วันพฤหัสบดี, เมษายน 27, 2566

มีคนบอกว่าการถกเถียงเรื่อง ม.๑๑๒ ระหว่างหาเสียงครั้งนี้ “มัน ‘ติดกับ’ รอยัลลิสต์”

มีข้อสังเกตุว่า การหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ มีการ ถกถึงความไม่เหมาะสมกับวิถีประชาธิปไตยของกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ กันมากยิ่งขึ้น แม้นว่าผู้เสนอให้ แก้ไข จะยั้งปาก เพลามือกันเสียมาก ดัง Tewarit Bus Maneechai บอกว่า มัน ติดกับรอยัลลิสต์

“อันนี้เข้าใจในข้อจำกัดเลยว่ามันพูดในท่วงทำนองอื่น เสี่ยงต่อการถูกเล่นงาน โดยเฉพาะข้อหาเป็นการล้มล้างการปกครอง พวกปฏิกิริยาก็เลยจี้กลับเรื่องที่ใหญ่กว่า” ด้วยไม้ตาย “สถาบันอยู่ของเขาดีๆ ถ้ารักจริงก็ไม่ต้องไปต่อว่าสิ”

เขาเสนอให้สร้างสมดุลการดีเบทเรื่องนี้ โดยจัดให้พรรค สามัญชนซึ่งเป็นพรรคเดียวที่ประกาศนโยบายยกเลิก ม.๑๑๒ ไปดีเบททุกเวทีที่มี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ไปร่วม เพราะหมอคนนี้จะพูดถึงกฎหมายห้ามหมิ่นกษัตริย์ในลักษณะ กฎหมายดีคนไม่ดีตลอดเวลา

แต่ข้อต่อสู้ของผู้เห็นควรแก้ไข นอกจากชี้ว่ามีการนำเอากฎหมายนี้ไปใช้ทำร้าย ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองการปกครองไม่ต้องตรงกับตน แล้วก็มักชี้ด้วยว่าถ้าแก้ไขเสีย จะทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับประเทศชาติไปได้ราบรื่นและยาวนาน

บัสแย้งว่า “การแก้ ม.๑๑๒ ไม่ใช่แก้เพื่อรักษาสถาบัน แต่เป็นการทำให้สถาบันอยู่ภายใต้คุณค่าประชาธิปไตย” ข้อนี้อาจไม่ค่อยมีการพูดถึงกันมากนัก หากแต่ข้อเท็จจริงสนับสนุนความเห็นนั้นมีอยู่ แต่ยังไม่ได้รับการตีแผ่มากเท่าไร

ข้ออ้างข้างๆ คูๆ ของฝ่ายอุ้มชูกษัตริย์ ที่ว่า “สถาบันฯ อยู่ของเขาดีๆ ถ้าไม่ไปวิจารณ์จนถึงต่อว่าก็ไม่โดน ๑๑๒” นั้นมีหลักการในทางประชาธิปไตยยืนยัน ว่าถูกละเมิดจากการอุ้มชูดังว่า “อย่างเช่นเรื่อง Check and Balance (การตรวจสอบถ่วงดุล)

และ Accountability (ความรับผิดและรับชอบในผลของการกระทำ หรือใช้อำนาจนั้น)” ไล่เป็นจะจะไปได้ตั้งแต่ประเด็น “รัฐธรรมนูญที่ใช้ปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ฉบับที่ผ่านประชามติ” เพราะมีการแก้ไขภายหลังเพื่อให้ต้องตามความต้องการของราชสำนัก

เช่นประเด็นมาตรา ๕, ๑๒, ๑๕-๑๗, ๑๙ และ ๑๘๒ พร้อมกับการออกพระราชโองการต่างๆ โดยไม่มีการลงนามรับสนอง จึงทำให้ไม่มีคนรับผิดชอบ สั่งแล้วสั่งเลย เกิดผลร้ายต่อคนอื่นๆ “ชั่งหัวมัน” การแก้ไข พรบ.สงฆ์ ในปี ๕๙ กับ พรบ.ราชการในพระองค์ ปี ๖๐ เป็นต้น

การจัดระเบียบทรัพย์สินกษัตริย์ใหม่ในปี ๖๑ กับการโอนอัตรากำลังพลในปี ๖๒ ทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยผูกพันกับรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีกับกระทรวงการคลังเป็นตัวกลางระหว่างประมุขกับประชาชน ก็ขาดลอยไป จนเดี๋ยวนี้มีเด็กใฝ่ฝัน “อยากรวยเหมือนในหลวง”

ถ้าคิดเผินๆ ก็คือชื่นชมในหลวงเท่า เจ้าสัว

(https://www.facebook.com/bus.tewarit/pfbid0ynbBWWD)