The MATTER
Yesterday
·
BRIEF: “ทําไมศาลกับสถาบันฯ ไม่เห็นแก่อนาคตหนูบ้าง” หยก เยาวชนวัย 15 ปี ถูกคุมขังครบ 30 วัน ในคดี ม.112
.
“ในหลายๆ ครั้ง ครูมาถามหนูว่า “ทำไมไม่ประกันตัวออกไป ไม่คิดถึงอนาคตตัวเองเหรอ”
.
“หนูเลยตอบครูว่า “แล้วทำไมศาลกับสถาบันกษัตริย์ไม่เห็นแก่อนาคตหนูบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วศาลสามารถปล่อยตัวหนูได้เลย หนูไม่จำเป็นต้องขอประกันตัว เพราะหนูไม่ได้ทำอะไรผิด”
.
“ครูยังบอกอีกว่า “ศาลก็มีเหตุผลของศาล””
.
เหล่านี้คือข้อความบางส่วนจากบันทึกเยี่ยม ‘หยก ธนลภย์’ เยาวชนวัย 15 ปี นักเรียนชั้น ม.3 ที่กำลังดำเนินเรื่องเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ต้องถูกคุมขังในคดี ม.112 มาตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ซึ่งจนถึงวันนี้ ก็ครบ 30 วันแล้ว
.
หยกถูกออกหมายจับตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 โดย สน.สำราญราษฎร์ ที่มี อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ จากการเข้าร่วมชุมนุม ‘13 ตุลาหวังว่าสายฝนจะพาล่องไป’ ที่บริเวณเสาชิงช้า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
.
เธอถูกจับกุมตัววันเดียวกับที่ ‘บังเอิญ’ ศิลปินวัย 25 ปี ผู้พ่นสเปรย์กำแพงวัดพระแก้ว ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ สน.พระราชวัง (28 มีนาคม) และถูกส่งตัวไปที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จ.นครปฐม โดยการออกหมายควบคุมตัวของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในวันที่ 29 มีนาคม
.
ด้วยวัยเพียง 14 ปีเศษๆ ในขณะที่ได้รับหมายเรียก (ก่อนที่ต่อมาตำรวจจะขอศาลอนุมัติออกหมายจับ) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชี้ว่า เธอเป็นผู้ได้รับหมายเรียกในคดี ม.112 ที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่ทราบข้อมูล
.
หลังถูกควบคุมตัว หยกเขียนแถลงการณ์ปฏิเสธอำนาจศาล โดยระบุว่า “ศาลไทยจึงไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ในการพิจารณาคดีอาญามาตรา 112 ศาลเป็นองค์กรใต้อำนาจคู่กรณีของข้าพเจ้า ได้รับการแต่งตั้ง ได้รับการประดับยศจากกษัตริย์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชจากกษัตริย์ เหนือบัลลังก์ศาลบัลลังก์พิจารณาคดีมีการติดรูปกษัตริย์ นี่คือหลักฐานที่เห็นได้ชัด
.
“ข้าพเจ้าจึงขอปฏิเสธไม่เข้าร่วมกระบวนการ ไม่แต่งตั้งทนาย ไม่ให้การใดๆ ทั้งสิ้นกับศาล นั่งหันหลังให้ผู้พิพากษา”
.
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนจะครบ 1 เดือนของการควบคุมตัว กลุ่ม ‘เพื่อนหยก’ ประกอบด้วย เก็ท—โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, ตะวัน—ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, แบม—อรวรรณ ภู่พงษ์, อันนา อันนานนท์ และ กุณฑิกา นุตจรัส ทนายความ ได้ทำกิจกรรมสัญลักษณ์ที่หน้าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
.
กุณฑิกา ได้ตั้งคำถามกรณีของหยกใน 4 ประเด็น ได้แก่
.
1. ทำไมตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ถึงขอออกหมายจับ ทั้งที่เยาวชนรายที่ได้ทำหนังสือแจ้งเลื่อนการการรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว โดยได้มีการแนบหลักฐานการเรียนและตารางการสอบ
.
2. การออกหมายจับเป็นอำนาจของศาล
.
3. ทำไมถึงมีการจับอย่างรุนแรง
.
4. เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก ทุกคนมีอำนาจทั้งนั้นที่จะปล่อยเด็กออกมา ในสถานพินิจมีข้อจำกัดอย่างมาก ในอนาคตประเทศไทยจะเลือกตั้งแล้ว หยกมีที่อยู่ในอนาคตของประเทศไทยหรือไม่
.
ขณะที่กลุ่ม ‘ทะลุแก๊ซ’ ได้สร้างแคมเปญรวบรวมรายชื่อ (chng.it/JYQtnpSp) เรียกร้องให้ศาลคืนอิสรภาพแก่หยก โดยทางกลุ่มระบุว่า ต้องการอย่างน้อย 3,000 รายชื่อ เพื่อนำไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
เมื่อวันที่ 26 เมษายน บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวของหยกยังได้เผยแพร่บันทึกเยี่ยมหยกในวันนั้น โดยที่เธอระบุว่า ขอยืนยันปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมต่อไป เพราะตนถูกตำรวจจับโดยไม่ชอบ และไม่ได้ดื้อดึง
.
”ครูชอบมาพูดกับหนูว่า “เห็นดูแฮปปี้ดีหนิ ทำไมไม่ประกันตัวออกไปทำกิจกรรมข้างนอกล่ะ”
.
“หนูอยากรู้ว่าหนูทำอะไรผิด ถ้าหนูประกันตัวก็เท่ากับหนูยอมรับว่าหนูทำผิด แต่หนูยืนยันว่าหนูไม่ได้ทำอะไรผิด และทำไมครูถึงมองว่าหนูมีความสุข ทั้งๆ ที่นี่มันคือคุกดีๆ นี่เอง” บางส่วนจากบันทึกเยี่ยมหยก
.
อ้างอิงจาก
https://prachatai.com/journal/2023/03/103396
https://prachatai.com/journal/2023/04/103840
https://tlhr2014.com/archives/55017
#หยก #saveหยก #ม112 #TheMATTER
BRIEF: “ทําไมศาลกับสถาบันฯ ไม่เห็นแก่อนาคตหนูบ้าง” หยก เยาวชนวัย 15 ปี ถูกคุมขังครบ 30 วัน ในคดี ม.112
.
“ในหลายๆ ครั้ง ครูมาถามหนูว่า “ทำไมไม่ประกันตัวออกไป ไม่คิดถึงอนาคตตัวเองเหรอ”
.
“หนูเลยตอบครูว่า “แล้วทำไมศาลกับสถาบันกษัตริย์ไม่เห็นแก่อนาคตหนูบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วศาลสามารถปล่อยตัวหนูได้เลย หนูไม่จำเป็นต้องขอประกันตัว เพราะหนูไม่ได้ทำอะไรผิด”
.
“ครูยังบอกอีกว่า “ศาลก็มีเหตุผลของศาล””
.
เหล่านี้คือข้อความบางส่วนจากบันทึกเยี่ยม ‘หยก ธนลภย์’ เยาวชนวัย 15 ปี นักเรียนชั้น ม.3 ที่กำลังดำเนินเรื่องเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ต้องถูกคุมขังในคดี ม.112 มาตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ซึ่งจนถึงวันนี้ ก็ครบ 30 วันแล้ว
.
หยกถูกออกหมายจับตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 โดย สน.สำราญราษฎร์ ที่มี อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ จากการเข้าร่วมชุมนุม ‘13 ตุลาหวังว่าสายฝนจะพาล่องไป’ ที่บริเวณเสาชิงช้า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
.
เธอถูกจับกุมตัววันเดียวกับที่ ‘บังเอิญ’ ศิลปินวัย 25 ปี ผู้พ่นสเปรย์กำแพงวัดพระแก้ว ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ สน.พระราชวัง (28 มีนาคม) และถูกส่งตัวไปที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จ.นครปฐม โดยการออกหมายควบคุมตัวของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในวันที่ 29 มีนาคม
.
ด้วยวัยเพียง 14 ปีเศษๆ ในขณะที่ได้รับหมายเรียก (ก่อนที่ต่อมาตำรวจจะขอศาลอนุมัติออกหมายจับ) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชี้ว่า เธอเป็นผู้ได้รับหมายเรียกในคดี ม.112 ที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่ทราบข้อมูล
.
หลังถูกควบคุมตัว หยกเขียนแถลงการณ์ปฏิเสธอำนาจศาล โดยระบุว่า “ศาลไทยจึงไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ในการพิจารณาคดีอาญามาตรา 112 ศาลเป็นองค์กรใต้อำนาจคู่กรณีของข้าพเจ้า ได้รับการแต่งตั้ง ได้รับการประดับยศจากกษัตริย์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชจากกษัตริย์ เหนือบัลลังก์ศาลบัลลังก์พิจารณาคดีมีการติดรูปกษัตริย์ นี่คือหลักฐานที่เห็นได้ชัด
.
“ข้าพเจ้าจึงขอปฏิเสธไม่เข้าร่วมกระบวนการ ไม่แต่งตั้งทนาย ไม่ให้การใดๆ ทั้งสิ้นกับศาล นั่งหันหลังให้ผู้พิพากษา”
.
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนจะครบ 1 เดือนของการควบคุมตัว กลุ่ม ‘เพื่อนหยก’ ประกอบด้วย เก็ท—โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, ตะวัน—ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, แบม—อรวรรณ ภู่พงษ์, อันนา อันนานนท์ และ กุณฑิกา นุตจรัส ทนายความ ได้ทำกิจกรรมสัญลักษณ์ที่หน้าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
.
กุณฑิกา ได้ตั้งคำถามกรณีของหยกใน 4 ประเด็น ได้แก่
.
1. ทำไมตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ถึงขอออกหมายจับ ทั้งที่เยาวชนรายที่ได้ทำหนังสือแจ้งเลื่อนการการรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว โดยได้มีการแนบหลักฐานการเรียนและตารางการสอบ
.
2. การออกหมายจับเป็นอำนาจของศาล
.
3. ทำไมถึงมีการจับอย่างรุนแรง
.
4. เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก ทุกคนมีอำนาจทั้งนั้นที่จะปล่อยเด็กออกมา ในสถานพินิจมีข้อจำกัดอย่างมาก ในอนาคตประเทศไทยจะเลือกตั้งแล้ว หยกมีที่อยู่ในอนาคตของประเทศไทยหรือไม่
.
ขณะที่กลุ่ม ‘ทะลุแก๊ซ’ ได้สร้างแคมเปญรวบรวมรายชื่อ (chng.it/JYQtnpSp) เรียกร้องให้ศาลคืนอิสรภาพแก่หยก โดยทางกลุ่มระบุว่า ต้องการอย่างน้อย 3,000 รายชื่อ เพื่อนำไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
เมื่อวันที่ 26 เมษายน บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวของหยกยังได้เผยแพร่บันทึกเยี่ยมหยกในวันนั้น โดยที่เธอระบุว่า ขอยืนยันปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมต่อไป เพราะตนถูกตำรวจจับโดยไม่ชอบ และไม่ได้ดื้อดึง
.
”ครูชอบมาพูดกับหนูว่า “เห็นดูแฮปปี้ดีหนิ ทำไมไม่ประกันตัวออกไปทำกิจกรรมข้างนอกล่ะ”
.
“หนูอยากรู้ว่าหนูทำอะไรผิด ถ้าหนูประกันตัวก็เท่ากับหนูยอมรับว่าหนูทำผิด แต่หนูยืนยันว่าหนูไม่ได้ทำอะไรผิด และทำไมครูถึงมองว่าหนูมีความสุข ทั้งๆ ที่นี่มันคือคุกดีๆ นี่เอง” บางส่วนจากบันทึกเยี่ยมหยก
.
อ้างอิงจาก
https://prachatai.com/journal/2023/03/103396
https://prachatai.com/journal/2023/04/103840
https://tlhr2014.com/archives/55017
#หยก #saveหยก #ม112 #TheMATTER
https://www.facebook.com/thematterco/photos/a.1735876059961122/3476602692555108/
.....