วันเสาร์, มีนาคม 29, 2568

ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน ประเทศไทย ใช้ได้กี่โมง ? ต้องถามถึงทุกครั้งเมื่อภัยมา



ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน ประเทศไทย ใช้ได้กี่โมง ? ต้องถามถึงทุกครั้งเมื่อภัยมา

28 มี.ค. 2568
ไทยรัฐออนไลน์

Summary
“ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ประชาชนถามถึงกันครั้งแล้วครั้งแล่าในยามมี “ภัยพิบัติ” ล่าสุดประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่ รุนแรงจนนำไปสู่โศกนาฏกรรมตึกถล่ม มีผู้คนได้รับบาดเจ็บ สูญหาย และล้มตายจำนวนหลายร้อย รวมถึงอาคารต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนทั่วไป เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำไมไม่มีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวล่วงหน้า และลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด โดยเหตุการณ์ประชาชนต้องติดตามข่าวสารและประเมินสถานการณ์ด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์


ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ประชาชนถามถึงกันครั้งแล้วครั้งแล่าในยามมี “ภัยพิบัติ” ล่าสุดประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่ รุนแรงจนนำไปสู่โศกนาฏกรรมตึกถล่ม มีผู้คนได้รับบาดเจ็บ สูญหาย และล้มตายจำนวนหลายร้อย รวมถึงอาคารต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนทั่วไป เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้


แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำไมไม่มีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวล่วงหน้า และลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด โดยเหตุการณ์ประชาชนต้องติดตามข่าวสารและประเมินสถานการณ์ด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์

ระบบเตือนภัยในปัจจุบันของไทย มีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน

ระบบ SMS: เริ่มใช้งานแล้ว เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมอุตุนิยมวิทยา

แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT: พัฒนาโดย ปภ. สามารถแจ้งเตือนภัยพิบัติทุกประเภท รวมถึงให้ข้อมูลสถานการณ์ภัย สภาพอากาศ และคาดการณ์ฝน

Cell Broadcast Service (CBS): ระบบที่สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้พร้อมกันทันที ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา

ทำไมระบบถึงทำงานไม่ได้ เมื่อภัยมา ?

จากการรวบรวมข้อมูล พบสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่มีการแจ้งเตือนภัยในวงกว้างในช่วงเวลาดังกล่าว

ระบบ CBS ยังไม่พร้อมใช้งาน: ระบบ CBS หรือ Cell Broadcast Service ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา กำหนดแล้วเสร็จประมาณไตรมาสที่ 2 ของปี 2568

ส่วนระบบที่มีอยู่ล้มเหลว: มีรายงานว่าแอปพลิเคชันของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และเว็บไซต์ของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นทางการได้

อย่างไรก็ตาม แม้ภัยแผ่นดินไหวจะเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ แต่การส่งข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับขนาดและจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในทันทีที่เกิดเหตุยังคงมีความล่าช้า และไม่ได้มีการประเมินการณ์ความเสี่ยงให้กับประชาชนล่วงหน้า

แม้ว่า หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว รัฐบาลได้มีการตอบสนองอย่างเร่งด่วน โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ดำเนินการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบ Cell Broadcast และประกาศให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ฉุกเฉิน รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการภัยพิบัติในกรุงเทพฯ และสั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมดูแลความปลอดภัย พร้อมกับเรียกร้องให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และระมัดระวังอาฟเตอร์ช็อกที่อาจเกิดขึ้น

ความเคลื่อนไหวล่าสุด: ดีอี-ดีป้า อัปเกรด HelpT รับมือแผ่นดินไหว

ล่าสุดในวันที่ 28 มีนาคม 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ประกาศอัปเกรดแอปพลิเคชัน "HelpT น้ำท่วม ช่วยด้วย!" เพิ่มฟีเจอร์แจ้งเตือนและขอความช่วยเหลือกรณีแผ่นดินไหว การปรับปรุงครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถรับข้อมูลและติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว โดยหน่วยงานดูแลเมืองที่สนใจสามารถขอสิทธิ์เข้าใช้ระบบได้ฟรี เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ ผ่านช่องทาง LINE OA: @HelpT หรือติดต่อดีป้าโดยตรง

การพัฒนานี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐในการปรับปรุงช่องทางการสื่อสารและแจ้งเตือนภัยให้ครอบคลุมสถานการณ์ฉุกเฉินที่หลากหลายมากขึ้น แม้จะเป็นการตอบสนองหลังเกิดเหตุ แต่ก็เป็นการเร่งยกระดับระบบเตือนภัยที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบ Cell Broadcast Service ไปถึงไหนแล้ว ?


ระบบ CBS ถือเป็นความหวังสำคัญในการยกระดับการแจ้งเตือนภัยพิบัติของประเทศไทย โดยได้รับงบประมาณมากกว่าพันล้าน ส่วนหนึ่งมาจากกองทุน USO ของสำนักงาน กสทช. และล่าสุดข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออย่าง AIS และ True Corp ได้ทำการทดสอบระบบ CBS ในห้องปฏิบัติการสำเร็จแล้ว และ True Corp ยังได้ดำเนินการทดสอบระบบ CBS กับผู้ใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย มีแผนที่จะทำการทดสอบระบบ CBS ทั่วประเทศในไตรมาสแรกของปี 2568 รวมถึงมีความสามารถส่งข้อความเป็นได้ถึง 5 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย

บทเรียนจากนานาชาติ

หลายประเทศทั่วโลกมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้และนำแนวทางมาปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
  • ญี่ปุ่น: มีระบบ "J-Alert" ที่แจ้งเตือนภัยได้ทั่วประเทศ ครอบคลุมภัยพิบัติหลากหลายประเภท
  • สหรัฐอเมริกา: มีระบบ "Alert System (EAS)" และ "Wireless Emergency Alerts (WEAs)"
  • สหราชอาณาจักร: มีระบบ "Emergency Alerts" พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัว
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาถือเป็นบททดสอบสำคัญที่เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการมีระบบแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนคาดหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งรัดการพัฒนาระบบและมีมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

กสทช.กำชับทุกค่ายมือถือดูแลระบบสื่อสาร

ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวบ่ายวันที่ 28 มีนาคม ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการรักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการภายโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้รับรายงานจากผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายว่าไม่มีสถานีฐานได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้ใช้งานในการติดต่อสื่อสารและติดตามข่าวสารจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารติดขัดในบางช่วง

โดยสำนักงาน กสทช. ได้กำชับผู้ประกอบการโทรคมทุกรายจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ในการดูแลสถานีฐานและขยายสัญญาณให้พร้อมใช้งานได้ปกติ รวมทั้งเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์กับสำนักงาน กสทช. อย่างต่อเนื่อง และยังได้ประสานสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเตรียมรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในการรับสัญญาณถ่ายทอดสด หากมีการรายงานสถานการณ์ฉุกเฉิน

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ศูนย์สายลม ติดตามข้อมูลรายงานสถานการณ์ต่างๆ เตรียมพร้อมทุกขณะในการรับมือกับสถานการณ์ พร้อมประสานงานกรณีเกิดเหตุ และขอให้เครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ให้สามารถประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา เพื่อพร้อมสนับสนุนใช้เป็นโครงข่ายสื่อสารสำรองให้กับหน่วยงานภาครัฐกรณีที่โครงข่ายสื่อสารหลักล่ม

https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation/digital_transformation/2849856