วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 22, 2565
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ2 ของสภา และรอคิวกลับเข้าสภาเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะได้พิจารณาก่อนสภานี้หมดสมัย ช่วยกันบอกต่อ ส่งเสียง ให้รัฐสภาผ่านร่าง การขอ "ฟื้นฟูสภาวะทางการเงิน" เพิ่มช่องทางลูกหนี้
iLaw
3d
ใครบ้างเป็นหนี้อยู่ วันนี้ยังไม่มีจ่าย แต่เห็นลู่ทางแล้วว่า ข้างหน้าสามารถหามาจ่ายได้ จึงอยากขอโอกาสฟื้นฟูตัวเองอีกสักหน่อย
กรณีแบบนี้กฎหมายปัจจุบันไม่ได้เปิดช่องลูกหนี้คนธรรมดาที่จะเจรจาขอ "ฟื้นฟูสภาวะหนี้สิน" ทำให้ลูกหนี้ต้องถูกฟ้องล้มละลายเท่านั้น แล้วเมื่อลูกหนี้ต้องล้มละลาย ต้องถูกจัดการทรัพย์สิน ธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้ และเจ้าหน้าอาจไม่ได้รับเงินคืนครบถ้วน
แต่ตอนนี้มีข้อเสนอใหม่แล้ว คือร่างแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลายฯ ที่จะเปิกช่องให้ลูกหนี้คนธรรมดาขอ "ฟื้นฟูสภาวะหนี้สิน" ได้ โดยลูกหนี้ที่กำลังมีหนี้สินล้นพ้นตัวสามารถเริ่มเข้าสู่กระบวนการนี้ได้เอง โดยจัดทำแผนไปยื่นเสนอ
ถ้าหากแผนการฟื้นฟูได้รับอนุมัติ ลูกหนีก็ไม่ต้องถูกฟ้องล้มละลาย ธุรกิจไปต่อได้ และเจ้าหนี้มีโอกาสได้เงินคืนเต็มจำนวนมากกว่า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง ilaw.or.th/node/6262
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ2 ของสภา และรอคิวกลับเข้าสภาเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะได้พิจารณาก่อนสภานี้หมดสมัย
ไม่ว่าจะมีหนี้สินอยู่หรือไม่ ก็ช่วยกันบอกต่อ ส่งเสียง ให้รัฐสภาผ่านร่างนี้ได้
และลงชื่อสนับสนุนให้เป็นจริงทาง Change.org/personal-rehab
.....
เปิดช่อง “ฟื้นฟูสภาวะทางการเงิน” ช่วยลูกหนี้บุคคลธรรมดา ไม่ต้องรอฟ้องล้มละลาย
Fair Finance Thailand started this petition
สถานการณ์โควิด-19 และการสั่ง "ล็อกดาวน์" ช่วงปี 2563-2564 ส่งผลต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยถ้วนหน้า ธุรกิจหลายอย่างต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพิ่มเพื่อให้ยังสามารถประคองไปได้ แต่ธุรกิจหลายประเภท เช่น กิจกรรมท่องเที่ยว ร้านอาหาร สถานบันเทิง ก็ไม่อาจไปต่อได้ แม้เข้าสู่ช่วงปลายปี 2565 การใช้ชีวิตของผู้คนกำลังเริ่มกลับคืนสู่สภาวะปกติและธุรกิจเริ่มกลับมาเดินต่อได้บ้าง แต่เมื่อหนี้สินที่พอกพูนไว้ในช่วงล็อกดาวน์ยังคงหลอกหลอน ธุรกิจหลายประเภทก็ยังอยู่ในภาวะ "อ่อนไหว" ที่หากมีปัจจัยเข้ามาแทรกแซงอาจต้องเก็บกระเป๋าหายไปอีก
การปล่อยให้ธุรกิจบางประเภทไปต่อไม่ได้ เมื่อมีหนี้สินจำนวนมากต้องถูกฟ้อง "ล้มละลาย" ไม่ได้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวม เพราะเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้จนล้มละลายเจ้าหนี้ก็อาจเป็นฝ่ายขาดทุนด้วยเช่นกัน จนอาจจะ "ฟื้นตัว" กลับมาได้ยากกันทั้งหมด
จึงนำมาสู่ข้อเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย สร้างกระบวนการใหม่ เรียกว่า การขอ "ฟื้นฟูสภาวะทางการเงิน"
กลไกใหม่นี้จะเปิดให้ลูกหนี้ "บุคคลธรรมดา" ขอเข้าสู่กระบวนการ "ฟื้นฟูสภาวะการเงิน" ได้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการบริหารจัดการหนี้สิน เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ไม่ต้องฟ้องล้มละลายกันทุกกรณี
กฎหมายปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำได้
กลไกที่มีอยู่ในพ.ร.บ.ล้มละลาย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันไม่ได้เปิดช่องทางเลือกให้กับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้มากนัก ถ้าหากลูกหนี้ "มีหนี้สินล้นพ้นตัว" หรือ อยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้แล้ว กลไกที่เจ้าหนี้มีอยู่เพื่อจะทำให้ได้เงินคืนมาบ้าง ก็คือ การ "ฟ้องล้มละลาย" เท่านั้น โดยเจ้าหนี้ต้องเป็นฝ่ายริเริ่มคดีและยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อให้มี “ตัวกลาง” เข้ามาจัดการทรัพย์สินลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ ซึ่งอาจจะทำให้ได้รับชำระหนี้บ้างบางส่วนเท่าที่ลูกหนี้พอจะมีเหลืออยู่หรืออาจจะไม่ได้รับชำระครบก็ได้
กรณีที่ลูกหนี้เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ยังมีอีกหนึ่งช่องทาง คือ การขอ “ฟื้นฟูกิจการ” หรือการเสนอแผนปรับปรุงกิจการและขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้ เช่น ขอลดดอกเบี้ย ขอขยายเวลา เพื่อให้กิจการยังไปต่อ และสุดท้ายก็อาจจะหาเงินมาจ่ายหนี้ได้ครบจำนวนเป็นผลดีกับทุกฝ่าย แต่ตามระบบปัจจุบันถ้าลูกหนี้เป็นคนธรรมดา มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจยื่นขอเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ ต้องถูกฟ้องล้มละลายเท่านั้น
ข้อเสนอก้าวไกล หาทางออกลูกหนี้ไม่ต้องล้ม
ส.ส.พรรคก้าวไกล เสนอร่างพ.ร.บ.ล้มละลาย ฉบับใหม่ พร้อมคอนเซ็ปต์สำคัญ คือ การหาทางออกให้ลูกหนี้ยังคงทำงานหารายได้ต่อไปและหาทางชำระหนี้ให้เป็นที่พอใจได้ ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้เอง กลไกดังกล่าวกำหนดให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หากอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และถ้ามีเหตุสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูสภาวะทางการเงินได้ ตัวลูกหนี้มีสิทธิเป็นผู้ริเริ่มเพื่อขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสภาวะทางการเงิน
การขอทำแผนฟื้นฟูหนี้สิน เพื่อโอกาสตั้งหลักใหม่ของลูกหนี้บุคคลธรรมดา ข้อเสนอใหม่เปิดช่องทางให้ลูกหนี้หารือพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น อัยการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงที่ปรึกษาด้านการจัดการหนี้สินขององค์กรภาคประชาชน เป็นต้น และเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะช่วยลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเริ่มกระบวนการฟื้นฟูหนี้สิน กรณีนี้จึงต่างจากการฟ้องล้มละลาย ที่ปัจจุบันเจ้าหนี้ฝ่ายเดียวมีสิทธิยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาล ลูกหนี้ไม่มีสิทธิยื่นล้มละลายโดยสมัครใจ
ถ้าการฟื้นฟูสภาวะทางการเงินสำเร็จตามแผน เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะหนี้สิน พนักงานเจ้าหน้าที่จะรายงานขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูสภาวะทางการเงิน แล้วเรื่องก็จะจบแบบ Happy Ending ได้ แต่ในทางกลับกัน หากการฟื้นฟูสภาวะทางการเงินไม่สำเร็จ หรือหาเงินมาใช้หนี้ตามแผนไม่ได้ เจ้าหนี้ก็อาจใช้กลไกการฟ้องล้มละลายได้ และเข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายเดิม
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การฟื้นฟูสภาวะทางการเงินของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6262
ข้อเสนอนี้ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว เป็นการเสนอร่างพ.ร.บ.ล้มละลาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ช่วยกันบอกต่อ ส่งเสียง ให้รัฐสภาผ่านร่างนี้ และลงชื่อสนับสนุนให้เป็นจริง