Atukkit Sawangsuk
11h
·
อยากจะบอกว่า ข้อแตกต่างคือ
แม้ผมชอบหมอเลี้ยบสุดๆ (ถ้าไม่โดนตัดสิทธิควรจะเป็นแคนดิเดทนายกฯ)
แต่ผมคิดว่าหมอเลี๊ยบมีอำนาจตัดสินใจน้อยกว่า เมื่อเทียบกับธนาธร
.....
Atukkit Sawangsuk
8h ·
.
ในพรรคเพื่อไทยมีคนที่ใจสู้ เฉียบคม ควรแก่การชื่นชมเยอะไป
หมอมิ้ง หมอเลี๊ยบ นี่แทบจะโค้งหัวให้
(รัฐประหาร 49 หมอมิ้งจะสู้นะครับ แต่คนอื่นไม่สู้ แกเซ็งไปนาน)
นโยบายคิดสร้างสรรค์ หมอมิ้งมองการณ์ไกล ทำทุกด้านประกอบกัน
นโยบายยกระดับ 30 บาท ใครจะทำได้เท่าหมอเลี๊ยบ (แต่ตอนปี 54 หมอเลี๊ยบถูกมองเป็นแก๊งสี่คน ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย)
พี่อ้วนก็สู้มาตลอด แต่วิธีคิดแก ต้องการกุมความเป็นเอกภาพไว้ในมือตัวเองเท่านั้น (ทั้งที่มันหมดยุคประชาธิปไตยพรรคเดียว)
พี่อ๋อย ก็คารวะ แต่รู้กันว่า แทบไม่มีสิทธิเสียงในพรรค
:
ปัญหาคือ คนทำคนคิดคนผลักดัน
ถึงเวลาชนะเลือกตั้ง จะมีอำนาจตัดสินใจแค่ไหน
ไม่ได้พูดแค่เรื่องที่คนชอบว่าสู้ไปกราบไป
คุณต้องเจรจาอยู่แล้ว แต่เข้มแข็งเป็นเอกภาพในการต่อรองแค่ไหน
จริงๆแล้ว ถ้าเข้าใจหัวอกเขา ที่อุ๊งอิ๊งบอกว่า มองหน้าดิฉันไว้ คือ “กูแค้นนะคะ” แต่รู้ว่าชนะเลือกตั้งจำเป็นต้องอดทนอดกลั้นเจรจา
อย่างที่บอกว่าต้องเข้าใจหัวอกเขา ในอีกด้านหนึ่งก็เหมือนถูกจับเป็นตัวประกัน แล้วให้ต่อรองทั้งที่มีขื่อคา
เขาต่อรองได้แค่ไหน จะกล้าแค่ไหน
:
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความไม่เป็นเอกภาพในพรรค
ความมีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ วิ่งเต้น วิ่งจองรัฐมนตรี (องค์ประกอบที่มีทั้งการเมืองเก่าการเมืองใหม่ก็เป็นแบบนี้ แต่ถึงเวลาจะสู้ไหม ทำงานได้คุณภาพไหม)
:
ความไม่เป็นเอกภาพนี่ไม่ใช่ไม่เคยเกิด เลือกตั้ง 62 ก็รู้กัน
หญิงหน่อยกับพี่อ้วนรักกันจะตายขนาดไหน
จนสถานการณ์เปลี่ยน เกิดม็อบคนรุ่นใหม่ อนาคตใหม่ก้าวไกลบทบาทแหลมคม
จึงปรับพรรคครั้งใหญ่ เอาหมอมิ้งหมอเลี๊ยบกลับมา
:
ชนะเลือกตั้งปี 54 ก็มีคนในพรรคเยอะไป
ที่อยากให้ผลักดันแก้รัฐธรรมนูญ แก้ พรบ.สภากลาโหม
แต่หนึ่งอาจเป็นเพราะเข้ามาเจอน้ำท่วมใหญ่พอดี เสียจังหวะเสียทรง
กระนั้นสองก็คือความชุลมุนชุลเก ไม่เป็นเอกภาพในพรรค ไม่ใช่ทุกคนที่กล้าสู้กล้าแลก แต่ทุกคนอยากเป็นรัฐบาล
สาม สุดท้ายใครขอขึ้นจากเรือ
(เข้าใจนะแต่ได้บทเรียนหรือยัง)
:
ทั้งหมดนั้นอาจเถียงได้ว่าพยายามทำแต่ไม่สำเร็จ
มีอุปสรรคเยอะเกิน โดนขัดขวาง ผิดจังหวะ ถูกหลอก ฯลฯ
แต่มันก็ประทับตรา ไม่สำเร็จ
ทำให้คนผิดหวัง กระทั่งเกิดพรรคอนาคตใหม่ก้าวไกล คนผิดหวังไม่พอใจก็ไปร่วมไปหนุนอนาคตใหม่
(จึงด่ากันมาตั้งแต่ต้นโดยธรรมชาติ)
:
เลือกตั้ง 62 ก็ยังมาพังเพราะเสนอชื่อแคนดิเดทไทยรักษาชาติ
นั่นแหละที่กระแสตีกลับไปอนาคตใหม่ เพราะธนาธร ปิยบุตร ประกาศไม่เห็นด้วยทันควัน ไม่เอาวิธีการแบบนี้
:
ว่าที่จริงครั้งนี้ เพื่อไทยพยายามจัดทีมเข้มแข็งที่สุดแล้ว
แต่ก็ยังไม่สามารถให้ความมั่นใจ กับคนที่เคยผิดหวังมาก่อน และคนรุ่นใหม่ที่สู้ล้ำเพื่อไทยไปแล้ว
มันจึงทำให้คนคิดว่าเลือกก้าวไกลเข้าไปประกบ กดดัน ทั้งอำนาจอนุรักษนิยม และเพื่อไทย
จึงจะทำให้พลังเลือกตั้งเกิดผลเป็นชิ้นเป็นอัน
:
การเรียกคืนความมั่นใจนี้
เพื่อไทยต้องพิสูจน์ตัวเอง
และไม่สามารถทำได้ในช่วงสั้นๆ
กว่าจะรู้ก็หลังเลือกตั้ง
.....
Kaii Wich
ถึงตอนนี้ก็ไม่ได้ชัดเจนว่าโครงสร้างพรรคเป็นยังไง
แคนดิเดต หัวหน้าพรรค หัวหน้าครอบครัว กรรมการบริหาร หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ หัวหน้าทีมยุทธศาสตร์ ไปจนถึงคนแดนไกล พูดกันคนละทีสองที
เหมือนกับรวมอย่างหลวมๆ คงมีคนตัดสินใจสุดท้ายแหละ แต่ส่งเสียงไม่ได้ก็เลยต้องปล่อยให้หลวม