.พอล วีสลีย์ แชมเบอร์ส กล่าวกับบีบีซีไทย โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันกับช่วงปีที่เขาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ย้อนไปในช่วงที่ ดร.พอล เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตอนนั้นเป็นห้วงเวลาหลังเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ซึ่งภาคประชาสังคมในไทยขยายตัวอย่างกว้างขวาง เขาชี้ว่าสำหรับเขาแล้ว เสรีภาพทางวิชาการในไทยหดตัวลงหลังการรัฐประหารสองครั้งในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 และสำหรับเขาแล้ว เสรีภาพทางวิชาการในไทยลดน้อยถอยลงไปอีกและแย่ที่สุดหลังปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นม
"ตอนที่ผมเข้ามาในประเทศไทยใหม่ ๆ เป็นช่วงฟ้าเปิดสำหรับภาคประชาสังคมไทย พื้นที่ทางการเมืองเปิดให้ประชาชนได้ส่งเสียง" เขารำลึก "หลังจากนั้นรัฐประหารก็ทำให้เสียงเหล่านี้เงียบลง รวมถึงเสรีภาพทางวิชาการ"
เขาชี้ว่าแม้ขณะนี้ไทยมีรัฐบาลพลเรือน ทว่า "กองทัพกลับพยายามหาข้ออ้างหรือหาเหตุมาสร้างอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลพลเรือนมากขึ้นเรื่อย ๆ"
หลังทำงานวิชาการในไทยมาร่วมสามทศวรรษ นักวิชาการชาวอเมริกันวัย 58 ปีต้องออกจากประเทศไทยในวันที่ 29 พ.ค. 2568 ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัย ขณะที่ชื่อของเขากลายเป็นนักวิชาการต่างชาติรายแรกที่ถูกจารึกไว้ในรายชื่อบุคคลผู้ตกเป็นเป้าของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งราชอาณาจักรไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"ผมรักประเทศไทยมาก" ดร.พอล กล่าวแก่บีบีซีไทยสามสัปดาห์หลังต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรไทย "ประเทศไทยช่างเป็นประเทศที่งดงาม น่าเศร้าเหลือเกินที่เหตุการณ์นี้มาเกิดขึ้น"
เรื่องราวของเขาได้จุดกระแสการถกเถียงเรื่องเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทยภายใต้กฎหมายจำกัดการแสดงความคิดเห็นและการสอดส่องของหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในไทย
ถูกจับกุมโดยไม่ทันตั้งตัว
"ต้องสารภาพว่าผมรู้สึกประหลาดใจ ไม่คิดว่าตัวเองจะถูกจับกุม" ดร.พอล อดีตนักวิชาการประจำสถานประชาคมอาเซียนศึกษา ม.นเรศวร กล่าวกับบีบีซีไทยถึงเหตุการณ์ที่เขาไปเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตามหมายจับในคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมส่งต่อพนักงานสืบสวน ซึ่งนำไปสู่การฝากขังเขาในวันที่ 8 เม.ย. ในที่สุด
ทั้งนี้ คดีที่นักวิชาการชาวอเมริกันผู้นี้เผชิญ มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดพิษณุโลก (กอ.รมน. ภาค 3) เป็นผู้แจ้งความ
ข้อกล่าวหาดังกล่าวเริ่มจากข้อความในแผ่นประชาสัมพันธ์สัมมนาออนไลน์ของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak) ประเทศสิงคโปร์ แม้ ดร.พอล จะต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นผู้เขียนหรือไม่ได้ผลิตซ้ำเนื้อหาดังกล่าวผ่านช่องทางส่วนตัว แต่ผู้แจ้งความร้องทุกข์เชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่เข้าข่ายตามความผิดหมิ่นสถาบันฯ ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการภาค 6 มีคำสั่งไม่ฟ้องทั้งสองข้อหา เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568
พอลนึกย้อนกลับไป และบอกว่า "เป็นข้ออ้างการใช้มาตรา 112 ที่เบาบางและไร้น้ำหนักอย่างยิ่ง"
กระนั้นแล้ว ในระหว่างที่เขาถูกตั้งข้อหา มีการดำเนินการหลายอย่างเกิดขึ้น เขาถูกนำตัวฝากขังที่เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก สถานะทางกฎหมายเข้าเมืองของเขายังตกอยู่ในสภาวะคลุมเครือ หลังสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทว่าหนังสือหนังสือเดินทางของเขาถูกยึดไว้ด้วย ทำให้ไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศได้ในเวลานั้น
ถูก "ทอดทิ้ง" จากมหาวิทยาลัย
"ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากจะให้อภัยได้ที่รองอธิการบดีมีคำสั่งเลิกจ้างผมโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ผมได้ชี้แจงหรือรับฟังข้อกล่าวหาใด ๆ เลย"
ย้อนไปเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 ระหว่างที่มีการอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ผศ.ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงนามในคำสั่งยกเลิกการจ้างงาน ดร.พอล แชมเบอร์ส ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 อันเป็นวันที่ ดร.พอล ถูกแจ้งคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจาก ตม.
แม้เขาจะตกใจจากข้อกล่าวหาทางกฎหมาย แต่ ดร.พอล เผยว่าสิ่งที่สร้างความ "หดหู่" ต่อเขาคือปฏิกิริยาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
"ผมคิดว่าการที่ผมถูกทอดทิ้งเช่นนั้นเป็นเรื่องที่รับไม่ได้" เขากล่าวกับบีบีซีไทย
ขณะนี้ ดร.พอล อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว โดยคำโต้แย้งระบุว่าว่ารองอธิการบดีปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีไม่ได้มีอำนาจในการเลิกจ้างบุคลากร พร้อมชี้ว่าเหตุถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ได้เป็นเหตุสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน เขาบอกกับบีบีซีไทยด้วยว่า การไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ทำให้เขาไม่มีโอกาสชี้แจ้งข้อมูลจากฝั่งของตัวเอง
"ผมไม่ได้ผ่านขั้นตอนการไต่สวนด้วยซ้ำ โดนไล่ออกเสียอย่างนั้นเลย" เขากล่าว
ทั้งนี้ นอกเหนือจากคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรยังไม่เคยให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
เพื่อนร่วมงานมีทั้งให้กำลังใจและเฉยชา
"มีทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่แสดงความห่วงใยและให้กำลังใจ" ดร.พอล กล่าวถึงนักวิชาการหลายคนที่ติดต่อแสดงความห่วงใยเขา เช่น รศ.ดร.ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล แมดิสัน และ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างถูกดำเนินคดี ดร.พอล เล่าว่าเขาได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมวิชาชีพบางส่วน อาทิ คัตสึยูกิ ทากาฮาชิ อาจารย์ชาวญี่ปุ่นประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หลายครั้งในมหาวิทยาลัย ทั้งการชูสามนิ้วและถือป้ายกระดาษ "Free Dr.Paul" เพื่อเรียกร้องสิทธิให้เพื่อนร่วมงานได้รับอิสรภาพ รวมถึงให้ได้รับหนังสือเดินทางคืน
"แต่สำหรับบางคนที่ผมคิดว่าเป็นเพื่อนแล้วจู่ ๆ เขาหายไป ตอนนั้นผมก็รู้เลยว่า เราไม่เคยเป็นเพื่อนกันตั้งแต่แรก" ดร.พอล ระบุ และกล่าวกับบีบีซีไทยต่อว่า "กระนั้น นักวิชาการบางคนก็ไม่ต้องการแสดงความสนับสนุนผมเพราะกลัว กรณีนั้นผมเข้าใจ นั่นทำให้ผมหดหู่เหมือนกัน"
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
"[เสรีภาพทางวิชาการ] ไทยหดตัวลง" ดร.พอล วีสลีย์ แชมเบอร์ส กล่าวกับบีบีซีไทย โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันกับช่วงปีที่เขาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ย้อนไปในช่วงที่ ดร.พอล เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตอนนั้นเป็นห้วงเวลาหลังเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ซึ่งภาคประชาสังคมในไทยขยายตัวอย่างกว้างขวาง เขาชี้ว่าสำหรับเขาแล้ว เสรีภาพทางวิชาการในไทยหดตัวลงหลังการรัฐประหารสองครั้งในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 และสำหรับเขาแล้ว เสรีภาพทางวิชาการในไทยลดน้อยถอยลงไปอีกและแย่ที่สุดหลังปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นม
"ตอนที่ผมเข้ามาในประเทศไทยใหม่ ๆ เป็นช่วงฟ้าเปิดสำหรับภาคประชาสังคมไทย พื้นที่ทางการเมืองเปิดให้ประชาชนได้ส่งเสียง" เขารำลึก "หลังจากนั้นรัฐประหารก็ทำให้เสียงเหล่านี้เงียบลง รวมถึงเสรีภาพทางวิชาการ"
เขาชี้ว่าแม้ขณะนี้ไทยมีรัฐบาลพลเรือน ทว่า "กองทัพกลับพยายามหาข้ออ้างหรือหาเหตุมาสร้างอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลพลเรือนมากขึ้นเรื่อย ๆ"
หลังทำงานวิชาการในไทยมาร่วมสามทศวรรษ นักวิชาการชาวอเมริกันวัย 58 ปีต้องออกจากประเทศไทยในวันที่ 29 พ.ค. 2568 ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ถูกปลดออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัย ขณะที่ชื่อของเขากลายเป็นนักวิชาการต่างชาติรายแรกที่ถูกจารึกไว้ในรายชื่อบุคคลผู้ตกเป็นเป้าของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งราชอาณาจักรไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"ผมรักประเทศไทยมาก" ดร.พอล กล่าวแก่บีบีซีไทยสามสัปดาห์หลังต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรไทย "ประเทศไทยช่างเป็นประเทศที่งดงาม น่าเศร้าเหลือเกินที่เหตุการณ์นี้มาเกิดขึ้น"
เรื่องราวของเขาได้จุดกระแสการถกเถียงเรื่องเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทยภายใต้กฎหมายจำกัดการแสดงความคิดเห็นและการสอดส่องของหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในไทย
ถูกจับกุมโดยไม่ทันตั้งตัว
"ต้องสารภาพว่าผมรู้สึกประหลาดใจ ไม่คิดว่าตัวเองจะถูกจับกุม" ดร.พอล อดีตนักวิชาการประจำสถานประชาคมอาเซียนศึกษา ม.นเรศวร กล่าวกับบีบีซีไทยถึงเหตุการณ์ที่เขาไปเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตามหมายจับในคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมส่งต่อพนักงานสืบสวน ซึ่งนำไปสู่การฝากขังเขาในวันที่ 8 เม.ย. ในที่สุด
ทั้งนี้ คดีที่นักวิชาการชาวอเมริกันผู้นี้เผชิญ มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดพิษณุโลก (กอ.รมน. ภาค 3) เป็นผู้แจ้งความ
ข้อกล่าวหาดังกล่าวเริ่มจากข้อความในแผ่นประชาสัมพันธ์สัมมนาออนไลน์ของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak) ประเทศสิงคโปร์ แม้ ดร.พอล จะต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นผู้เขียนหรือไม่ได้ผลิตซ้ำเนื้อหาดังกล่าวผ่านช่องทางส่วนตัว แต่ผู้แจ้งความร้องทุกข์เชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่เข้าข่ายตามความผิดหมิ่นสถาบันฯ ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการภาค 6 มีคำสั่งไม่ฟ้องทั้งสองข้อหา เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568
พอลนึกย้อนกลับไป และบอกว่า "เป็นข้ออ้างการใช้มาตรา 112 ที่เบาบางและไร้น้ำหนักอย่างยิ่ง"
กระนั้นแล้ว ในระหว่างที่เขาถูกตั้งข้อหา มีการดำเนินการหลายอย่างเกิดขึ้น เขาถูกนำตัวฝากขังที่เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก สถานะทางกฎหมายเข้าเมืองของเขายังตกอยู่ในสภาวะคลุมเครือ หลังสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทว่าหนังสือหนังสือเดินทางของเขาถูกยึดไว้ด้วย ทำให้ไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศได้ในเวลานั้น
ถูก "ทอดทิ้ง" จากมหาวิทยาลัย
"ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากจะให้อภัยได้ที่รองอธิการบดีมีคำสั่งเลิกจ้างผมโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ผมได้ชี้แจงหรือรับฟังข้อกล่าวหาใด ๆ เลย"
ย้อนไปเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 ระหว่างที่มีการอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ผศ.ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงนามในคำสั่งยกเลิกการจ้างงาน ดร.พอล แชมเบอร์ส ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 อันเป็นวันที่ ดร.พอล ถูกแจ้งคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจาก ตม.
แม้เขาจะตกใจจากข้อกล่าวหาทางกฎหมาย แต่ ดร.พอล เผยว่าสิ่งที่สร้างความ "หดหู่" ต่อเขาคือปฏิกิริยาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
"ผมคิดว่าการที่ผมถูกทอดทิ้งเช่นนั้นเป็นเรื่องที่รับไม่ได้" เขากล่าวกับบีบีซีไทย
ขณะนี้ ดร.พอล อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว โดยคำโต้แย้งระบุว่าว่ารองอธิการบดีปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีไม่ได้มีอำนาจในการเลิกจ้างบุคลากร พร้อมชี้ว่าเหตุถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ได้เป็นเหตุสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน เขาบอกกับบีบีซีไทยด้วยว่า การไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ทำให้เขาไม่มีโอกาสชี้แจ้งข้อมูลจากฝั่งของตัวเอง
"ผมไม่ได้ผ่านขั้นตอนการไต่สวนด้วยซ้ำ โดนไล่ออกเสียอย่างนั้นเลย" เขากล่าว
ทั้งนี้ นอกเหนือจากคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรยังไม่เคยให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
เพื่อนร่วมงานมีทั้งให้กำลังใจและเฉยชา
"มีทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่แสดงความห่วงใยและให้กำลังใจ" ดร.พอล กล่าวถึงนักวิชาการหลายคนที่ติดต่อแสดงความห่วงใยเขา เช่น รศ.ดร.ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล แมดิสัน และ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างถูกดำเนินคดี ดร.พอล เล่าว่าเขาได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมวิชาชีพบางส่วน อาทิ คัตสึยูกิ ทากาฮาชิ อาจารย์ชาวญี่ปุ่นประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หลายครั้งในมหาวิทยาลัย ทั้งการชูสามนิ้วและถือป้ายกระดาษ "Free Dr.Paul" เพื่อเรียกร้องสิทธิให้เพื่อนร่วมงานได้รับอิสรภาพ รวมถึงให้ได้รับหนังสือเดินทางคืน
"แต่สำหรับบางคนที่ผมคิดว่าเป็นเพื่อนแล้วจู่ ๆ เขาหายไป ตอนนั้นผมก็รู้เลยว่า เราไม่เคยเป็นเพื่อนกันตั้งแต่แรก" ดร.พอล ระบุ และกล่าวกับบีบีซีไทยต่อว่า "กระนั้น นักวิชาการบางคนก็ไม่ต้องการแสดงความสนับสนุนผมเพราะกลัว กรณีนั้นผมเข้าใจ นั่นทำให้ผมหดหู่เหมือนกัน"

คัตสึยูกิ ทากาฮาชิ อาจารย์ชาวญี่ปุ่นประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว ดร.พอล แชมเบอร์ส
ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
"ผมยินดีมากที่ท่านทูตสหรัฐฯ [ประจำประเทศไทย] ช่วย" เขากล่าวกับบีบีซีไทย พร้อมระบุว่า "ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลทรัมป์ช่วยผมออกมา"
หลัง ดร.พอล ถูกนำตัวไปฝากขัง แทมมี่ บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกแถลงการณ์ต่อรัฐบาลไทยทันทีในวันที่ 8 เม.ย. ชี้ว่ากรณีของ ดร.พอล ตอกย้ำถึงความกังวลที่สหรัฐฯ มีต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาอย่างยาวนาน และจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสนับสนุนการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อ ดร.พอล
ขณะที่ต่อมา สมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association - APSA) ได้ส่งหนังสือไปยังอัยการสูงสุดของไทย ให้เพิกถอนการฟ้องร้อง และส่งหนังสือไปยังนายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อร้องขอให้ดำเนินการช่วยเหลือ
ประเด็นเกี่ยวกับ ดร.พอล แชมเบอร์ส ยังได้เข้าไปพัวพันกับประเด็นทางการทูตระหว่างไทย-สหรัฐฯ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยและประเทศอื่น ๆ โดยในช่วงปลายเดือน เม.ย. อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เขาเชื่อว่าหากมีการเจรจาต่อรองเรื่องภาษีนำเข้าเกิดขึ้น กรณีของ ดร.พอล ย่อมเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยที่จะถูกพูดถึงในการเจรจา
ในการสัมภาษณ์กับสำนักข่าวนิเคอิเอเชีย ดร.พอล เปิดเผยว่า เขาตัดสินใจออกจากประเทศไทยตามคำแนะนำของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ หลังจากกลุ่ม "ฝ่ายขวา" พยายามรื้อฟื้นคดีหรือกล่าวหาเขาด้วยข้อหาอื่น
พอลบอกกับนิเคอิเอเชียว่า มีนักการทูตอเมริกันเตือนเขาว่า "คุณต้องรีบออกจากที่นี่โดยด่วน" ขณะที่นิเคอิเอเชียบรรยายต่อว่า ระหว่างนั้นกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ "กดดันทางการไทยให้หาทางแก้ไขให้คดีของแชมเบิร์ส หากต้องการต่อแถวเจรจาเรื่องการขึ้นกำแพงภาษี"
ดร.พอล ชี้ในบทสัมภาษณ์กับนิเคอิเอเชียด้วยว่า ตนต้องออกจากประเทศไทยในวันที่ 29 พ.ค. 2568 เพราะวันที่ 30 พ.ค. 2568 จะมี "การประชุม [ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ] อีกครั้งหนึ่งว่าจะเอาอย่างไรดีกับสถานะคนเข้าเมืองของเขา"
ดร.พอล ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า เขาได้หนังสือเดินทางคืนและเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิโดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประกบ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสหรัฐฯ ก่อนออกจากประเทศไทยในวันที่ 29 พ.ค. 2568
โดนเพ่งเล็งจากกองทัพ
"เมื่อพิจารณาในภาพกว้าง สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัว" ดร.พอล ซึ่งตีพิมพ์งานวิชาการหลายชิ้นเกี่ยวกับกองทัพไทย ชี้ว่า "มันเป็นอาการหนึ่งของปฏิกิริยาจากพลังอนุรักษนิยม โดยเฉพาะของกองทัพต่อกระแสความเคลื่อนไหวของฝ่ายก้าวหน้าหลังปี พ.ศ. 2566"
"ผมมองว่ากองทัพไม่ชอบผมแต่เดิมอยู่แล้วจากงานวิจัยที่ทำ ดังนั้นจึงมองหาทางใดก็ได้ที่ทำให้ผมถูกดำเนินคดีเพื่อนำผมเข้าสู่เรือนจำหรือผลักดันออกนอกประเทศ" ดร.พอล กล่าวกับบีบีซีไทย "แต่โดยสัตย์จริง ผมแค่ต้องการให้มีการปฏิรูปกองทัพ กระนั้นแล้วเมื่อชื่อของผมเข้าไปเกี่ยวข้องในทางนั้น ในที่สุดก็ทำให้มีศัตรูในสถาบันกองทัพตลอดหลายปีที่ผ่านมา"
สามทศวรรษที่ผ่านมา ดร.พอล มีผลงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับกองทัพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาเป็นที่รู้จักจากการบัญญัติคำว่า "กองทัพภายใต้ราชาธิปไตย" (Monarchised military) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือ ราชอาณาจักรเสนาธิปไตยแห่งสยาม (Praetorian Kingdom) และยังร่วมเป็นบรรณาธิการหนังสือ Khaki Capital: The Political Economy of the Military in Southeast Asia (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า ทุนสีกากี: เศรษศาสตร์การเมืองของกองทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ปัจจุบัน ดร.พอล ดำรงตำแหน่งนักวิชาการรับเชิญที่สถาบันเอเชียศึกษา ยูซุฟ อิซฮัค ประเทศสิงคโปร์
เขาบอกกับบีบีซีไทยด้วยว่า เขาเชื่อว่าช่วงเวลาที่เขาถูกดำเนินคดีมีความเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ของกองทัพ
"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 มีการแต่งตั้งผู้นำกองทัพคนใหม่ หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่ง ผมก็โดนข้อกล่าวหา สิ่งนี้ทำให้ผมเห็นว่ากองทัพไทยกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอนุรักษนิยมมากยิ่งขึ้นภายใต้ผู้นำคนใหม่นี้"
"กองทัพต้องการส่งสารไปยังทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติว่า นักวิชาการหรือสื่อมวลชนใด ๆ ล้วนสามารถตกเป็นเป้าหมายของการดำเนินคดีทางกฎหมายของกองทัพซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง" ดร.พอล สะท้อนความคิดเห็น
"แม้ท้ายที่สุดศาลจะไม่รับฟัง แต่เหตุการณ์นี้ก็ส่งสัญญาณทั้งต่อชาวไทยและชาวต่างชาติว่า อย่าได้แตะต้องกองทัพหรือสถาบันดั้งเดิม (traditional institutions) ของประเทศนี้เป็นอันขาด" เขาอธิบายกับบีบีซีไทยต่อด้วยว่า "สถาบันดั้งเดิม" ที่เขากล่าวถึงนี้ ไม่ได้หมายความถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่หมายถึงโครงข่ายอันแน่นหนาของสถาบันกองทัพไทย
"กองทัพถือว่าตนเป็นผู้แทนของสถาบันดั้งเดิมทั้งในด้านการธำรงไว้ซึ่งภาพลักษณ์อันสูงส่ง และการธำรงผลประโยชน์ขององค์กร กองทัพจึงมีแนวโน้มที่จะมองหาผู้ที่เห็นต่าง และดำเนินการตอบโต้ต่อบุคคลเหล่านั้นในนามของการปกป้องสิ่งที่ตนเชื่อว่าเป็นรากฐานของชาติ" เขาวิเคราะห์ให้บีบีซีไทยฟัง

เสรีภาพทางวิชาการไทยอยู่ในสภาวะเสี่ยง
"การที่พรรคการเมืองที่มีจุดยืนก้าวหน้าชนะการเลือกตั้งทำให้นักวิชาการกล้าที่จะสะท้อนความเห็นทางการเมือง" เขาอธิบายถึงการที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนโหวตสูงสุดในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 "ผมคิดว่าเสรีภาพทางวิชาการลดลงไปส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เพื่อไทยตัดสินใจตกลงปลงใจกับพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม ขณะเดียวกันอำนาจของทหารก็แข็งแกร่งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา"
"หากใช้มหาวิทยาลัยของผมเป็นภาพสะท้อนของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยแล้ว ก็ต้องถือว่าเสรีภาพทางวิชาการของไทยกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต" นักวิชาการชาวอเมริกันกล่าวกับบีบีซีไทย พร้อมเสริมว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในไทย "ยังขาดความกล้าหาญเพียงพอที่จะปกป้องคณาจารย์ของตนจากการถูกปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง"
ดร.พอล ชี้ว่าภัยคุกคามต่อเสรีภาพทางวิชาการไม่จำเป็นต้องมาในรูปแบบของคดีความมั่นคงเท่านั้น เพราะ "กองทัพสามารถยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาได้อย่างง่ายดาย อาจกล่าวได้ว่า เฮ้ งานเขียนของคุณทำให้ภาพลักษณ์ของเราดูแย่" เขายกตัวอย่าง
"และยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ไม่กล้าหาญพอที่จะปกป้องนักวิชาการจากการโจมตีที่กดขี่เหล่านี้ นั่นหมายความว่าอนาคตของเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทยนั้นมืดมน... เว้นแต่จะเกิดความตระหนักรู้และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากพลังของภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้น ผมหมายรวมถึงนักการเมือง นักวิชาการ และสื่อมวลชน"
ทั้งนี้ ดร.พอล ยังคง "มีความหวัง" ต่อประชาคมนักวิชาการในไทย โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่านักวิชาการส่วนใหญ่สนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการ และคิดว่าคลื่นของประวัติศาสตร์จะพัดเพไปทางนั้นมากขึ้น"

ดร.พอล แชมเบอร์ส อดีตอาจารย์ประจำสถานประชาคมอาเซียนศึกษา คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
"อยากกลับไทย"
ปัจจุบัน ดร.พอล ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านของครอบครัวในมลรัฐโอกลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังคงทำงานวิชาการในฐานะนักวิชาการรับเชิญของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ประเทศสิงคโปร์ แต่เขาย้ำว่า "ผมอยากกลับไปเมืองไทยมาก ผมรักประเทศไทยอย่างสุดหัวใจ ผมแต่งงานกับคนไทย และมีเพื่อนมากมายที่นั่น"
อย่างไรก็ตาม เขาตระหนักถึงความเสี่ยงในการกลับมาอยู่ประเทศไทย "มันไม่ปลอดภัย อาจมีข้อกล่าวหาใหม่จากกองทัพได้ทุกเมื่อ ผมจำเป็นต้องรออีกสักพักจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะผมไม่อยากกลับไปติดคุกอีก"
"โชคดีมากที่ผมมีคนยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือมากมาย ซึ่งไม่ยุติธรรมเลยต่อคนไทยมากมายที่อยู่ในเรือนจำจากข้อหาเดียวกัน" เขาทิ้งท้ายโดยชี้ว่า นักวิชาการไทยก็ถูกเพ่งเล็งคล้าย ๆ กัน แม้จะยังไม่ถูกตั้งข้อหา
"ผมหวังว่าความสนใจของผู้คนจะเผื่อแผ่ไปถึงพวกเขาด้วยเช่นเดียวกัน"
https://www.bbc.com/thai/articles/c4gde88xemjo