
Rocket Media Lab
Yesterday
·
เปิดไทม์ไลน์ระบบเตือนภัย Cell Broadcast เริ่มมาจากอะไร ตอนนี้ถึงไหนแล้ว
.
จากเหตุแผ่นดินไหววันนี้ (28 มี.ค.) ทำให้เกิดประเด็นการทวงถามถึง ระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast) ซึ่งเคยเป็นประเด็นมาแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมทางภาคเหนือ Rocket Media Lab ชวนย้อนไทม์ไลน์ดูว่า ระบบเตือนภัย Cell Broadcast เริ่มมาจากอะไร และตอนนี้ถึงไหนแล้ว
.
3 ต.ค. 2566 : จากเหตุไล่ยิงในห้างพารากอน ทำให้เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น สั่งการให้กระทรวงดีอี โดยความร่วมมือของ กสทช. ทำระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast)
.
12 ก.พ. 2567 : กระทรวง DE ประกาศแผนที่จะสร้างระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast)ให้เสร็จภายใน 1 ปี โดยจะเป็นการดำเนินงานร่วมกันกับ กสทช. และ กทปส. เอไอเอส และ ทรู-ดีแทค
.
5 มี.ค. 2567 : ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยความสำเร็จทดสอบ Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านจอมือถือสำเร็จในห้องแล็บกำลังเจรจาความร่วมมือกับ กระทรวงดีอี, กสทช. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
.
7 พ.ค. 2567 : กระทรวงดีอี ขอสนับสนุนในส่วนของ CBE จำนวน 434 ล้านบาท และวงเงินขอสนับสนุนของโอปอเรเตอร์ เพื่อทำระบบ CBC จำนวน 1,031 ล้านบาท โดยให้หักเงินจากที่ต้องส่งรายปีให้กองทุนยูโซ่ รวมงบประมาณทั้งโครงการประมาณ 1,465 ล้านบาท
.
6 ก.ค. 2567 : เผยผลสำเร็จจากการบูรณาการความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน โดยกระทรวงดีอี, กสทช., ปภ. และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมจัดทำ Cell Broadcast Service หรือ CBS ระบบเตือนภัยฉุกเฉินในพื้นที่จริงครั้งแรกในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2568
.
17 ก.ย. 2567 : “กสทช.” อนุมัติงบทำระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ Cell Broadcast จำนวน 1,000 ล้านบาท หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงราย ล่าสุด "AIS -TRUE" พร้อมเปิดให้บริการไตรมาส 4/2567
.
24 ก.ย. 2567 : นายกฯ สั่งให้เร่งรัดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดำเนินการใช้ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast Service เพื่อให้การเตือนภัยกับประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
.
19 พ.ย. 2567 : กระทรงดีอี ร่วมทดสอบระบบ Cell Broadcast เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS TRUE NT)
.
28 มี.ค. 2568 : เกิดเหตุแผ่นดินไหว กสทช. แจ้งว่า กสทช. และค่ายมือถือมีความพร้อมเชิงเทคนิคเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากต้องรอคำสั่งและการสั่งการอย่างเป็นทางการจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยขณะนี้เตรียมเริ่มทดสอบระบบ Cell Broadcast อย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ช่วงเดือนเมษายน
.
*28 มี.ค. 2568 : กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (ปภ.) ออกหนังสือด่วนที่สุดถึง กสทช. ขอความร่วมมือส่ง SMS แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลถึง 2 ครั้ง (14.30-16.00 น.) แต่พบว่ายังไม่มี SMS ใดๆ แจ้งเตือนถึงประชาชน
.
.
*ข้อมูลอัพเดท 18.00 น.
.
อัพเดท เวลา 21.00 น. มีรายงานข่าวว่า กสทช. ยอมรับส่ง SMS เตือนภัยล่าช้า เนื่องจากระบบจำกัดจำนวนการส่งของผู้ให้บริการ แค่ 2 แสนเลขหมายต่อครั้ง และต้องรอข้อความเตือนภัยจาก ปภ. ซึ่งเป็นผู้กำหนดข้อความ
.
#แผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวกรุงเทพ #แผ่นดินไหวเมียนมา #thailandearthquake #myanmarearthquake
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1165552385586147&set=a.432217842252942
·
เปิดไทม์ไลน์ระบบเตือนภัย Cell Broadcast เริ่มมาจากอะไร ตอนนี้ถึงไหนแล้ว
.
จากเหตุแผ่นดินไหววันนี้ (28 มี.ค.) ทำให้เกิดประเด็นการทวงถามถึง ระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast) ซึ่งเคยเป็นประเด็นมาแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมทางภาคเหนือ Rocket Media Lab ชวนย้อนไทม์ไลน์ดูว่า ระบบเตือนภัย Cell Broadcast เริ่มมาจากอะไร และตอนนี้ถึงไหนแล้ว
.
3 ต.ค. 2566 : จากเหตุไล่ยิงในห้างพารากอน ทำให้เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น สั่งการให้กระทรวงดีอี โดยความร่วมมือของ กสทช. ทำระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast)
.
12 ก.พ. 2567 : กระทรวง DE ประกาศแผนที่จะสร้างระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง (Cell Broadcast)ให้เสร็จภายใน 1 ปี โดยจะเป็นการดำเนินงานร่วมกันกับ กสทช. และ กทปส. เอไอเอส และ ทรู-ดีแทค
.
5 มี.ค. 2567 : ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยความสำเร็จทดสอบ Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านจอมือถือสำเร็จในห้องแล็บกำลังเจรจาความร่วมมือกับ กระทรวงดีอี, กสทช. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
.
7 พ.ค. 2567 : กระทรวงดีอี ขอสนับสนุนในส่วนของ CBE จำนวน 434 ล้านบาท และวงเงินขอสนับสนุนของโอปอเรเตอร์ เพื่อทำระบบ CBC จำนวน 1,031 ล้านบาท โดยให้หักเงินจากที่ต้องส่งรายปีให้กองทุนยูโซ่ รวมงบประมาณทั้งโครงการประมาณ 1,465 ล้านบาท
.
6 ก.ค. 2567 : เผยผลสำเร็จจากการบูรณาการความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน โดยกระทรวงดีอี, กสทช., ปภ. และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมจัดทำ Cell Broadcast Service หรือ CBS ระบบเตือนภัยฉุกเฉินในพื้นที่จริงครั้งแรกในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2568
.
17 ก.ย. 2567 : “กสทช.” อนุมัติงบทำระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ Cell Broadcast จำนวน 1,000 ล้านบาท หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงราย ล่าสุด "AIS -TRUE" พร้อมเปิดให้บริการไตรมาส 4/2567
.
24 ก.ย. 2567 : นายกฯ สั่งให้เร่งรัดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดำเนินการใช้ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast Service เพื่อให้การเตือนภัยกับประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
.
19 พ.ย. 2567 : กระทรงดีอี ร่วมทดสอบระบบ Cell Broadcast เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS TRUE NT)
.
28 มี.ค. 2568 : เกิดเหตุแผ่นดินไหว กสทช. แจ้งว่า กสทช. และค่ายมือถือมีความพร้อมเชิงเทคนิคเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากต้องรอคำสั่งและการสั่งการอย่างเป็นทางการจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยขณะนี้เตรียมเริ่มทดสอบระบบ Cell Broadcast อย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ช่วงเดือนเมษายน
.
*28 มี.ค. 2568 : กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (ปภ.) ออกหนังสือด่วนที่สุดถึง กสทช. ขอความร่วมมือส่ง SMS แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลถึง 2 ครั้ง (14.30-16.00 น.) แต่พบว่ายังไม่มี SMS ใดๆ แจ้งเตือนถึงประชาชน
.
.
*ข้อมูลอัพเดท 18.00 น.
.
อัพเดท เวลา 21.00 น. มีรายงานข่าวว่า กสทช. ยอมรับส่ง SMS เตือนภัยล่าช้า เนื่องจากระบบจำกัดจำนวนการส่งของผู้ให้บริการ แค่ 2 แสนเลขหมายต่อครั้ง และต้องรอข้อความเตือนภัยจาก ปภ. ซึ่งเป็นผู้กำหนดข้อความ
.
#แผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวกรุงเทพ #แผ่นดินไหวเมียนมา #thailandearthquake #myanmarearthquake
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1165552385586147&set=a.432217842252942