Thanapol Eawsakul
15h
กำเนิด เติบโต และล่มสลายของพรรคภูมิใจไทย
....................
ประจักษ์ ก้องกีรติ ได้นิยามพรรคภูมิใจไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
“พรรคภูมิใจไทยนั้นในทางวิชาการ ต้องถือว่าเป็นพรรคแนวท้องถิ่นอุปถัมภ์ (local patronage party) แบบคลาสสิคโดยแท้ คือไม่เน้นนโยบายระดับชาติ หลีกเลี่ยงการเมืองเชิงอุดมการณ์ เน้นการสร้างระบบหัวคะแนนและเครือข่ายท้องถิ่นอุปถัมภ์เพื่อหล่อเลี้ยงความนิยมที่แข็งแรงในพื้นที่ อัดฉีดงบประมาณและสร้างความเจริญในระดับจังหวัด สำทับด้วยการเมืองระบบ “บ้านใหญ่” หรือตระกูลการเมืองที่สืบทอดกันมายาวนาน
พรรคแนวท้องถิ่นอุปถัมภ์นี้ ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยอดีตคือ พรรคชาติไทยในสมัยคุณบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนรุ่น อิทธิพลของพรรคก็ร่วงโรยลง
อันที่จริงกระแสการปฏิรูปการเมืองในรัฐธรรมนูญปี 2540 ตั้งใจรื้อโครงสร้างการเมืองเพื่อลดบทบาทของพรรคแนวท้องถิ่นอุปถัมภ์เช่นนี้ เพราะต้องการเปลี่ยนการเมืองไทยไปสู่ระบบพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ขายนโยบายระดับชาติ (ที่ไม่ใช่แค่การพัฒนาจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง)
น่าเสียดายว่า การเมืองเชิงอุปถัมภ์ถูกรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้งผ่านการออกแบบกติกาการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 เพราะชนชั้นนำอนุรักษนิยมหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีฐานเสียงครอบคลุมทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม พรรคเช่นนี้แม้จะกลับมาเป็นที่นิยมในหลายจังหวัด แต่ยังคงไม่สามารถสร้างกระแสการตอบรับจากคนกรุงเทพฯ ได้ เราจึงเห็นว่าแม้ภูมิใจไทยจะกระแสดีในแถบอีสานใต้ ภาคกลาง และภาคใต้บางจังหวัด แต่ในกรุงเทพฯ กลับไม่มีกระแสเสียเลยทั้งตัวพรรคและแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค
อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะไม่เอื้อต่อภูมิใจไทยเท่าไหร่นัก คือ ระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบแบบปี 2540 เพราะถ้าย้อนกลับไปดูพฤติกรรมการลงคะแนนของคนไทย แม้จะเลือก ส.ส.เขตจากพรรคท้องถิ่นอุปถัมภ์ แต่จะไม่ค่อยเลือกพรรคแนวนี้ในบัตรบัญชีรายชื่อ (ตามกฎหมาย ประชาชนสามารถ “เลือกคนที่รักกับพรรคที่ชอบ” แยกจากกันได้) ที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยจึงได้คะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อค่อนข้างน้อย”
แต่กระนั้นประจักษ์ ยังมองว่า
“พรรคภูมิใจไทยมีโอกาสสูงที่จะเข้าวินมาเป็นอันดับ 2 ได้”
แนวโน้มผลการเลือกตั้ง 2566 | ประจักษ์ ก้องกีรติ
https://www.matichonweekly.com/column/article_626527
อย่างที่ทราบกันว่าบรรดา นักการเมืองที่ไหลย้ายไปที่พรรคภูมิใจไทย ในเวลานี้เพราะเชื่อกันว่า พรรคภูมิใจไทยจะได้เป็นรัฐบาลอย่างแน่นอน
ซึ่งอาจจะสวนกับที่นิดาโพล โพลการเมืองที่มีความแม่นยำมากที่สุดได้ สำรวจ “6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล”
ปรากฎว่าพรรคภูมิใจไทย ที่จะเสนอนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีเพียงร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน
ขณะที่พรรคพรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก มีเพียง ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน
เช็กเลย! ผลโพลนิด้า พรรคไหนมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลในสายตา ปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3719621
นั่นหมายความว่าคนเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะเลือกตั้งมากที่สุดและโอกาสที่พรรคภูมิใจไทยจะร่วมรัฐบาลอยู่ที่พรรคเพื่อไทยเลือกหรือไม่
แต่มีถึงร้อยละ 30.84 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทยไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน เพราะไม่คิดว่าพรรคเพื่อไทยจะเอามาร่วมรัฐบาล
-----กำเนิดพรรคภูมิใจไทย จากคำขู่ “รู้ไหม ขณะนี้กำลังสู้อยู่กับใคร สู้อยู่กับสถาบันไม่มีทางชนะหรอก” ----
พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคพลังประชาชนในวันที่ 2 ธันวาคม 2551
จากพรรคพลังประชาชนที่มี 233 จาก 480 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งธันวาคม 2550 จนสามารถส่งสร้างนายกรัฐมนตรีได้ถึง 2 คนคือ
28 มกราคม พ.ศ. 2551 นายสมัคร ชนะ อภิสิทธิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 163,
17 กันยายน 2551 นายสมชาย ชนะนายอภิสิทธิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยคะแนนเสียง 298 ต่อ 163 เสียง
แต่เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ 2 ธันวาคม 2550 ส.ส.จำนวนหนึ่งกลายเป็นสภาพเป็นพรรคเพื่อไทย แต่ก็มีคำขู่ "รู้ไหม ขณะนี้กำลังสู้อยู่กับใคร สู้อยู่กับสถาบันไม่มีทางชนะหรอก"
https://twitter.com/somsakjeam/status/1029287432733245441
พรรคพลังประชาชนจึงเหมือนผึ้งแตกรัง มีอีกหลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่ม”เพื่อนเนวิน” เปลี่ยนขั้ว ย้ายข้างไปสนับสนุนอภิสิทธิ์ เป็นนายก ผลการลือกนายกก็เปลี่ยนไปทันที
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จากเดิมที่เคยได้ 163 เสียง ก็ได้รับความเห็นชอบ เพิ่มขึ้นมา 73 เสียงกลายเป็น 235 เสียง ส่วนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน (ที่พรรคเพื่อไทยให้ความสนัยสนุน) ได้รับความเห็นชอบ 198 เสียง
เราจะเห็นว่าคะแนน 235 ของอภิสิทธิ์ นั้นมีพรรคภูมิใจไทย 8 และกลุ่มเพื่อนเนวินอีก 22 รวมเป็น 30 คน0เป็นอย่างน้อยที่ย้ายจากพรรคพลังประชาชนมา ยังพรรคภูมิใจไทย และพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ ตามมา
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
---ขี่คอพรรคประชาธิปัตย์---
เนื่องจากสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ผู้จัดการรัฐบาลในขณะนั้น ไปต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีกับเนวิน ชิดชอบ สุเทพยื่นข้อเสนอแบบที่เนวินปฏิเสธไม่ได้คือ “ขอแค่ อภิสิทธิ์ เป็นนายก”
ดังนั้นในการต่อรองรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยที่มีเพียง 30 ที่นั่งเมื่อรายชื่อครม. อภิสิทธิ์ 1ประกาศออกมา เราจึงได้เห็น พรรคภูมิใจไทยได้กระทรวงเกรด เอ ถึง 3 กระทรวง 5 รัฐมนตรี
รมว. มหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รมว.คมนาคม โสภณ ซารัมย์
รมว.พาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย
โดยมี รมช.อีก 2 กระทรวงคือ รมช. สาธารณสุข มานิต นพอมรบดี , รมช.เกษตร ชาติชาย พุคยาภรณ์
ในการบริหารประเทศระหว่างปี 2552-2554 พรรคภูมิใจไทย ขี่คอพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมาตลอด (เหมือนกับที่ขี่คอประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐในเวลานี้) เพราะเพียงแค่การถอนตัวออกจากพรรคร่วม รัฐบาลก็ล้มลงแล้ว เราจึงเห็นการสะสมทุนการเมืองขนาดหนักของพรรคภูมิใจไทย
จนเมื่อต้องยุบสภา เลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2554 พรรคภูมิใจไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ ก็หวังจะกลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งด้วยสมการ ประชาธิปัตย์ 180 + ภูมิใจไทย 80 = 260 จาก 500 อันเป็นมาจากการเป็นพรรครัฐบาลและได้กระทรวงเกรดเอมาจำนวนมาก
ขณะที่พรรคเพื่อไทยการเป็นพรรคฝ่ายค้าน ไม่สามารถระดมทรัพยากร รวมทั้งกลไกรัฐที่พรรครัฐบาลได้เปรียบ ดูเหมือนว่าชัยชนะอยู่แค่เอื้อม
แต่ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ประเมินตัวเองสูงเกินไป รวมทั้งบาดแผลจากการล้อมปราบในเดือนเมษา+พฤษภา 2553 ยังคุกรุ่น ส่งผลให้การเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2554 ไม่เป็นไปดังหวัง
---ภูมิใจไทยกับความพ่ายแพ้เลือกตั้ง 2554 ฝ่ายค้านที่อดอยากปากแห้ง----
ผลการเลือกตั้ง 2554 ปรากฎว่า
พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส. เขต 204 ที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ 15,752,470 เสียง 61 ที่นั่ง รวม 265 ที่นั่ง
พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส. เขต 115 ที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ 11,435,640 เสียง 44 ที่นั่ง รวม 159 ที่นั่ง
ส่วนพรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส. เขต 29 ที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1,281,652 เสียง 5 ที่นั่ง รวม 34 ที่นั่ง
ถ้าย้อนไปดูสมการ ประชาธิปัตย์ 180 + ภูมิใจไทย 80 = 260 จาก 500 ก็จะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์พลาดเป้าไปไม่มากจาก 180 เป็น 159 แต่พรรคภูมิใจไทยทั้ง ๆ ที่สะสมทุนไว้เป็นจำนวนมาก จาก 80 ที่นั่งก็ได้มาเพียง 34 ที่นั่งเท่านั้น
แม้กระทั่งจังหวัดบุรีรัมย์ 9 เขต ก็ยังมีพรรคเพื่อไทยแทรกมาถึง 2 เขต แม้ว่าจะคุมกลไกรัฐทุกอย่างไว้ในมือ
การเป็นพรรคฝ่ายค้านของพรรคภูมิใจไทยหลังเลือกตั้ง 2554 ก็ไม่สามารถระดมทุนได้เหมือนก่อนบรรดา นักการเมืองที่เคยย้ายไปพรรคภูมิใจไทย เช่นสมศักดิ์ เทพสุทิน และพวก ก็ย้ายกลับมาพรรคเพื่อไทยในปี 2556 เช่นกัน
- 2544 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย
- หลังรัฐประหาร 2549 สมศักดิ์นำทีมอดีต ส.ส.กลุ่มวังน้ำยม ตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยอนงค์วรรณ เทพสุทิน ภรรยาของสมศักดิ์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค
- ปี 2552 อนงค์วรรณต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในคดียุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย กลุ่มสมศักดิ์จึงย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ปี 2556 สมศักดิ์พาพลพรรคกลุ่มมัชฌิมากลับพรรคเพื่อไทย และส่งทีมลงสมัคร ส.ส. แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ
42 ปีเสือซุ่ม "สมศักดิ์ เทพสุทิน" จะเดินไปสู่หนไหน
https://www.komchadluek.net/scoop/501059
ณ เวลานั้น พรรคภูมิใจไทยเหมือนไม่มีอนาคตทางการเมืองแต่อย่างใด
---รัฐประหาร 2557 มาช่วยชีวิตพรรคภูมิใจไทย---
จากพรรคการเมืองที่ไม่มีอนาคต พลันที่พรรคเพื่อไทยออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบัยบเหมาเข่ง ก้เป็นชนวนไปสู่รับประหาร 2557 การกวาดล้างบรรดานักการเมืองของคณะรัฐประหารก็เริ่มต้นอีกครั้ง
โดยพรรคเพื่อไทยเป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่บรรดานักการเมืองพรรคไทยรักไทยหลายคนที่ชนักติดหลังก็โดน “โปรย้ายค้าย” ส่งผลให้มีนักการเมือง ไม่น้อยออกมาอยู่กับพรรคที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กับคณะรัฐประหาร ซึ่งพรรคภูมิใจไทยก็เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น
สัญญาณที่ว่าหัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตนรีที่ชื่อประบุท์ จันทร์โอชาก็แสดงความเป้ฯใตรกับพรรคภุใจไทยและเนวิช ชิดชอบ ดังการไปเยี่ยมบุรีรัมย์ในปี2561
เนวิน "รับขวัญ" พล.อ. ประยุทธ์ เยือนบุรีรัมย์ ขณะที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยดักคอ "ใครดูด ติดคอตายแน่"
https://www.facebook.com/.../a.15271.../2088318618055834/...
ดังนั้นเมื่อถึงการเลือกตั้ง 2562 พรรคภูมิใจไทยจึงลงสนามเลือกตั้งโดยไม่ต้องเป็นปฏิปักษ์กับคณะรัฐประหาร ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคภูมิใจไทยจึงมีโอกาสฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
---พรรคอันดับ 5 ในการเลือกตั้ง พรรคร่วมรัฐบาลอันดับ 3 และ 2---
พรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้ง 2562 ได้คะแนน 3,732,883 เสียง ส.ส.เขต 39 ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 12 ที่นั่ง เป็นพรรคอันดับที่ 2 แต่พรรคภูมิใจไทยที่เคยหาเสียงว่าจะไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็โกหกประชาชนด้วยการไปสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ในการจัดครม. พรรคภูมิใจไทยจึงได้ไป 7 ตำแหน่ง 6 คน
รองนายก และ รมว.สาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
รมว คมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา พิพัฒน์ รัชกิจประการ
รมช. มหาดไทย ทรงศักดิ์ ทองศรี
รมช. ศึกษา กนกวรรณ วิลาวัลย์
รมช. พาณิชย์ วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
แต่สิ่งที่พรรคภูมิใจไทยทำได้มากขึ้นกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์คือการ จัดสรรงบประมาณไปยังจังหวัดที่มี ส.ส.อยู่ หรือจังหวัดยุทธศาสตร์ที่จะช่วงชิงมา ดังที่สหายแสง ศุภชัย โพธิ์สุ ได้ปราศรัยอย่างตรงไปตรงมาว่า
“สงสาร ส.ส.สกลนคร ผมสงสาร ส.ส. จังหวัดอุดรธานี อภิปรายในสภาฯ ทีไร อภิปรายทีไรเรื่องงบประมาณ ก็ด่ารัฐมนตรีคมนาคม ว่าทำไมต้องเอางบประมาณ ไปพัฒนาที่บุรีรัมย์มากมาย ทำไมต้องไปพัฒนาที่ศรีสะเกษมากมาย และสุดท้ายมาลงที่นครพนม นครพนมก็มี ส.ส. ไม่กี่คน ทำไมได้งบประมาณมาเยอะเหลือเกิน ผมเป็นประธานบนบัลลังก์ ผมอยากจะบอกมันว่า ก็นครพนมมี ส.ส. ของพรรคภูมิใจไทยอยู่ที่นี่ไง “ไอ้โง่” มันโง่จริงหรือมันแกล้งโง่ สกลนครอยากได้งบพัฒนาเยอะๆ มึงเลือกฝ่ายรัฐบาลสิ เลือกพรรคภูมิใจไทยทั้ง 6 เขต 7 เขต รับรองสกลนครเจริญทัดเทียมนครพนม อย่างแน่นอนครับ”
เปิดคลิป “รองประธานสภาฯ ศุภชัย” เรียก “ไอ้โง่” ขณะปราศรัยเรื่องการจัดงบประมาณ
https://workpointtoday.com/politic-supachai/
พร้อมกันนั้นก็ดูด บรรดา ส.ส.งูเห่า โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ เข้ามาหลายระรอก ซึ่งทางพรรคภูมิใจไทยก็ทราบดีอยู่แล้วว่า เกือบทั้งหมดของ บรรดา ส.ส.เหล่านี้จะสอบตก แต่การได้ ส.ส. มายกมือให้สมัยรัฐบาลประยุทธ์ แม้จะจ่ายสัก 20-30 ล้าน ก็น่าจะคุ้มค่ากว่าจ่ายในสนามเลือกตั้ง เพราะไม่รับประกันว่าจะชนะหรือไม่
ถ้าเราดูจากบรรดา ส.ส.เกรดเอ ที่จะได้รับการอัดฉีด ดังบทวิเคราะห์ต่าง ๆ ในการเลือกตั้ง 2566
'แม้ว' แฉ คนมีเงินเยอะกว้านซื้อส.ส.ราคาพุ่งถึงหัวละ 80 ล้านแล้ว เลือกตั้งครั้งต่อไปสนุกแน่
https://www.thaipost.net/politics-news/259208/
จนปัจจุบัน ส.ส.ในมือพรรคภูมิใจไทยก็ขยับมาเป็นอันดับ 2 ในรัฐบาล และอาจะแซงพรรคพลังประชารัฐไปแล้วถ้ายังมีการดูด ส.ส. อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน
---จุดขายพรรคภูมิใจไทย ร่วมรัฐบาลแน่นอน ไม่ว่าใครตั้งรัฐบาล แม้แต่พรรคเพื่อไทย ---
การเปิดตัว ส.ส. 34 คนที่ได้จากการดูดเข้ามาของพรรคภูมิใจไทย และการกล้าประกาศหนุนอนุทินให้เป็นนายกของเนวิน ชิดชอบ ทำให้พวกเขาคิดว่าถึงเวลาแล้วที่พรรคภูมิใจไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแม้ว่าคะแนนเสียงไม่ได้ชนะเป็นอันดับที่ 1 แบบที่พรรคพลังประชารัฐทำมาแล้วในปี 2562
สิ่งที่ทำให้พรรคภูมิใจไทยมั่นใจเช่นนั้นได้ก็เพราะว่าแม้แต่พรรคเพื่อไทยที่มีแนวโน้มว่าจะชนะเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 และเคยแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับพรรคภุมิใจไทย จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปฏิเสธพรรคภูมิใจไทยแต่อย่างใด
‘ชลน่าน’ ย้ำ 6 ธ.ค. ยังไม่มีเปิดแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ชี้ จะจับมือใครต้องดูหลังเลือกตั้ง-ปชช.เป็นหลัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3708619
ไม่ว่าสำนักโพลใด ๆ คะแนนเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทยก็ไม่เคยเกิน 120 ซึ่งแตกต่างกับที่พรรคเพื่อไทยประเมินตัวเองหรือคนอื่นประเมินคือ 180 เป็นอย่างน้อย แต่สิ่งที่จะทำให้พรรคภูมิใจไทย มั่นใจว่าตัวเองจะได้ร่วมรัฐบาลแน่ ๆ คือการที่ตัวเองมี “พลังพิเศษ” ที่จะคุ้มกะลาหัว และทำให้ทุกพรรคที่จะเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลต้องเกรงใจ และเอาเข้าร่วมรัฐบาล
---สรุปเส้นทางพรรคภูมิใจไทย---
ผมขอคิดต่างจากบรรดาเกจิทางการเมืองทั้งหลายว่าเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคภูมิใจไทยคือพรรคต่ำ 100 และอาจจะลงไปถึง 75 ที่นั่งด้วยซ้ำ เพราะบรรดา ส.ส.ที่ดูดมานั้นเกินครึ่งคือ ส.ส. เกรดซี ที่จะสอบตกแน่นอน
ขณะที่คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อก็น่าจะต่ำกว่าคะแนน ส.ส.เขต จะทำให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคภูมิใจไทยได้ไม่มากตามสัดส่วน ส.ส. เขต (นี่เป็นสำคัญที่พรรคคภูมิใจไทยไม่สนัสนุนอย่างเต็มที่ในการแก้ไข ระบบเลือกตั้ง)
ขณะเดียวกัน ถ้า พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยที่ได้ต่ำ 100 ก็น่าจะเป็นพรรคฝ่ายค้าน
และถ้าพรรคภูมิใจไทยเป็นฝ่ายค้าน 2 สมัยติดต่อกัน ก็จะล่มสลายไปเอง