วันพฤหัสบดี, เมษายน 20, 2566

ปมค่าไฟแพง อย่าเพิ่งเชื่อพวก ไอโอ ที่เบรม 'รัฐบาลยิ่งลักษณ์' ตามคำกล่าวหาของพรรครวมไทยสร้างชาติ อ่าน ปมค่าไฟแพง 8 เหตุการณ์ใน 'สมัยประยุทธ์' โดย สฤณี อาชวานันทกุล

ภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ

สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์โต้แย้งว่า มีเพื่อนบอกมาว่า IO รัฐและสื่อเสี้ยมกำลังปล่อยข่าวว่า ที่ค่าไฟแพงเพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือ ถ้าไม่นับความชัดของข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลทหารอยู่มาจะ 9 ปีแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็อยากเตือนความจำทุกคนว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้นใน “สมัยประยุทธ์” ทั้งนั้นออกคำสั่ง คสช. ปลดเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และแต่งตั้งกรรมการ กกพ. ใหม่ทั้งชุด
ไม่มีการเปิดประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) อีกเลยตั้งแต่รัฐประหาร 2557 จนถึงปัจจุบัน
แต่ระหว่างทางมีการอนุมัติให้ RATCH สร้างโรงไฟฟ้าใหม่มา “ทดแทน” ของเก่า แต่สร้างใหญ่กว่าเดิม หลังจากนั้นขายหุ้นครึ่งหนึ่งของโรงนี้ให้ GULF ในราคาพาร์(!) ได้เงินไม่ถึงสองล้านบาท
ช่วงวิกฤติโควิด-19 โรงไฟฟ้ามากถึง 7-8 โรงจาก 12 โรงไม่ต้องเดินเครื่องเลย ไปดูว่าของใครบ้างที่ไม่เดินแต่ได้เงิน
รัฐบาลทหารไม่เคยคิดที่จะปรับโครงสร้างพลังงานหรือเจรจาแก้สัญญาใดๆ กับเอกชน ให้ยุติธรรมกับประชาชนมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนยุบสภา มีการอนุมัติให้ กฟผ. ลงนามซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่โขงใหม่ (ยังไม่ได้สร้าง) อีก 3 แห่ง กำลังการผลิตรวมหลายพันเมกะวัตต์ ทั้งที่ไฟสำรองทะลุ 50%
สัญญาซื้อไฟฟ้า (PPA) จากเขื่อนหลวงพระบางในลาว 1 ใน 3 เขื่อนใหม่ที่อนุมัติ ยาวถึง 35 ปี นานเป็นประวัติการณ์ (ก่อนหน้านี้ PPA ไซยะบุรียาว 31 ปีก็ว่านานแล้ว)
ผลการเปิดประมูลพลังงานหมุนเวียนรอบล่าสุดที่เพิ่งประกาศผลก่อนสงกรานต์ มีเอกชนหน้าเดิมกวาดโควตาไปมากมายท่ามกลางความกังขาของทั้งวงการ

ที่มา ประชาไท
2023-04-19


Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
13h

มีเพื่อนบอกมาว่า IO รัฐและสื่อเสี้ยมกำลังปล่อยข่าวว่า ที่ค่าไฟแพงเพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 55555
คือ ถ้าไม่นับความชัดของข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลทหารอยู่มาจะ 9 ปีแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็อยากเตือนความจำทุกคนว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้นใน “สมัยประยุทธ์” ทั้งนั้นนะคะ
- ออกคำสั่ง คสช. ปลดเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และแต่งตั้งกรรมการ กกพ. ใหม่ทั้งชุด
- ไม่มีการเปิดประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) อีกเลยตั้งแต่รัฐประหาร 2557 จนถึงปัจจุบัน
- แต่ระหว่างทางมีการอนุมัติให้ RATCH สร้างโรงไฟฟ้าใหม่มา “ทดแทน” ของเก่า แต่สร้างใหญ่กว่าเดิม หลังจากนั้นขายหุ้นครึ่งหนึ่งของโรงนี้ให้ GULF ในราคาพาร์(!) ได้เงินไม่ถึงสองล้านบาท
- ช่วงวิกฤติโควิด-19 โรงไฟฟ้ามากถึง 7-8 โรงจาก 12 โรงไม่ต้องเดินเครื่องเลย ไปดูว่าของใครบ้างที่ไม่เดินแต่ได้เงิน
- รัฐบาลทหารไม่เคยคิดที่จะปรับโครงสร้างพลังงานหรือเจรจาแก้สัญญาใดๆ กับเอกชน ให้ยุติธรรมกับประชาชนมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
- ช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนยุบสภา มีการอนุมัติให้ กฟผ. ลงนามซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่โขงใหม่ (ยังไม่ได้สร้าง) อีก 3 แห่ง กำลังการผลิตรวมหลายพันเมกะวัตต์ ทั้งที่ไฟสำรองทะลุ 50%
- สัญญาซื้อไฟฟ้า (PPA) จากเขื่อนหลวงพระบางในลาว 1 ใน 3 เขื่อนใหม่ที่อนุมัติ ยาวถึง 35 ปี นานเป็นประวัติการณ์ (ก่อนหน้านี้ PPA ไซยะบุรียาว 31 ปีก็ว่านานแล้ว)
- ผลการเปิดประมูลพลังงานหมุนเวียนรอบล่าสุดที่เพิ่งประกาศผลก่อนสงกรานต์ มีเอกชนหน้าเดิมกวาดโควตาไปมากมายท่ามกลางความกังขาของทั้งวงการ
อ่านรายละเอียดได้ในบทความต่างๆ ที่เขียนไปเยอะแล้ว หาตามลิงก์จากเพจนี้หรือกูเกิลได้ ยกเว้นเรื่องสุดท้าย จะตีพิมพ์สัปดาห์หน้า (ก่อนสิ้นเดือนเมษายน 2566) นะคะ
#ระบอบลวงตา

(https://www.facebook.com/SarineeA/posts/795144111981278)
.....
Pibhop Dhongchai
9h
·
กัลฟ์รวยขึ้นมาอย่างผิดหูผิดตาหลังยุค คสข.!
บริษัทกัลฟ์เริ่มเพิ่มทุนจาก 5,000 ล้านบาท เป็น 1.4 หมื่นล้านบาท ในปี 2547 สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย 1 และ 2 ที่ กฟผ. อนุมัติให้กัลฟ์สร้างหลังจากไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกได้
.
ในปี 2554 มีการตั้งบริษัทโฮลดิงส์ชื่อ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ถือหุ้นบริษัทต่างๆ ในเครืออีกหลายบริษัท ก่อนเปิดขายหุ้น IPO ให้ประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นการระดมทุในเดือนธันวาคม 2560 ในราคาหุ้นละ 45 บาท
.
และในปี 2564 กัลฟ์แจ้งในรายงานประจำปีว่า มีรายได้รวมมากกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปี 2563 ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่กำไรในปี 2564 อยู่ที่ 9,167 ล้านบาท ส่วนสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 3.6 แสนล้านบาท
.
ในรายงานประจำปียังระบุด้วยว่า ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าของกัลฟ์ในไทยอยู่ที่ 7,875 เมกะวัตต์ เป็นพลังงานก๊าซธรรมชาติประเภท IPP 61 เปอร์เซ็นต์ พลังงานก๊าซธรรมชาติ SPP หรือจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 31 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพลังงานทดแทน 8 เปอร์เซ็นต์ โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2570 จะผลิตไฟฟ้าได้รวม 14,498 เมกะวัตต์ โดยขยายพลังงานก๊าซธรรมชาติ IPP เป็น 77 เปอร์เซ็นต์ พลังงานก๊าซธรรมชาติ SPP ลดลงเหลือ 17 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพลังงานทดแทนลดลงเหลือ 6 เปอร์เซ็นต์
.
ที่น่าสนใจก็คือ ‘ลูกค้า’ ของกัลฟ์ในปัจจุบันมากกว่า 91 เปอร์เซ็นต์คือ กฟผ. และเป็นลูกค้าอุตสาหกรรม 9 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ กัลฟ์มีแผนจะขายให้ลูกค้าอย่าง กฟผ. เพิ่มเป็น 94 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2570 และลดสัดส่วนลูกค้าอุตสาหกรรมลงเหลือ 6 เปอร์เซ็นต์ ในปีเดียวกัน
.
• กัลฟ์กับ ‘การเมือง’
.
การจำหน่ายไฟให้ กฟผ.มากขนาดนั้น นำมาซึ่งคำถามในสภาผู้แทนราษฎร นำโดย เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อปี 2564 ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) พุ่งขึ้นไปถึง 54 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแปลว่าประเทศไทยผลิตไฟฟ้า ‘ล้น’ เกินหลักการที่ควรจะอยู่ที่ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน
.
ขณะเดียวกัน แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) ก็ถูกเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างผิดปกติ โดยมีการแก้ไขในรายละเอียดอยู่บ่อยครั้ง และปัจจัยที่ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองล้นเกิน ก็คือการเปลี่ยนเนื้อหาสาระในแผน PDP นั่นเอง ทำให้หลายคนตั้งข้อสังเกตว่ามี ‘มือที่มองไม่เห็น’ แอบเปลี่ยนสาระสำคัญบางอย่างในแผนหรือไม่ เพื่อแลกกับการสนับสนุนรัฐบาล และ ‘พรรคการเมือง’ ที่สนับสนุนรัฐบาล คสช. ให้มีทุนไว้สำหรับการเลือกตั้ง

(https://www.facebook.com/pibhop.dhongchai/posts/6075671569212835)