วันจันทร์, มีนาคม 31, 2568

จนได้ ไหมล่ะ #เป็นไปตามสมมุติฐาน “อาคาร สตง.ใช้ เหล็ก DB. 32 SD.50 ซึ่งเป็นเหล็กมีปัญหา” แข็งนอก อ่อนใน ปริแตกได้ ทำให้ ค่า STRENGTH หายไป

จนได้ ไหมล่ะ #เป็นไปตามสมมุติฐานอาคาร สตง.ใช้ เหล็ก DB. 32 SD.50 ซึ่งเป็นเหล็กมีปัญหา” Watchara Buapetch ถอนหายใจเฮือกใหญ่

“คือ ตั้งแต่ผมทำงานรถไฟฟ้าใต้ดิน เหล็กชนิดนี้ ค่าผล Test จาก Lab ผลทดสอบค่า Yield ต่ำ แต่ค่า strength จะผ่าน ได้ผลทดสอบ เกิน 5,000 kg/cm2” เขาโวย

“แต่ค่า Bending จะมีปัญหา ปริแตก เป็นเหล็ก 2 ชั้น แข็งนอก อ่อนใน และรอยขาดจะเป็นกรวยดั่งรูป หากเหล็กถูกบิดไปมาจะปริแตก ร้าวเข้าในพื้นที่หน้าตัด ทำให้หน้าตัดเหล็ก (AS) ลดลง ค่า STRENGTH จะหายไปทันที”

สรุปก็คือ “เหล็กเกรดนี้ ไม่เหมาะกับอาคารสูงที่มีการขยับตัว” พอเหมาะพอเจาะกับที่บทความของ พงศกร รอดชมภู เมื่อบ่ายวานนี้พูดถึง ทุนศูนย์เหรียญจากจีน

สามารถลดราคาได้แบบไม่สนใจต้นทุนเพราะอะไร ส่วนหนึ่งเพราะของถูก ล้นตลาด ทิ้งในจีนมหาศาล ค่าแรงคนจีนถูกเพราะไม่ต้องมีสวัสดิการ การก่อสร้างถูกเพราะเน้นความเร็ว เน้นของราคาถูกไม่สนใจความปลอดภัย”

เขาชี้อีกว่า “สินค้าจากจีนจะเครมสเป็กสูง และยังทดสอบเบื้องต้นได้ตรงจริง แต่ไม่ทนต่อเวลา นานไปจะเสื่อมจนเสียเร็ว”

เขาว่านั่นเป็น “ข้อมูลมาจากการซุบซิบกันในหมู่วิศวกรไทย” ว่าช่วงปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมา “เมื่อจีนไหลบ่าเข้ามา” ภาครัฐจะหันมาใช้บริษัทจีนก่อสร้าง

“ตึกที่ถล่มเจ้าของโครงการเป็นไทยก็จริงแต่จะทำบริษัทร่วมค้ากัน เรียกว่า JV หรือ Jount Venture ไทยจะรับแค่ส่วนต่าง จีนจะรับเหมาทั้งหมด...บริษัทไทยรายใหญ่จะไม่ยอม JV กับบริษัทจีน” เพราะไม่สามารถหืออะไรได้เลย

(https://www.facebook.com/php?story=100001641182657 และ https://www.facebook.com/permalink.story_fbid=100008104999197)